วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นจันทบุรี /สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดโครงการการจัดการทรัพยากรวังสวนบ้านแก้ว สู่การเรียนรู้และใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยแนวคิดการใช้ทรัพยากรสมุนไพรและภูมิปัญญา

Related Posts

จันทบุรี /สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดโครงการการจัดการทรัพยากรวังสวนบ้านแก้ว สู่การเรียนรู้และใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยแนวคิดการใช้ทรัพยากรสมุนไพรและภูมิปัญญา

นายธวัชชัย จันทกิจ นายกเทศมนตรีเมืองท่าช้าง เป็นประธานเปิดโครงการจัดการทรัพยากรวังสวนบ้านแก้ว สู่การเรียนรู้และใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา
ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยแนวคิดการใช้ทรัพยากรสมุนไพรและภูมิปัญญา เป็นแผนการพัฒนาท้องถิ่น ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นเข้มแข็งยั่งยืน ในมิติศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการร่วมกับ โครงการภายใต้หัวข้อ “เยาวชนสานรักษ์ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม โอบอ้อมสังคม“

โครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 14 ประจำปี 2567 ของสำนักงาน กปร. โดยนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ทีม GEN A จิตอาสเปลี่ยนแปลงชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ดำเนินโครงการ พลังความดีด้วยหัวใจ “โรคร้าย..พ่ายรัก(ษ์)” ซึ่งให้ความสนใจกับปัญหาโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นปัญหาโรคไม่ติดต่อ ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้น และในเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี โดยการรักษาผู้ป่วยสะเก็ดเงิน ด้วยความรู้
ภูมิปัญญา เป็นแพทย์ทางเลือก ที่ใช้สมุนไพรในการรักษา ซึ่งมีนายเฉลิมพล ศักดิ์คำ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ เปิดรับรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจากทั่วประเทศ และรักษาฟรี พร้อมดูแลคุณภาพชีวิตระหว่างการรักษา ให้กับผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน พบว่า ในแต่ละเดือนจะมีผู้มารับการรักษาประมาณ 100 คน และมีภาระค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่าใช้จ่ายด้านสมุนไพร ที่ต้องนำมาต้มอาบ ค่าอาหารดูแลผู้ป่วยที่นอนรักษาที่สวนพอเพียง วังปลารีสอร์ท

สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน จึงร่วมกับ นักศึกษาในนามทีม GEN A จิตอาสาเปลี่ยนแปลงชุมชน ในฐานะทีมเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ จึงได้จัดทำโครงการกิจกรรม พลังความดีด้วยหัวใจ “โรคร้าย..พ่ายรัก(ษ์)” ในครั้งนี้ขึ้น ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการจัดการทรัพยากรสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินในพื้นที่อย่างยั่งยืน และเพื่อจัดการข้อมูลการรักษาด้วยสมุนไพร และสร้างสรรค์สื่อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน สู่ศูนย์การเรียนรู้โรคสะเก็ดเงินเพื่อชุมชน และเพื่อสร้างนวัตกรรมการดูแลรักษาผู้ป่วยโปรคสะเก็ดเงิน ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และเพื่อสร้างกิจกรรมให้คนในสังคมได้ร่วมแบ่งปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts