อดีตผู้ช่วยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวถึงความเป็นผู้นำของจีน ในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนว่าเป็น “เส้นทางที่ควรเดินตาม” โดยจีนมีผลผลิตในภาคยานยนต์พลังงานใหม่เพิ่มขึ้น และมีการทำงานที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน ที่จำเป็นภายในอุตสาหกรรมนี้
รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (19 มิ.ย.) ได้วิเคราะห์ความต้องการยานยนต์พลังงานใหม่ระดับโลก รวมถึงสรุปข้อมูลการพัฒนา และจุดแข็งด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ของจีน ซึ่งช่วยนำเสนอข้อมูลอ้างอิง ที่มีคุณค่าสำหรับจีนและยุโรป ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ตลอดจนความร่วมมือและการลงทุนด้านห่วงโซ่อุปทาน
ไบรซ์ ลาลอนด์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) กล่าวถึงความเป็นผู้นำของจีน ในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนว่า เป็น “เส้นทางที่ควรเดินตาม” โดยจีนมีผลผลิตในภาคยานยนต์พลังงานใหม่เพิ่มขึ้น และมีการทำงานที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน ที่จำเป็นภายในอุตสาหกรรมนี้
ลาลอนด์ ซึ่งเป็นประธานเอ็ดเอ็น (EdEn) กลุ่มบริษัทที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในฝรั่งเศสและยุโรป ระบุว่า เราต้องร่วมมือกับจีน การมีส่วนร่วมในการเจรจาหารือ ในระดับทวิภาคี เพื่อแก้ไขความซับซ้อนของประเด็นต่างๆ เป็นสิ่งที่ดีกว่าการก่อสงครามการค้า ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ
ในการประชุมโต๊ะกลม ผู้เข้าร่วมเห็นพ้องว่า จีนและยุโรปมีรากฐานที่กว้างขวาง สำหรับความร่วมมือในการพัฒนายานยนต์พลังงานใหม่ และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเรียกร้องให้จีนและยุโรป รักษาสายสัมพันธ์ที่เปิดกว้างและร่วมมือกัน อีกทั้งมองว่า การกำหนดพิกัดอัตราภาษีคุ้มครอง จะส่งผลเสียต่อผู้ผลิตรถยนต์ และผู้บริโภคในยุโรปเอง รวมถึงส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจยุโรป