จากกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ออกประกาศให้นำภารกิจของศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ไปอยู่ในความรับผิดชอบและการกำกับดูแลของหน่วยงานตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2556 เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจภาครัฐ
และให้ยกเลิกศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ อาชีวศึกษา โดยให้นำภารกิจไปอยู่ในความรับผิดขอบของกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมกิจการนักศึกษา สำนักมาตรฐาน การอาชีวศึกษาและวิชาชีพ และให้บุคลากรไปอยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัดเดิม ประกาศ ณ วันที่ 26มีนาคม พ.ศ. 2868 ลงนามโดย นายยศหล เวณฺโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้น
ล่าสุด ดร.ณรงค์ ไปวันเสาร์ นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออกและอุปนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยต่อการออกประกาศดังกล่าวมีจุดประสงค์เช่นไร เนื่องจากตนเองก็ได้รับเพียงเอกสารทางราชการเพียงใบเดียวที่แจ้งให้มีการยกเลิกศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ อาชีวศึกษา โดยไม่มีการชี้แจงถึงเหตุผล
แต่สิ่งที่จะตามมาจากการออกคำสั่งดังกล่าวคือผลกระทบที่จะเกิดแก่คน พิการโดยตรง เนื่องจากศูนย์ดังกล่าวช่วยทำหน้าที่ในการฝึกอาชีพระยะสั้นให้กับคนพิการ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ บาร์เรสต้า ตัดผม ทำเบเกอรี่ ฯลฯ จากการฝึกฝนของผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญ
อีกทั้งยังมีบทบาทในการจัดการศึกษาให้กับคนพิการซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ด้อยโอกาสและยากจน ซึ่งศูนย์แห่งนี้มีส่วนช่วยให้คนพิการที่ไม่ต้องการเรียนถึงระดับมหาวิทยาลัย ได้มีหนทางเรียนในสายอาชีวศึกษา ที่เชื่อว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะมีงานทำแน่นอน จากการทำไตรภาคีระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสมาคมคนพิการ
และยังบอกอีกว่า การยุบศูนย์แห่งนี้ไปอยู่ที่ส่วนกลางจะทำให้คนพิการขาดโอการทางการศึกษา ขาดการพัฒนาอาชีพเพราะศูนย์แห่งนี้ทำให้คนพิการใกล้บ้านสามารถเข้าถึงและทั่วถึง
“ แต่เมื่อมีคำสั่งให้ยุบศูนย์นี้ไปอยู่ที่ส่วนกลาง ถามว่าวันนี้คนพิการจะไปทางไหน ผมมองว่าแค่มีศูนย์ฯ จังหวัดละศูนย์ยังน้อยเกินไป เพราะต้องไม่ลืมว่าคนพิการมีความยากลำบากในการใช้ชีวิต คนพิการไม่ใช่ว่าจะมีรถทุกคน ใครจะเป็นคนพาไป ซึ่งการมีศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษ อาชีวศึกษาในแต่ละจังหวัดจึงทำให้คนพิการ สามารถแบ่งเบาภาระผู้ปกครองและยังทำให้คนพิการลดค่าครองชีพลงได้ วันนี้ผมขอใช้ค่ำว่า หดหู่ และสิ้นหวัง ”
นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออก เผยว่าการทำงานร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวะศึกษาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน ทำให้ได้เห็นว่าแม้แต่สถาบันอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ก็มีการพัฒนา ปรับปรุงสถานที่ และสร้างลิฟท์และหอพักสำหรับคนพิการ ร่วมทั้งยังมีคนพิการเข้าเรียนในระดับ ปวช.-ปวส.มากขึ้นซึ่งเป็นภาพที่สวยงามที่ช่วยให้คนพิการได้มีอาชีพ และมีงานทำ
ดังนั้นเมื่อมีคำสั่งยุบศูนย์ฯ คนพิการที่ลงทะเบียนเรียนไปก่อนหน้าแล้วจะทำอย่างไร เพราะปัจจุบันคนพิการทั้งประเทศมีจำนวน 2.2 ล้านคน เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว 1.2 ล้านคน พิการด้านการสื่อสาร ทางการเห็น ออทิสติก สติปัญหาและการเรียนรู้ฯลฯ ซึ่งคนพิการที่เข้าสู่ระบบการศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษฯ ในปี 67 มีมากเกือบ 2,000 คน
“สิ่งที่สมาคมฯ อยากจะเรียกร้องไปยังคณะกรรมการการอาชีวศึกษาคือการขอให้ชี้แจงว่ายุบศูนย์ดังกล่าวเพราะอะไร และจะทำอย่างไรกับคนพิการต่อไป และคนพิการจะยังมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอยู่หรือไม่ อีกทั้งคนพิการที่ยังเรียนอยู่ตามศูนย์ฯต่างๆ จะทำอย่างไร ” นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออก กล่าว




