Page 6 - a_w จดหมายข่าวสภาการพยาบาล_2566_ฉบับที่ 4
P. 6
ประวัติและผลงาน
ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจ�าปี 2566
ดร. ทิมมาปปา ดิลีป คูมาร์ (ดร. ที. ดิลีป คูมาร์)
Dr. THIMMAPPA Dileep Kumar (Dr. T. Dileep Kumar)
จากประเทศอินเดีย
ดร. ที. ดีลิป คูมาร์ ชาวอินเดีย เป็นผู้น�าทางการพยาบาลที่โดดเด่น มีผลงานเป็นที่ยอมรับของวงการวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์ และสังคมโดยรวมของอินเดีย เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ได้มุ่งมั่นทุ่มเทในการพัฒนาวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งด้านการศึกษา การบริการ สิ่งแวดล้อมในการท�างาน และคุณภาพชีวิตของพยาบาล
อย่างเข้มแข็งต่อเนื่องยาวนานถึง 49 ปี ท�าให้การพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศอินเดียมีความก้าวหน้า
สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนอินเดียที่สังคมมีความสลับซับซ้อนได้อย่างดีเป็นที่ประจักษ์
และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
ดร. ที. ดีลิป คูมาร์ ได้ศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศอินเดีย ท่านเริ่มต้นการท�างานเป็นพยาบาลประจ�าการ เจริญ
ก้าวหน้าในวิชาชีพเป็นล�าดับ จนได้รับต�าแหน่งที่ปรึกษาทางการพยาบาลของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นต�าแหน่งหัวหน้าพยาบาลภาครัฐของ
ประเทศ และด�ารงต�าแหน่งนายกสภาการพยาบาลของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน
ผลงานส�าคัญซึ่งได้รับการยอมรับอย่างมาก คือ การจัดท�าเอกสารนโยบายเสนอรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์เป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการพยาบาล ได้มุ่งมั่นชี้แจงท�าความเข้าใจต่อรัฐบาลด้วยความยากล�าบาก
เพราะวิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพของสตรีในประเทศอินเดีย ซึ่งเพศหญิงถูกละเลยและเอาเปรียบมาเป็นเวลาช้านาน การชี้แจงของ ดร. ที. ดิลีป คูมาร์
ท�าให้รัฐบาลเห็นความจ�าเป็นและจัดสรรงบประมาณ โดยเพิ่มจาก 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเป็นจ�านวนมากที่สุด
ที่รัฐบาลลงทุนในการพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศ ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีการเพิ่มต�าแหน่งพยาบาล
ในโรงพยาบาลของรัฐ เพิ่มการเปิดสถาบันการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการท�างานของพยาบาล ซึ่งเมื่อต่อมา
ท่านได้มาด�ารงต�าแหน่งนายกสภาการพยาบาลของประเทศ ดร. ที. ดิลีป คูมาร์ ก็ยังได้ท�างานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับที่ปรึกษาทางการพยาบาล
ของรัฐบาลอินเดียในการเรียกร้องให้รัฐบาลลงทุนด้านการพยาบาล และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ได้เสนอการปรับโครงสร้างหน่วยงาน
โดยได้ยกสถานะส�านักงานการพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัว ให้เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงฯ ท�าให้
การบริหารกิจการของหน่วยงานการพยาบาลมีความคล่องตัว ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบปัญหาและประเด็นการพัฒนาวิชาชีพนี้มากขึ้น
และลดระยะเวลาในการตัดสินใจ
ในฐานะนายกสภาการพยาบาลของประเทศ ดร. ที. ดิลีป คูมาร์ ได้ท�างานร่วมกับสภาการพยาบาลประจ�ามลรัฐทุกมลรัฐในประเทศอินเดีย
ในการก�าหนดมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เป็นมาตรฐานกลาง จัดท�าข้อบังคับ ระเบียบ และคู่มือแนวปฏิบัติ
ในการดูแลผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ ท�าให้งานบริการพยาบาลทั้งระบบมีคุณภาพ มาตรฐาน และมีความเป็นเอกภาพ ท่านยังได้ริเริ่มแนวคิด
ในการเพิ่มสมรรถนะของพยาบาลประจ�าการ ในการดูแลผู้ป่วย โดยการจัดท�าหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ขึ้น รวมทั้ง
หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเพิ่มวุฒิ โดยให้สามารถเรียนและฝึกปฏิบัติในสถานที่ท�างาน ท�าให้พยาบาลสามารถเพิ่มสมรรถนะได้โดยไม่ต้อง
ลาเรียน ได้รับเงินเดือน ได้รับปริญญา และโรงพยาบาลไม่ต้องขาดบุคลากร ในขณะเดียวกัน ดร. ที. ดิลีป ได้รณรงค์หาทุน ซื้ออาคารเพื่อเป็น
ส�านักงานถาวรของสภาการพยาบาล ท�าให้การจัดบริการแก่สมาชิกทุกด้านมีประสิทธิภาพ ได้น�าระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหาร การขึ้นทะเบียน
ผู้ประกอบวิชาชีพและระบบติดตาม ท�าให้ได้ข้อมูลจ�านวนก�าลังคนที่เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการก�าลังคน
ทางการพยาบาลของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ส�าหรับระบบการศึกษาพยาบาลโดยรวมของประเทศ ดร. ที. ดิลีป คูมาร์ ได้เสนอโครงการปฏิรูปการศึกษาพยาบาลทั้งระบบเพื่อให้มี
มาตรฐานสากล โดยค่อย ๆ ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3 ปี ปรับเป็นหลักสูตรปริญญาตรีสาขาพยาบาล
ศาสตร์ 4 ปี จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติเป็นศูนย์ฝึกอบรมครูพยาบาล ครูผดุงครรภ์จากโรงเรียนพยาบาลต่าง ๆ ได้พัฒนาให้มีระบบประกัน
คุณภาพการศึกษาและกระบวนการรับรองหลักสูตร ได้ริเริ่มให้เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทในสาขาต่าง ๆ ขึ้น และเมื่อการศึกษาระดับ
ปริญญาโทแข็งแรงขึ้นแล้ว ดร. ที ดิลีป คูมาร์ ได้เสนอการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก และด้วยความช่วยเหลือขององค์การอนามัยโลกเชิญ
ผู้เชี่ยวชาญพยาบาลของประเทศไทยไปเป็นที่ปรึกษา ดร. ที. ดิลีป คูมาร์ ได้เปิดโครงการร่วมผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกสาขาพยาบาลศาสตร์
National Consortium for PhD. Nursing ภายใต้การบริหารของสภาการพยาบาลแห่งชาติ ปัจจุบันมีผู้ส�าเร็จการศึกษาจากโครงการนี้แล้ว
193 คนและอยู่ระหว่างการศึกษาอีก 431 คน นับเป็นโครงการที่ประสบความส�าเร็จอย่างดี
ดร.ที. ดิลีป คูมาร์ ได้ริเริ่มจัดตั้งให้มีรางวัลฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ระดับชาติขึ้นในปี 2550 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติพยาบาลที่มีผลงานดีเด่น
ทุกระดับของบริการสุขภาพ โดยประธานาธิบดีอินเดียให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลเป็นประจ�าทุกปี นับเป็นการสร้างขวัญและก�าลังใจ
ให้พยาบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่วิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย
นับว่า ดร.ที. ดิลีป คูมาร์ เป็นผู้น�าที่มุ่งมั่นในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ก้าวหน้าและเพิ่มความแข็งแกร่งในทุก ๆ ด้าน
ท�าให้พยาบาลเป็นก�าลังหลักในการบริการสุขภาพของประเทศอินเดีย และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ คณะกรรมการมูลนิธิ
รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงมีมติตัดสินให้ ดร.ที. ดิลีป คูมาร์ เป็นผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัล
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจ�าปีพุทธศักราช 2566
6 6 จดหมายข ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566
ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566
จดหมายข่าวสภาการพยาบาล่าวสภาการพยาบาล