หลังประกาศยุทธศาสตร์ “เมด อิน ไชน่า 2025” หรือ MIC 2025 เมื่อปี 2017 จีนแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่ความทันสมัย ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดย 10 อุตสาหกรรมหลักที่ก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมไอที 2. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 3. การผลิตอุปกรณ์อากาศยาน 4. การผลิตอุปกรณ์วิศวกรรมทางสมุทรและการต่อเรือไฮเทค 5. การผลิตรถไฟและอุปกรณ์ขนส่งในระบบราง 6. การผลิตยานยนต์ที่ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานรูปแบบใหม่ 7. การผลิตอุปกรณ์พลังงาน (เช่น อุปกรณ์สายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ อุปกรณ์ประหยัดพลังงานสำหรับเมืองอัจฉริยะ ฯลฯ) 8. การผลิตวัสดุใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากงานวิจัย 9. การผลิตยาและอุปกรณ์การแพทย์ และ 10. การผลิตเครื่องมือการเกษตร
สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน นำพาจีนบรรลุเป้าหมายความทันสมัย พร้อมเดินหน้าอนุรักษ์ทรัพยากรโลก ส่งเสริมการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ควบคู่กับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรฐานสูง ย่างก้าวบนการเดินทางครั้งใหม่ของการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ในทุกด้าน ก้าวเดินไปพร้อมกับความรับผิดชอบด้านการควบคุมปริมาณและความเข้มข้นของการใช้พลังงาน โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์และก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน “จีนพยายามส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่วิธีการผลิตและวิถีชีวิตอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อมีส่วนส่งเสริมการร่วมสร้างโลกที่สะอาดและสวยงามยิ่งขึ้น พร้อมกับเร่งการเดินหน้าสร้างความทันสมัยที่มุ่งเน้นความกลมกลืนระหว่างมนุษยชาติและธรรมชาติเพื่อสร้างจีนที่สวยงามในทุกด้าน” เขากล่าว
สีจิ้นผิง ยังกระตุ้นเตือนสังคมทุกภาคส่วนส่งเสริมและเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามแนวคิด “น้ำใสและเขาเขียวเป็นสินทรัพย์อันประเมินค่ามิได้” อย่างจริงจัง พร้อมเรียกร้องความพยายามอันเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องจากทั่วทั้งสังคม เพื่อมีส่วนส่งเสริมการร่วมสร้างโลกที่สะอาดและสวยงามยิ่งขึ้น
ขณะที่ผู้ประกอบการจีนได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำระหว่างปี 2559-2565 จำนวน 178,000 ฉบับ คิดเป็น 31.9% ของทั้งหมดทั่วโลก ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระดับโลกด้านเทคโนโลยีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ โดยสำนักบริหารทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติจีน รายงานว่าจีนได้กลายเป็นผู้มีส่วนส่งเสริมรายสำคัญในการสร้างนวัตกรรมระดับโลกด้านเทคโนโลยีอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ
การประกาศมาตรฐานและปฏิญญาปักกิ่ง เป็นอีกหนึ่งตัวกำหนดหลักการร่วมขับเคลื่อนโลกเข้าสู่พลังงานสะอาด ด้วยการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และเป็นประโยชน์ต่อผู้คนทั่วโลก