วันพฤหัสบดี, กันยายน 19, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจยานยนต์“ซูบารุ” พลิกธุรกิจอากาศยาน สู่การสร้างสรรค์รถยนต์ 6 ดาว

Related Posts

“ซูบารุ” พลิกธุรกิจอากาศยาน สู่การสร้างสรรค์รถยนต์ 6 ดาว

เมื่อเร็วๆ นี้ มีกระแสข่าวว่า บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด เตรียมปิดโรงงานสายการผลิตในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดผู้บริหารซูบารุก็ออกมาเปิดเผยว่า ข่าวดังกล่าวเป็นความจริง โดยบริษัทเตรียมปิดโรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัท ตันจง ซูบารุ ออโตโมทีฟ ประเทศไทย จำกัด (TCSAT) ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ในสิ้นเดือน ธ.ค.67 นี้ ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีพนักงานราว 400 คน

@suebjarkkhao

“ซูบารุ” พลิกธุรกิจอากาศยาน

♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังทำตลาดรถยนต์ในเมืองไทยเหมือนเดิม เพียงแต่ปรับเปลี่ยนแผนการตลาด จากการขายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทย กลับไปเป็นการนำเข้ารถยนต์ทั้งคันมาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นธุรกิจที่บริษัทดำเนินการมาก่อนตั้งโรงงานในเมืองไทย เมื่อปี 2560 ลูกค้าจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องบริการหลังการขาย เนื่องจากซูบารุยังมีอยู่และดูแลลูกค้าชาวไทยเหมือนเดิม ด้วยมาตรฐานความพร้อมของอะไหล่

ซูบารุ เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2529 ในรูปแบบของรถยนต์นำเข้า จนกระทั่งช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 กลุ่มตันจง อินเตอร์เนชันแนล ร่วมลงทุนกับ ซูบารุ คอร์เปอร์เรชั่น ดำเนินการจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย

แต่ถ้าจะย้อนไปดูที่มาของ ซูบารุ ต้องย้อนกลับไปในปี 1915 หรือ พ.ศ. 2458 บริษัท นากาจิมา แอร์คราฟ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างอากาศยานให้กับกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาเกิดเหตุให้บริษัทต้องแตกตัวออกเป็นบริษัทย่อยๆ จำนวนมาก โดยมี 5 บริษัทรวมกลุ่มกันตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ ฟูจิ เฮฟวี่ อินดัสทรี หรือ FHI หันมาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ พัฒนารถยนต์รุ่นแรกภายใต้ชื่อ P-1 พร้อมกับการสรรหาชื่อแบรนด์ โดยมีการเสนอชื่อมากมาย จนมาลงตัวที่ชื่อ “ซุบารุ” ที่แปลว่า “กลุ่มดาวลูกไก่” พร้อมทั้งออกแบบโลโก้ให้เป็นดาว 6 ดวง ซึ่งหมายถึง 5 บริษัทที่มารวมกันเป็นบริษัทเดียวคือดาวดวงที่ 6 นั่นเอง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts