วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นปศุสัตว์จันทบุรี เสนอผลสำเร็จการส่งเสริมเลี้ยงสัตว์ แก่องคมนตรีในการติดตามการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาไม้ผล ตามพระราชดำริ

Related Posts

ปศุสัตว์จันทบุรี เสนอผลสำเร็จการส่งเสริมเลี้ยงสัตว์ แก่องคมนตรีในการติดตามการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาไม้ผล ตามพระราชดำริ

วันที่ 19 ม.ค.66 น.สพ.ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดจันทบุรี พร้อมนายภาณุ อินทฤทธิ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ นายวินัย บุตรดี ปศุสัตว์อำเภอมะขาม นายสุนทร บุญมีมาก เจ้าพนักงานสัตวบาลชำนาญงาน และส่วนราชการต่างๆ ร่วมประชุมการติดตามขับเคลื่อนโครงการพัฒนาไม้ผล ตามพระราชดำริ ต.ท่าหลวง อ.มะขาม ของพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี (ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง) และพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี (รองประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง)

โดยมีนายมนสิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวต้อนรับ จากนั้นองคมนตรีได้ตรวจเยี่ยมกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาไม้ผล ตามพระราชดำริ ซึ่งมีการเลี้ยงหมูหลุม ปีละ 10 ตัว สร้างรายได้ประมาณ 50,000 บาทต่อปี เก็บมูลหมูได้ปีละ 3 ตัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างปรับปรุงและพักคอก การเลี้ยงเป็ดเทศ 26 ตัว เพศผู้ 4 ตัว เพศเมีย 22 ตัว อัตราการไข่ร้อยละ 50 ขายเป็ดที่อายุ 4 เดือน น้ำหนัก 4 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100 บาท นำไข่เป็ดส่วนหนึ่งไปฟัก เพื่อขยายพันธุ์มอบให้แก่เกษตรกรที่เป็นเครือข่ายไปเลี้ยงสร้างอาชีพ และการเลี้ยงไก่ไข่ 19 ตัว เป็นพันธุ์เล็กฮอร์นขาว 11 ตัว เพศเมีย 7 ตัว เพศผู้ 4 ตัว พันธุ์ซี พี บราวน์ 8 ตัว อัตราการไข่ร้อยละ 90 เก็บมูลสัตว์ปีกได้ปีละ 300 กิโลกรัม มูลหมูหลุม และมูลสัตว์ปีกไม่ได้ขาย ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ดิน ทำให้ไม้ผลเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากรผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบที่ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับศูนย์พัฒนาไม้ผล ตามพระราชดำริ ตั้งขึ้นตามที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดําริกับคณะทํางานโครงการพัฒนาตาม พระราชดําริ เมื่อปี 2524

ให้ต้ังศูนย์ศึกษาพัฒนาไม้ผล ให้เป็นตัวอย่างในการประกอบอาชีพแก่ราษฎร และสร้างแหล่งน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสวนผลไม้ จํานวน 60 ไร่ สระเก็บน้ํา จํานวน 12 ไร่ และพื้นที่ว่างเปล่า จํานวน 37 ไร่ เพื่อทําการศึกษา ทดลองทางการเกษตร

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts