วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
หน้าแรกคอลัมนิสต์วัชระ เพชรทองยุบโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ลดกำลังผลิตเหลือ 17%เอื้อกลุ่มทุนขายไฟฟ้าให้ กฟผ.วัชระถาม ปปช.ส่อทุจริตหรือไม่

Related Posts

ยุบโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ลดกำลังผลิตเหลือ 17%เอื้อกลุ่มทุนขายไฟฟ้าให้ กฟผ.วัชระถาม ปปช.ส่อทุจริตหรือไม่

“…วัชระ เผย ได้ส่งพยานหลักฐานการส่อทุจริตค่าไฟฟ้ามีราคาแพงสูงเกินจริงเพื่อประกอบการพิจารณาไต่สวนกับสำนักงาน ป.ป.ช. ขอให้ตั้งคณะไต่สวนกรณียุบโรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติที่ จ.สุราษฎร์ธานี ส่อทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไม่ แฉ มีพยานเอกสารของ สกฟ.มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ชี้แจงข้อเท็จจริงและคัดค้านการผลักภาระค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชน จำกัดการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.เปิดช่องทำสัญญาระยะยาวเอื้อกลุ่มทุนใหญ่ผลิตไฟฟ้าขายให้ กฟผ. หาผลประโยชน์กับการสำรองไฟฟ้า…”

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 นายวัชระ เพชรทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้ยื่นหนังสือถึงนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องขอให้ตั้งคณะไต่สวนกรณียุบโรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติที่ จ.สุราษฎร์ธานี ส่อทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไม่ และกรณีทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เหลือกำลังการผลิต 17% ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ม.56 ส่อทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่ และค่ากระแสไฟฟ้ามีราคาสูงประชาชนเดือดร้อนทุกครัวเรือนทั้งประเทศเป็นการส่อทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่

โดยตนได้ส่งพยานหลักฐานการส่อทุจริตค่าไฟฟ้ามีราคาแพงสูงเกินจริงเพื่อประกอบการพิจารณาไต่สวนกับสำนักงาน ป.ป.ช. ดังนี้

1.พยานเอกสารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สกฟ.) มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ชี้แจงข้อเท็จจริงและคัดค้านการผลักภาระค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยมีสาระสำคัญคือ ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามจำกัดการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขณะเดียวกันกลับเปิดช่องทางเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนกลุ่มทุนใหญ่เข้ามาทำการผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้กับ กฟผ. และปล่อยให้บริษัทเอกชนเหล่านี้เข้ามาหาผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ โดยการทำสัญญาระยะยาวผูกขาดการขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. หาผลประโยชน์กับการสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin) มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐที่มีการสำรองไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็นอยู่ที่ระดับ 35-50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ

ในรอบสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลกลับพยายามจำกัดการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขณะเดียวกันกลับเปิดช่องทางให้บริษัทเอกชนกลุ่มทุนใหญ่เข้ามาทำการผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้กับ กฟผ. และปล่อยให้บริษัทเอกชนเหล่านี้เข้ามาหากินหาประโยชน์จากนโยบายของรัฐ โดยการทำสัญญาระยะยาวผูกขาดการขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. หากินกับการสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin) แม้ กฟผ. ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย (ต้นทุน) เท่ากับยินยอมให้บริษัทเอกชนหรือกลุ่มทุนใหญ่เข้ามาขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐที่มีการสำรองไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็นอยู่ที่ระดับ 35-50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ขณะที่อัตราการสำรองไฟฟ้าตามเกณฑ์เดิมอยู่ที่ 15% การสำรองไฟฟ้ายิ่งสูงมากจะกลายเป็นต้นทุนแฝงที่เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชน ดังนั้น การเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนใหญ่ จึงถือเป็นการทุจริตเชิงนโยบายที่ประชาชนทุกข์ทนกับภาระต้นทุนที่ต้องแบกรับสูงขึ้น ตลอดนับสิบปีที่ผ่านมาปรากฏ

ทั้งนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้ามีราคาแพงสูงเกินจริง เอกสารที่ตนส่ง จึงยืนยันว่ากระทรวงพลังงานมีการถอดแผนการสร้างโรงไฟฟ้า 1,400 เมกะวัตต์ออกจากแผน PDP 2018 จริง อันจะส่งผลให้โรงไฟฟ้าที่จะสร้าง 1,400 เมกะวัตต์ ที่สุราษฎร์ธานีหายไป ภาคใต้ขาดความมั่นคงทางไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นเนื่องจากเอกชนจะได้ผลิตแทน กฟผ.

ตนจึงขอร้องทุกข์กล่าวโทษ นายประเสริฐ สินสุดประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงานกับพวกปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตามมาตรา 157 และหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่

2.พยานบุคคล 3 ปาก ได้แก่
2.1 นายธรรมยุทธ สุทธิวิชา อดีตประธานสหภาพแรงงาน กฟผ.(สร.กฟผ.)
2.2 ผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.)
2.3 ผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สภฟ.)

ดังนั้นจึงขอให้สำนักงาน ป.ป.ช. เร่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีค่าไฟฟ้าแพงในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือไม่…นายวัชระกล่าวทิ้งท้าย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts