วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการเงินคริปโตเคอร์เรนซี..นิว เอสเคิร์ฟ เขย่าโลก แต่กฎหมายไทยล้าหลังเกินไปหรือเปล่า?

Related Posts

คริปโตเคอร์เรนซี..นิว เอสเคิร์ฟ เขย่าโลก แต่กฎหมายไทยล้าหลังเกินไปหรือเปล่า?

“…ปัจจุบันประเทศไทยกระโดดขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 5 และถือเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ประเทศที่นิยมใช้คริปโตฯ สูงสุด บวกกับกระแสความนิยมคริปโตฯ ในสิงคโปร์ก็แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคอาเซียนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี ที่น่าจับตามองอย่างมาก ข้อมูลจากก.ล.ต. เดือน พ.ค. 2565 พบว่าคนไทยเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับแพลตฟอร์มที่ได้รับไลเซนส์จาก ก.ล.ต. รวมกว่า 2.85 ล้านบัญชี มากเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนบัญชีที่ซื้อขายในตาดหุ้นที่มีจำนวน 5 ล้านบัญชี ทั้งๆ ที่ตลาดคริปโตฯ เมืองไทยเกิดมาแค่ 3 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเปิดดำเนินการมานานกว่า 47 ปี อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความร้อนแรงของธุรกิจคริปโตฯ กลับติดหล่มกฎหมายที่กำกับดูแลโดย ก.ล.ต. ที่บางกฎเกณฑ์ยังหาความชัดเจนไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอยู่เนืองๆ จนทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจคริปโตฯ ไม่เป็นอันทำมาหากิน ถ้ากฎเกณฑ์ยังมีความหละหลวม ลักลั่น นอกจากรายเก่าจะทำธุรกิจได้ยากแล้ว รายใหม่ก็ไม่กล้าเข้ามา กลายเป็นการบอนไซธุรกิจคริปโตฯ เมืองไทยให้แคระแกร็น และอาจถูกหลายๆ ประเทศในอาเซียนทยอยแซงหน้า หรือถูกยักษ์ใหญ่ระดับโลกเข้ามาคว้าชิ้นปลามันไปอย่างน่าเสียดาย….”

10 ประเทศที่มีการใช้คริปโตฯ สูงสุดในโลก (ตามการจัดอันดับของ Merchant Machine) 1. สหรัฐ 2. ยูเครน 3. สหราชอาณาจักร 4. อินเดีย 5. ไทย 6. รัสเซีย 7. ฝรั่งเศส 8. เนเธอร์แลนด์ 9. เวียดนาม และ 10. โคลอมเบีย ประเทศไทยสามารถกระโดดขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 5 และถือเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน

ผลการศึกษาของ Merchant Machine ซึ่งเป็นเว็บไซต์เปรียบเทียบการชำระเงิน พบว่า สหรัฐเป็นประเทศที่มีการใช้คริปโตเคอร์เรนซีสูงสุดในโลก โดยรายชื่อ 10 ประเทศที่มีการใช้คริปโตฯ สูงสุดในโลกตามการจัดอันดับของ Merchant Machine ประกอบด้วย 1. สหรัฐ 2. ยูเครน 3. สหราชอาณาจักร 4. อินเดีย 5. ไทย 6. รัสเซีย 7. ฝรั่งเศส 8. เนเธอร์แลนด์ 9. เวียดนาม และ 10. โคลอมเบีย

การจัดอันดับดังกล่าวอ้างอิงจากจำนวนผู้ถือครองสกุลเงินคริปโตฯ และธุรกิจที่มีการยอมรับคริปโตฯ ซึ่งประเทศไทยสามารถกระโดดขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 5 และถือเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน แต่ที่น่าจับตามองคือ เวียดนาม ซึ่งติดในอันดับที่ 9 เมื่อนับรวมสิงคโปร์ที่แม้จะไม่ติดกลุ่มท็อปเทนตามผลการศึกษาของ Merchant Machine แต่กระแสความนิยมคริปโตฯ ในสิงคโปร์ก็แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคอาเซียนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี ที่น่าจับตามองอย่างมาก

แม้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาตลาดคริปโตฯ จะลดความร้อนแรงลงไป แต่ Gavin Michael ซีอีโอของบริษัทเทรดระดับโลก Bakkt ก็มองว่า ตลาดคริปโตฯ จะยังคงอยู่ต่อไป แม้การร่วงอย่างรุนแรงของมูลค่าในปี 2022 จะทำให้นักลงทุนและหลายบริษัทต้องล้มละลาย จนเกิดความไม่มั่นใจในตลาดคริปโตฯ แต่ตลาดนี้ยังมีความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยและรายใหญ่ ขณะที่หน่วยงานส่วนใหญ่เริ่มคุ้นเคยกับตลาดคริปโตฯ และเข้าใจในความผันผวนของเหรียญดิจิทัลแล้ว

ซีอีโอ Bakkt ยังบอกอีกว่า จากการเฝ้าดูตลาดนี้มานาน ทำให้พวกเขาเข้าใจตลาด และพร้อมจะเปิดใช้งานบริการคริปโตฯ ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เพราะเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดอย่างมีนัยสำคัญจนถึงปี 2023

สำหรับเมืองไทย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงพีคสุดๆของตลาดคริปโตเคอร์เรนซี คนไทยแห่เทรดคริปโตฯ กันคึกคัก ทั้งนักลงทุนหน้าเก่าที่มีประสบการณ์ลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ อยู่แล้ว และนักลงทุนหน้าใหม่ที่กระโดดเข้าสู่โลกการลงทุนเป็นครั้งแรก จนทำให้ “สินทรัพย์ดิจิทัล” กลายเป็นหนึ่งสินทรัพย์ยอดนิยมของคนไทย

ข้อมูลจาก ก.ล.ต. เดือนพ.ค. 2565 พบว่าคนไทยเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับแพลตฟอร์มที่ได้รับไลเซนส์จาก ก.ล.ต. รวมกว่า 2.85 ล้านบัญชี มากเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนบัญชีที่ซื้อขายในตาดหุ้นที่มีจำนวน 5 ล้านบัญชี ทั้งๆ ที่ตลาดคริปโตฯ เมืองไทยเกิดมาแค่ 3 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเปิดดำเนินการมานานกว่า 47 ปี

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เดือนพ.ค. 2565 พบว่าคนไทยเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับแพลตฟอร์มที่ได้รับไลเซนส์จาก ก.ล.ต. รวมกว่า 2.85 ล้านบัญชี มากเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนบัญชีที่ซื้อขายในตาดหุ้นที่มีจำนวน 5 ล้านบัญชี ทั้งๆที่ตลาดคริปโตฯ เมืองไทยเกิดมาแค่ 3 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเปิดดำเนินการมานานกว่า 47 ปี มีการเทรดคริปโตฯ อย่างสม่ำเสมอประมาณ 5 แสนบัญชี มูลค่าการซื้อขาย 1.06 แสนล้านบาทต่อเดือน ยังไม่นับรวมจำนวนนักลงทุนที่เข้าไปเทรดกับแพลตฟอร์มต่างชาติซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. อีกจำนวนไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความร้อนแรงของธุรกิจคริปโตฯ กลับติดหล่มกฎหมายที่กำกับดูแลโดย ก.ล.ต. ที่บางกฎเกณฑ์ยังหาความชัดเจนไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอยู่เนืองๆ จนทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจคริปโตฯ ไม่เป็นอันทำมาหากิน ต้องคอยติดตามดูว่ากฎระเบียบที่ ก.ล.ต.ประกาศออกมานั้นจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง เพราะถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบแบบกะทันหัน แล้วบริษัทไหวตัวไม่ทัน หรือไหวตัวช้า นอกจากจะถูก ก.ล.ต. เพ่งเล็งแล้ว ยังโดนนักลงทุนตั้งข้อสงสัยว่า มีพฤติกรรมดื้อแพ่งหรือเข้าข่ายกระทำความผิดโดยเจตนาหรือเปล่า?

ที่สำคัญคือกฎระเบียบบางอย่างครั้งหนึ่งเคยทำได้ แต่ต่อมากฎหมายระบุว่าทำไม่ได้ กลับโดนความผิดย้อนหลัง ทั้งที่ตามหลักการของกฎหมายไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น หรือ การกำหนดคุณสมบัติการออกเหรียญดิจิทัลที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ว่า “ความสมดุล” อยู่ตรงไหน แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า เนื่องจากธุรกิจนี้ยังเป็นของใหม่สำหรับโลกการเงิน การกำหนดตัวบทกฎหมายเข้าไปควบคุมดูแล จึงต้องทำกันไป เรียนรู้กันไป แต่หากยังมีความไม่เสถียร วันนี้เป็นอย่าง พรุ่งนี้เป็นอีกอย่าง ย่อมสร้างความสับสนอลหม่านและบั่นทอนธุรกิจนี้ให้ลดความน่าเชื่อถือโดยใช่เหตุ

ขณะที่อีกด้านหนึ่ง กฎระเบียบบางอย่างเข้มงวดกับริษัทคริปโตฯ ไทย แต่กลับเปิดทางให้บริษัทข้ามชาติทำได้ อาทิ การกำหนดให้ผู้ประกอบการไทยลงทุนทำธุรกิจคริปโตฯได้เฉพาะการเปิดศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น ไม่สามารถเป็นโบรกเกอร์ไลเซ่นส์ หรือ เป็นผู้จัดการการลงทุนได้ ทั้งที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์กำหนด กลายเป็นความลักลั่นและมีคำถามไปยัง ก.ล.ต.ว่าจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร หรือ ก.ล.ต.มองว่าเครดิตของบริษัทไทยยังสู้บริษัทข้ามชาติไม่ได้

นอกจากนี้ กรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด เจ้าของแพลตฟอร์ม ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (EXCHANGE) “Zipmex” ซึ่งมีบริษัทแม่ในสิงคโปร์ นำผลิตภัณฑ์ “Zipup+” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไทยฝากสินทรัพย์ไว้ที่ Zipmex global สิงคโปร์ ไปลงทุนในแฟลตฟอร์มสินเชื่อคริปโตฯ ของ บาเบลล์ไฟแนนซ์ (Babel Finance) และ เซลเซียส (Celsius ) ซึ่งทั้งสองแห่งต่างประสบปัญหาจากการล่มสลายของเหรียญ LUNA จนทั้งสองบริษัทต้องประกาศระงับการถอนเงิน ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ใน Zipup+ โดยเฉพาะ บิทคอยน์(BTC), อีเธอเรียม (ETH), USDTและ USDC เป็นต้น ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ ส่งผลให้ Zipmex ประเทศไทย ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาทและคริปโตเคอร์เรนซีเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดคริปโตฯและลูกค้านักลงทุนเป็นวงกว้าง เบื้องต้นมีความเสียหายเกิดขึ้นราว 2,000 ล้านบาท จากผู้เสียหาย 3,800 ราย ขณะที่ผู้ลงทุนเหรียญขาดทุนกว่า 88%

ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (EXCHANGE) “Zipmex” ในสิงคโปร์ นำผลิตภัณฑ์ “Zipup+” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไทยฝากสินทรัพย์ไว้ที่ Zipmex global สิงคโปร์ ไปลงทุนในแฟลตฟอร์มสินเชื่อคริปโตฯ ของ บาเบลล์ไฟแนนซ์ (Babel Finance) และ เซลเซียส (Celsius ) ซึ่งทั้งสองแห่งต่างประสบปัญหาจากการล่มสลายของเหรียญ LUNA จนทั้งสองบริษัทต้องประกาศระงับการถอนเงิน

ซึ่งตามกฎหมาย พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ในการทำหน้าที่ของธุรกิจศูนย์ซื้อขายฯ หากมีการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้า มีกฎเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจนว่า “บริษัทห้ามนำทรัพย์สินของลูกค้าไปหาดอกผล และต้องเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้อย่างปลอดภัย” แต่กลับมีการนำสินทรัพย์ของลูกค้าไปลงทุนในแพลตฟอร์มต่างประเทศ โดย ก.ล.ต.ระบุว่า ไม่เคยมีการหารือเรื่องนี้กับผู้บริหาร Zipmex ประเทศไทย ได้รับแจ้งตอนมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สังคมเกิดความสงสัยว่าทำไม ก.ล.ต.เพิ่งได้รับแจ้งเมื่อเกิดเหตุแล้วในวันที่ 20 ก.ค.65 ทั้งที่โปรแกรม ZipUp+ ให้บริการมานานนับปี สื่อสาธารณะรายงาน มีการรีวิวจำนวนมาก ลากยาวมาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แต่ ก.ล.ต.กลับไม่ทราบเรื่องนี้

ปัจจุบันธุรกิจคริปโตฯ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และผู้เล่นทั่วโลกต่างเข้าสู่สนามในเวลาใกล้เคียงกัน  นั่นหมายความว่าโอกาสที่บริษัทคนไทยหรือสตาร์ทอัพไทยจะโกอินเตอร์ออกไปแข่งขันในตลาดโลกและกลายเป็นผู้เล่นระดับแถวหน้าของโลกก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้คุมกฎระเบียบในการเอื้ออำนวยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ออกไปต่อสู้กับนานาชาติแล้ว ยังเป็นการเปิดช่องให้กับผู้เล่นหน้าใหม่โดดลงมาร่วมวงในสนามแข่งขันนี้ หากพวกเขามองเห็นว่ากฎระเบียบที่มีอยู่จะช่วยสนับสนุนให้พวกเขาเติบโตได้ ซึ่งก็จะทำให้ตลาดคึกคักและเติบโตมากยิ่งขึ้น

แม้ปัจจุบันดูเหมือนว่ามีบางบริษัทได้เปรียบคู่แข่งรายอื่น เพราะเข้ามาก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีฟินเทคเก่งๆ เปิดหน้าท้าชนเข้ามาแข่งขันแย่งมาร์เก็ตแชร์ แถมกลุ่มธุรกิจบิ๊กๆของเจ้าสัวหลายรายก็จดๆจ้องๆอยากเข้ามาลิ้มลองในธุรกิจนี้ซึ่งถูกมองว่าเป็น “นิว เอสเคิร์ฟ” แม้เจ้าสัวเหล่านั้นจะไม่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการได้ด้วยตัวเอง แต่เงินถุงเงินถังที่มีอยู่เต็มมือสามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญมาขับเคลื่อนได้ไม่ยาก แต่ถ้ากฎเกณฑ์ยังมีความหละหลวม ลักลั่น นอกจากรายเก่าจะทำธุรกิจได้ยากแล้ว รายใหม่ก็ไม่กล้าเข้ามา กลายเป็นการบอนไซธุรกิจคริปโตฯเมืองไทยให้แคระแกร็น และอาจถูกหลายๆประเทศในอาเซียนทยอยแซงหน้า หรือถูกยักษ์ใหญ่ระดับโลกเข้ามาคว้าชิ้นปลามันไปอย่างน่าเสียดาย เหมือนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มองไปทางไหนก็มีแต่ต่างชาติเข้ามาเปิดให้บริการอย่างน่าเจ็บปวดใจ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts