Page 8 - a_w จดหมายข่าวสภาการพยาบาล_2566_ฉบับที่ 4
P. 8

สาระน่ารู้




       Wound Care Clinic: Nurse-led Complex Wound Care Clinic



                                                                                               ดร.พว.ยุวดี เกตสัมพันธ์
                                                                 กรรมการสภาการพยาบาล ชุดที่ 10 วาระ พ.ศ. 2565-2569



            มีการคาดการณ์ในอนาคตว่า แผลเรื้อรัง จะเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดปัญหาส�าหรับประชาชนในการเข้าถึงบริการ
       ที่มีคุณภาพและค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องแบกรับอย่างมหาศาล มีเหตุผลหลายประการที่ท�าให้การคาดการณ์นี้เป็นจริง

       อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะในลักษณะสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้สูงอายุจะมีอายุยืนยาวขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากความก้าวหน้าทางการรักษา
       โรคต่าง ๆ ที่เคยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชน ประกอบกับประชาชนมีความตระหนักในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี
       ด้วยวิธีการต่าง ๆ จึงท�าให้มีผู้สูงอายุจ�านวนมากขึ้น ผลที่ตามมาคือจะพบผู้ป่วยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
       โรคไต โรคอ้วน มีจ�านวนเพิ่มขึ้น จากสถิติรายงานผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในวัยท�างานและมีโรคร่วม มักจะพบแผลเรื้อรัง
       ในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิตมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างชัดเจน

            แผลเรื้อรังเป็นแผลที่หายช้าและมีผลกระทบต่อการด�าเนินชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งเป็นสาเหตุที่ท�าให้เกิดค่าใช้จ่าย

       อย่างมากทั้งค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและรัฐบาล และถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะน�าไปสู่การมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจนถึงเสียชีวิต
       หรือพิการได้ เช่น มีการติดเชื้อในกระแสเลือด การรักษาแผลเรื้อรังเป็นความท้าทายของระบบสาธารณสุขทั่วโลก เนื่องจากการรักษา
       ต้องใช้เวลานานและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการดูแลจึงจะมีผลลัพธ์ดี แต่ความเป็นจริงผู้ป่วยแผลเรื้อรังส่วนใหญ่ได้รับการดูแล
       ที่มีความหลากหลายจากพยาบาล แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่ขาดความรู้ที่ทันสมัย รวมทั้งไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์

       ที่ช่วยในการรักษาแผลให้มีประสิทธิภาพสูงได้ ผู้ป่วยต้องเดินทางไป-กลับเพื่อท�าแผลที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ท�าให้เกิดความทุกข์ทรมาน
       และเสียค่าใช้จ่ายมาก และมีความไม่สะดวกต้องรอนานและได้รับบริการจากผู้ไม่มีความเชี่ยวชาญฉพาะด้านการดูแลแผล

            การพัฒนาการดูแลแผลเรื้อรังซึ่งน�าโดยพยาบาลที่จบหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางการดูแลแผลออสโตมีและควบคุม
       การขับถ่ายจากต่างประเทศ และน�าความรู้มาพัฒนาเป็นต้นแบบหลักสูตรการฝึกอบรมในประเทศไทย และต่อมามีการขยาย
       การอบรมเช่นเดียวกันนี้ในหลายสถาบันพยาบาลที่ผ่านการอบรมเหล่านี้ ได้ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดูแลแผลอย่างชัดเจน

       ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยการน�าความรู้และทักษะกลับไปพัฒนางานการดูแลแผลในโรงพยาบาลที่สังกัด มีบางส่วนที่พัฒนาตนเอง
       ต่อยอดจนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลจากผลงานที่เกิดกับผู้ป่วย ผลงานนี้ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ บางโรงพยาบาล
       สนับสนุนให้เปิด Clinic เฉพาะด้านขึ้น ท�าให้การดูแลแผลเรื้อรังหายยากของโรงพยาบาลมีผลลัพธ์ดีขึ้นตามล�าดับ ประเมินได้จาก
       ผู้ป่วยมีความประทับใจ แผลหายเร็วขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลง ท�าให้ Clinic ที่ด�าเนินการโดยพยาบาลเฉพาะทางนี้ได้รับ

       การส่งต่อจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ท�าให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการมีจ�านวนมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริหารสนับสนุน
       ให้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการมากขึ้น เช่น Clinic นอกเวลา และ Private Clinic

            จากรูปธรรม Clinic ที่น�าโดยพยาบาลเฉพาะทางนี้ สภาการพยาบาลโดยคณะกรรมการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและ
       การผดุงครรภ์ สนใจที่จะศึกษาความเป็นไปได้ส�าหรับการพัฒนาคลินิกต้นแบบ และพัฒนาขีดความสามารถของพยาบาลเฉพาะทาง
       ในการประกอบวิชาชีพอิสระ และจากการศึกษาพบว่ารูปแบบที่เป็นต้นแบบได้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

            1. Nurse Led Wound Care Clinic in Hospital Setting เป็นรูปแบบคลินิกเฉพาะทางที่จัดตั้งในโรงพยาบาล
       เพื่อให้บริการผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง แผลหายยาก เช่น แผลกดทับ แผลจากหลอดเลือดด�า แผลจากการขาดเลือดแดง แผลเบาหวาน

       แผลติดเชื้อ แผลแยก และแผลมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้บริการเชิงป้องกันได้แก่การดูแลสุขภาพเท้าและเล็บ การป้องกัน
       การเกิดซ�้าของแผล และรวมถึงการให้บริการผู้ป่วยออสโตมี (ผู้ป่วยที่มีทวารเทียม)
              ลักษณะการดูแล เป็นบริการที่มีพยาบาลเฉพาะทางเป็นผู้ด�าเนินการ วางระบบบริหารจัดการตั้งแต่การประเมิน

       การวินิจฉัย การรักษาโดยการเลือกใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ เวชภัณฑ์อย่างเหมาะสม ตามปัญหาแผลของผู้ป่วยแต่ละราย การประสาน
       กับสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการอย่างเป็นองค์รวม และที่ส�าคัญคือการให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัว


         8 8   จดหมายข่าวสภาการพยาบาล่าวสภาการพยาบาล                               ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566
               จดหมายข
                                                                                   ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13