Page 9 - a_w จดหมายข่าวสภาการพยาบาล_2566_ฉบับที่ 4
P. 9
สาระน่ารู้ (ต่อ)
ให้ถูกต้องกับปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความร่วมมือในการป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ ท�าให้เพิ่ม
ประสิทธิผลการหายของแผลที่ไม่สามารถใช้การรักษาแผลแบบพื้นฐานได้ นอกจากนี้ความน่าเชื่อถือจากการใช้ความรู้ความช�านาญ
เฉพาะด้าน ท�าให้การให้ความรู้ผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสอดคล้องกับการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลดี และยังท�าให้
การประสานงานระหว่างสาขาเป็นไปอย่างราบรื่น ส่งผลให้การดูแลมีผลลัพธ์ดี
กลุ่มผู้ป่วยที่ให้บริการ ให้บริการด้านการดูแลแผลเรื้อรังซับซ้อนหายยาก รวมทั้งผู้ป่วยออสโตมี และควบคุมการขับถ่าย
ที่มีปัญหากับผิวหนัง ทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการประกอบด้วย
1) ผู้ป่วย OPD ที่ walk in หรือส่งปรึกษาจากแพทย์ ผู้ป่วยที่นัด Follow up และผู้ป่วย home care ที่ต้องติดตาม
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง
2) ผู้ป่วย IPD ที่ส่งปรึกษาจากแพทย์ หรือจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยการให้บริการขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
คือสามารถส่งมารับบริการที่คลินิกโดยตรง แต่ถ้าไม่สามารถมาได้ เช่น ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
พยาบาลเฉพาะทางประจ�าหน่วยจะไปให้การบริการที่หอผู้ป่วย
2. รูปแบบ Private Clinic เป็นรูปแบบบริการที่เปิดภายใต้แนวทางการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ด�าเนินการ
ให้บริการท�าแผลทุกชนิด และให้บริการดูแลทวารเทียมและไม่รับบริการฝากครรภ์ท�าคลอด การด�าเนินการเพื่อขอเปิดคลินิกปฏิบัติตาม
ขั้นตอนและข้อแนะน�าการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างครบถ้วน ซึ่งรายละเอียดศึกษาตามเอกสารของส�านักงาน
สาธารณสุขจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข ที่มีเผยแพร่ทาง Online ข้อสังเกตการให้บริการในคลินิก เป็นการให้บริการเฉพาะผู้ป่วย
ที่มีแผลทุกชนิดและผู้ป่วยที่มีออสโตมีซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบวิชาชีพ ส�าหรับการบริการอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขต
ของคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั่วไปจะไม่ให้บริการ และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมทางคลินิกจะมีระบบ
ส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยงานที่ให้บริการได้ดีกว่า สิ่งส�าคัญที่ท�าให้คลินิกนี้ด�าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
คือการมีเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพที่สามารถส่งต่อไปรับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขพยาธิสภาพ
ที่ไม่สามารถให้บริการที่คลินิกได้
สรุป Wound Care Clinic มีบทบาทส�าคัญในการให้การดูแลและใช้ความรู้เฉพาะทาง ในการจัดการแผลซับซ้อนหายยาก
ของผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาล ชุมชน และสถานบริการเอกชน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง งานบริการครอบคลุมการรักษา
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ปัจจัยส�าคัญคือพยาบาลเฉพาะทางที่ได้รับการอบรมเพิ่มเติมจากระดับปริญญาตรี
ท�าให้มีความรู้ความสามารถ ประกอบกับประสบการณ์ที่สั่งสมจากการได้ดูแลผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม ท�าให้ Wound Care Clinic
เป็นส่วนส�าคัญของระบบการดูแลสุขภาพ ซึ่งช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล
ของระบบสุขภาพ การน�าบทเรียนที่ประจักษ์จากต้นแบบ Wound Care Clinic มาขยายผลจึงเป็นสิ่งที่ควรด�าเนินการเพื่อเป็นการส่งเสริม
วิชาชีพตามบทบาทสภาการพยาบาลต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1. วิจิตร ศรีสุพรรณ, วิลาวัลย์ เสนารักษ์: และ ขนิษฐา นันทบุตร. (2557). นวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ
ผู้ป่วยที่มีออสโตมีและแผล. ใน นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้บทบาทของของวิชาชีพการพยาบาล: โครงการขับเคลื่อน
วิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. (น.372-84). ม.ป.ท.
2. ส�านักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.) แนวทางการเปิดคลินิก.
https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-11-08-27-16-160329.pdf.
3. Chan, R. J., Marx, W., Bradford, N., Gordon, L., Bonner, A., Douglas, C., Schmalkuche, D., & Yates, P. (2018).
Clinical and economic outcomes of nurse-led services in the ambulatory care setting: A systematic review.
International journal of nursing studies, 81, 61–80. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2018.02.002
4. Klein, T. M., Andrees, V., Kirsten, N., Protz, K., Augustin, M., & Blome, C. (2021). Social participation of people
with chronic wounds: A systematic review. INT WOUND J, 18(3), 287-311. https://doi.org/10.1111/iwj.13533.
ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566
จดหมายข่าวสภาการพยาบาล่าวสภาการพยาบาล
ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566 จดหมายข 9 9