วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกภูมิภาคถอดภูมิปัญญาการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากศูนย์เรียนรู้ดีเด่นระดับจังหวัด เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกร”

Related Posts

ถอดภูมิปัญญาการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากศูนย์เรียนรู้ดีเด่นระดับจังหวัด เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกร”

“…วันที่ 7 ก.ค.65 น.สพ.ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดจันทบุรี พร้อมนายภาณุ อินทฤทธิ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ …”

[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]

นาย สมฤกษ์ ม่วงไหมทอง ปศุสัตว์อำเภอเขาคิชฌกูฏ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ลงพื้นที่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของ นายสุรินทร์ รัดรอดกิจ ตั้งอยู่ บ้านชำตาเรือง เลขที่ 3/1 ม.1 ต. คลองพูล อ.เขาคิชฌกูฏ ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เครือข่ายด้านปศุสัตว์ดีเด่นของจังหวัดจันทบุรี ประจำปี 2565 เพื่อถอดภูมิปัญญาในการผลิตน้ำหมักชีวภาพของศูนย์ฯนำไปเผยแพร่สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น ภายในศูนย์ฯมีการเลี้ยงไก่ไข่ ประมาณ 200 ตัว ผลผลิต ไข่ไก่เฉลี่ย 120 ฟองต่อวัน ขายคละขนาดในราคา 4 บาทต่อฟองในตลาดชุมชน ทำให้มีรายได้ประมาณ 10,000 บาท ต่อเดือน น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตมี 2 สูตร ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพสูตรจากผลไม้สุก ผลิตจากมะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก ฟักทอง สับปะรด หัวเชื้อ EM และกากน้ำตาล ส่วนน้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง ผลิตจาก บอระเพ็ด สะเดา มะกรูด กากน้ำตาล และหัวเชื้อ EM ผสมตามสูตรใส่ถังหมักขนาด 200 ลิตร เติมน้ำให้เต็มถังแล้วปิดฝา หมักในถัง นาน 90 วัน กรองเอาเฉพาะน้ำหมักไปใช้ น้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้สุกใช้ฉีดพ่นตามพื้นดินในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์หรือน้ำเสียจากโรงเรือนไก่ได้ ลดจำนวนของจุลินทรีย์ก่อโรค เสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้สัตว์แข็งแรง ส่วนน้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง ช่วยไล่แมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยง ได้แก่ แมลงวัน ยุง เห็บ และขัดขวางการเจริญเติบโตของหนอนแมลงต่างๆ โดยควรฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพให้ทั่วโรงเรือนเลี้ยงไก่ อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ เกษตรกรผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ฯได้ตลอดเวลา สำหรับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนที่เกิดจากปัญหาชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ เน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ในประเด็นการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนการยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในลักษณะเกษตรกรสอนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts