ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานเปิดงาน “U2T for BCG บทเรียนจากอดีตสู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” กิจกรรมภาคต่อโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่เป้าหมายภาคตะวันออกที่ อว.ลงพื้นที่จัดแสดงสินค้าออกสูตลาดผู้บริโภค ขยายโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ จนกระทั่งปัจจุบัน
ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ข้อดี ข้อเสีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงการและซุมชมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในอนาคตสำหรับงานเสวนาหัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี และตัวแทนผู้ประกอบการเข้าร่วมหารือ โดย อว. ผสานความร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator : UBI นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนจนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชนนำมาส่งเสริมและผลิตออกจำหน่าย ปัญหาที่พบบ่อยรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปต่อยอด จากนั้นนำชมผลงาน U2T for BCG ที่นำมาจัดแสดงมากมาย ทั้งสินค้าทางการเกษตร พืชผัก ผ้าไหม เครื่องจักสาน ตัวอย่างที่สินค้าที่ได้รับการ
พัฒนาแล้ว
เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย ดร.ดนุช ตันทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “ภายหลังจากที่เริ่มโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ ยกระดับโดยมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(System Integrator) การจ้างงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตาม ปัญหาและความต้องการของชุมชน การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดย
มหาวิทยาลัยเป็น System Integrator มีการจ้างงานประซาชนทั่วไป บัณฑิตใหม่ และนักศึกษา มีงานทำ และฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งการถอด บทเรียนครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นทั้งมุมมองที่ประสบความสำเร็จ และด้านที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นถิ่นก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการได้จัดเสวนา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม สำหรับปีงบประมาณ 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.)ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการด้าน BCGเพื่อให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ต่อไป
ผมหวังว่าการร่วมกันถอดบทเรียนภาพรวมผลการดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ จะเป็นการนำปัญหาและ อุปสรรคที่พบระหว่างการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานและพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของเครือข่าย อว. เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจ สังคม พร้อมขจัดปัญหาความยากจนในทุกพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างชีวิตใหม่ สร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และทำให้เกิดการสานต่อผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม