วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกอาชญากรรมกลุ่มผู้เสียหายถูกหลอกขายสินค้าแบรนด์เนมมูลค่านับล้านบาท แห่ร้อง ดีอีเอส และ บช.สอท.

Related Posts

กลุ่มผู้เสียหายถูกหลอกขายสินค้าแบรนด์เนมมูลค่านับล้านบาท แห่ร้อง ดีอีเอส และ บช.สอท.

“ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส แถลงร่วม ผบก.สอท.1 รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มผู้เสียหายเหยื่อเพจสินค้าแบรนด์ เนมออนไลน์ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นหลักล้านบาท ประกาศใช้ 2 กฎหมายลงดาบมิจฉาชีพร้านค้า ออนไลน์ ทั้ง พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มาตรา 14 (1) และกฎหมายอาญา มาตรา 341 ฐานฉ้อโกง

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 ก.พ. 2565 ที่ ห้องประชุม​ MDES 1 ชั้น ​9​ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และว่าที่ พ.ต.อ.ศุภรฐโชติ จําหงส์ ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ กองบังคับการตํารวจ สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) และ พ.ต.อ.เอกนิรุจฒิ์วันสิริภักดิ์ ผกก.2 บก.สอท.1 ร่วมกันแถลงข่าว “การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายที่สั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนมออนไลน์แต่ไม่ได้รับ สินค้า” ภายหลังมีผู้เสียหายจํานวนหนึ่งรวมตัวกันเดินทางมาร้องเรียนที่กระทรวงดิจิทัลฯ บางรายได้เข้าแจ้ง ความไว้แล้ว

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ผู้เสียหายได้สั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนมจากเพจ The Sandy Brand แล้วไม่ได้รับสินค้า ครอบคลุมตั้งแต่ราคาหลายหมื่นบาท ถึงกว่า 2 แสนบาท รวมมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นหลักล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียหายอีกหลายรายกําลังรวบรวมรายชื่อเพื่อเข้าแจ้งความเพิ่มเติม

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.) โดยกองบังคับการตํารวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) พร้อมภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเร่งดําเนินการติดตามผู้กระทําเข้าสู่ กระบวนการดําเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหาย และป้องกันไม่ให้ประชาชนราย อื่นๆ เป็นเหยื่อกลโกงของผู้ค้าออนไลน์ในลักษณะนี้

“ขอเตือนมิจฉาชีพพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ว่า ปัจจุบันเรามีกฎหมายที่กํากับดูแลในเรื่องนี้อยู่ โดยผู้กระทําผิดจะ ถูกดําเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา” นายชัยวุฒิกล่าว

โดยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ในมาตรา 14 วรรค หนึ่ง (1) บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทําความผิดโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวล กฎหมายอาญา ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ”

และถ้าการกระทําความผิดข้างต้นมิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 14 วรรคท้าย

นอกจากนี้ ผู้หลอกขายยังมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอัน ยอมความได้ โดยการทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควร บอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนมาตรา 343 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ โดยกระทําความผิดฐานฉ้อโกงโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อ ประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน แล้วแต่กรณีอีกด้วย

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า สําหรับในส่วนของประชาชน และผู้บริโภค ต้องเร่งสร้างความรู้เท่าทันกลโกงของการซื้อ ขายสินค้าออนไลน์ โดยแนะนําจุดสังเกตมิจฉาชีพร้านค้าออนไลน์ก่อนตกเป็นเหยื่อ ดังนี้

  1. ตรวจสอบประวัติ ผู้ขาย และรีวิวร้านค้า นําชื่อผู้ขาย เลขบัญชี หรือ เบอร์โทรศัพท์ค้นหาใน google หากมีประวัติการหลอกลวง จะมีคนพูดถึงรายละเอียดการโกง
  2. ราคาถูกเกินจริง เช็คราคาท้องตลาด อย่าเห็นแก่ของถูก
  3. หลอกให้โอนเงินทันที พยายามโน้มน้าวใจให้ผู้ซื้อรีบโอนเงินก่อนพลาดโอกาสได้ของดีราคาถูก 4. วิธีการ สั่งซื้อและวิธีการจัดส่งไม่ชัดเจน ร้านค้าส่วนใหญ่มักจะมีการจัดส่งที่ชัดเจน มีให้เลือกหลายช่องทาง รวมถึงมี บริการเก็บเงินปลายทาง และนัดรับสินค้า

ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ 1212 OCC เมื่อสิ้นปี 64 พบว่า เกือบ 80% ของข้อร้องเรียนปัญหาซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ คือ ไม่ได้รับสินค้า และสินค้าไม่ตรงปก โดยประเภทสินค้าที่ มีการร้องเรียรนมากสุด ได้แก่ อุปกรณ์ไอทีและสินค้าแฟชั่น ครองสัดส่วนรวมกันเกือบ 50%โดยช่องทางการซื้อขายที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก คิดเป็น 82.1% ตามมาด้วย เว็บไซต์ อินสตาแกรม แพลตฟอร์มอ-ี มาร์เก็ตเพลส ไลน์ ทวิตเตอร์ และยูทูบ ตามลําดับ

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดช่องทางให้ประชาชนที่พบเบาะแส หรือปัญหาจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ สามารถร้องเรียน ขอคําปรึกษา หรือแจ้งเบาะแสเข้ามาได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ 1212 OCCผ่านช่องทาง ดังนี้ สายด่วนโทร. 1212 อีเมล์ 1212@mdes.go.thเว็บไซต์ 1212OCC.com เพจเฟซบุ๊ก : ข้อมูลข่าวสาร 1212 OCC และสํานักงานสถิติจังหวัดทั่วประเทศ อีกทั้งยังสามารถแจ้งได้ผ่าน กล่องข้อความของเพจอาสาจับตาออนไลน์ที่ https://m.facebook.com/DESMonitor/

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts