ตามนโยบายของรัฐบาล โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ
พันธุ์เพ็ชร์ รักษาการราชการแทน ผบ.ตร. ให้เร่งรัดปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่หลอกลวงเหยื่อในรูปแบบต่างๆ ทำให้
ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินจากการถูกหลอกลวงไปเป็นจำนวนมาก จนเกิดความเสียหายกระจายไปทั่วประเทศ โดยให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสืบสวนเส้นทางการเงิน ตั้งแต่ระดับบัญชีม้า ไปจนถึงกลุ่มผู้ดูแลทางการเงิน และผู้รับ
ผลประโยชน์ เพื่อปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ได้ทั้งขบวนการ
วันศุกร์ที่ 29 มี.ค.67 เวลา ณ สภ.ฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดย พล.ต.ท.ธัชชัย ปิ
ตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผบช.ภ.8,
พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.วรา เวชชาภินันต์ รอง ผบช.ภ.8, พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย
ผบก.สอท.5, พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ เลี่ยมสงวน ผบก.สส.ภ.8, พล.ต.ต.สมชาย ซื่อต่อตระกูล ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช
ร่วมกับ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย นายสุริยน ประภาสะวัต อัยการพิเศษ ฝ่ายการสอบสวน 1, พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะ
สุนทร กรรมการ กสทช. (ด้านกฎหมาย), พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ,
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, จัดหางานจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าวกรณี
ตำรวจไซเบอร์ ทลายแหล่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
สืบเนื่องจาก บก.สอท.5 ได้รับข้อมูลจากสายลับ จึงได้ดำเนินการสืบสวนติดตามกลุ่มขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน
ที่ใช้พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานที่กระทำความผิดในการหลอกลวงเหยื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านการหลอก
ลงทุนเทรดหุ้น, การหลอกลวงซื้อขายสินค้า, การหลอกจองที่พัก, การหลอกโอนเงิน จนเกิดความเสียหายกระจายไปทั่ว
ประเทศ บช.สอท. จึงได้มอบหมายให้ บก.สอท.5 ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสืบสวนหาข่าวและ
รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำความผิดข้างต้น
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สอท.5 ได้ทำการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เกี่ยวกับขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน
จนได้พยานหลักฐานแน่ชัด เพื่อนำไปขอหมายค้นต่อศาลอาญา จำนวน 8 หมาย ในการเข้าดำเนินการตรวจค้น
4 จุดเป้าหมายสำคัญ คือ โรงแรม, อาคารพาณิชย์ จำนวน 3 คูหา, บ้านพักอาศัย จำนวน 3 หลัง และโรงงานจำหน่าย
สินค้าญี่ปุ่นมือ 2 ในพื้นที่ ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผบก.สอท.5 ได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด บก.สอท.5 ทำการสืบสวน
ขยายผลการจับกุมให้ถึงแหล่งที่ใช้เป็นสถานที่ในการกระทำความผิด เพื่อนำตัวมาดำเนินคดีและตรวจสอบขยายผล
ไปสู่กลุ่มขบวนการ/เครือข่าย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด จากการตรวจค้น พบกลุ่มคนจีน จำนวน
55 คน คนไทย จำนวน 35 คน รวม 90 คน, พบอุปกรณ์ขณะเข้าดำเนินการตรวจค้น หลายรายการ เช่น เครื่อง
คอมพิวเตอร์ จำนวน 228 เครื่อง, โทรศัพท์ จำนวน 1,037 เครื่อง และอุปกรณ์อื่น ๆ รวม 1,294 เครื่อง นอกจากนี้ยัง
พบซิมการ์ด จำนวน 521 ซิม, สมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 80 เล่ม อาวุธปืน และสินค้าหนีภาษีอีกจำนวนมาก
โดยเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2567 โดยการอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์
สุดสงวน รอง ผบช.สอท. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผบก.สอท.5 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด
บก.สอท.5 ร่วมบูรณาการกับ DSI, บก.สส.ภ.8, กสทช., สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, สพฐ.8, จัดหางานจังหวัด
นครศรีธรรมราช, เจ้าหน้าที่สถานทูตจีน, เจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมปฏิบัติการตรวจค้น
จำนวน 8 เป้าหมาย ดังนี้
จุดที่ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นโรงแรมแห่งหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช พบบุคคล
ชาวจีน จำนวน 11 คน คนไทย จำนวน 16 คน เครื่องคอมพิวเตอร์ 71 เครื่อง โทรศัพท์ 178 เครื่อง ไอแพด 4 เครื่อง
เราเตอร์ 5 เครื่อง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จุดที่ 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช พบคนไทย
1 คน อยู่ระหว่างการบรรจุสินค้าลงกล่องเพื่อส่งให้กับลูกค้า พบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่อง หนังสือเดินทาง 1
เล่ม เครื่องสำอางหนีภาษีจำนวนมาก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งนี้ ได้ดำเนินการควบคุมตัว
พร้อมของกลาง ส่ง พงส.สภ.ฉวาง เพื่อดำเนินคดีต่อไป
จุดที่ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช พบคนจีน
จำนวน 2 คน เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 57 เครื่อง โทรศัพท์ 26 เครื่อง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ
ความผิด
จุดที่ 4 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช พบคนจีน
จำนวน 2 คน คนไทย 7 คน เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 15 เครื่อง, โทรศัพท์ 8 เครื่อง, เราเตอร์ 4 เครื่อง, สมุดบัญชี
ธนาคาร 80 เล่ม, ซิมการ์ด 200 ซิม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จุดที่ 5 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ในหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
พบคนจีน จำนวน 1 คน คนไทย 11 คน เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 8 เครื่อง, โทรศัพท์ 21 เครื่อง, เราเตอร์ 5 เครื่อง,
สินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จุดที่ 6 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ในหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
พบคนจีน จำนวน 13 คน เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 24 เครื่อง, โทรศัพท์ 408 เครื่อง, อาวุธปืนยาว และบัตรเครดิต
จำนวนหนึ่ง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จุดที่ 7 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ในหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
พบคนจีน จำนวน 4 คน เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 9 เครื่อง, โทรศัพท์ 184 เครื่อง, เราเตอร์ 2 เครื่อง และอุปกรณ์อื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
ต่อมาได้ดำเนินการขยายผลจากจุดที่ 1 เข้าตรวจค้นจุดที่ 8 โกดังจำหน่ายสินค้าญี่ปุ่นมือ 2 แห่งหนึ่ง แยกนาโพธิ์
ในพื้นที่หมู่ที่ 7 อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช เบื้องต้นพบชาวจีน 9 คน และตามจับกุมผู้ที่หลบหนีเพิ่มเติมได้อีก 13 คน
รวม 22 คน และพบเครื่องคอมพิวเตอร์ 58 เครื่อง, โทรศัพท์ 44 เครื่อง, CPU 2 เครื่อง, ซิมการ์ด 185 ซิม, เราเตอร์ 6
เครื่อง, USB 2 อัน และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จากการตรวจค้น ทั้ง 8 จุด ได้ควบคุมตัวและดำเนินการจับกุม ชาวจีนที่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องหาว่า
กระทำความผิดฐาน อั้งยี่, พ.ร.บ.คนเข้าเมือง, พ.ร.บ.ศุลกากร และอยู่ระหว่างการขยายผล ทั้งนี้ ได้ตรวจยึดของกลาง
จำนวนกว่า 2,000 ชิ้น จึงนำตัวผู้ต้องหาและของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์, DSI, กสทช., บก.สส.ภ.8 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงอยากฝากเตือนประชาชนให้
ก้าวทัน 14 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์, โดยก่อนโอนเงินทุกครั้ง สามารถตรวจสอบบัญชีปลายทางได้ที่
www.checkgon.com, CHECK ก่อนเชื่อ คิดก่อนโอน และทราบแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ เพื่อ
เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน สังคม และสร้างฐานรากความมั่นคงให้กับประเทศต่อไป