วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นดราม่า แรงงานไทย- เวียดนาม ถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติเบี้ยวค่าแรง กว่า 8 พันชีวิต

Related Posts

ดราม่า แรงงานไทย- เวียดนาม ถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติเบี้ยวค่าแรง กว่า 8 พันชีวิต

น้ำตาแรงงานไทย หลังถูกเบี้ยวค่าแรง ทนทำงานต่อ หวังได้เงินที่ค้างคืน บางรายยอมเป็นหนี้ นอกระบบ เพื่อนำเงินมาประทังชีวิต ดูแลครอบครัว ขณะที่นายจ้างเป็นบริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของวงการ ไม่ยอมจ่ายเงิน อ้างขาดสภาพคล่อง

จากกรณีกลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนหนึ่งได้รวมตัวชุมนุมบริเวณริมถนนสุขุมวิท หน้าโรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เนื่องจากไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้รับเหมาตามกำหนด จากการสอบถามของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) เข้าใจว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานดังกล่าวเป็นพนักงานชาวไทยและเวียดนาม ของ บริษัท วัน เทิร์น เท็น จำกัด (One Turn Ten)บริษัท เอ็มโก้ แอลทีดี (ไทยแลนด์) จำกัด (EMCO) และ บริษัท ไทยฟง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (Thai Fong)

ซึ่งทั้ง 3 บริษัทเป็นนายจ้างและเป็นผู้รับเหมาช่วงอีกทอดหนึ่งของ บริษัท ซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (Sinopec) ที่เป็นผู้รับเหมาช่วงของกิจการร่วมค้า UJV: Unincorporated Joint Venture of Petrofac South East Asia Pte. Ltd.(“Petrofac”), Saipem Singapore Pte. Ltd.(“Saipem”) และ Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd. (ชื่อเดิมSamsung Engineering (Thailand) Co., Ltd.)(“Samsung”) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาหลักในการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ให้กับ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

โดยนายประนมพร มาตรสมบัติ พนักงานบริษัทไทฟง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เล่าว่าตนเองเป็นชาวสกลนคร มาหางานที่จังหวัดชลบุรี โดยก่อนหน้าที่เคยทำงาน อยู่ บริษัท scc มาก่อน และย้ายทำบริษัทไทฟง ซึ่งเป็นบริษัทซับคอนเทรค ของบริษัทซัมชุง ที่ได้งานก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด ของบริษัทไทยออยล์ ไม่ได้รับเงินค่าแรงงานมานาน 2 เดือน ส่วนเพื่อนแรงงานชาวเวียดนาม ไม่ได้รับค่าแรงมา 6 เดือนแล้ว ขณะนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะไม่ต้องดูครอบครัวด้วย เงินที่มีใช้อยู่ทุกวันนี้ ต้องโทรไปขอเงินพ่อมามาใช้ก่อน เพราะคิดว่า บริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้

สำหรับปัญหาค่าแรงงานจ่ายล่าช้า มีมาตั้งแต่เดือน มีนาคม 67 แล้ว หลังจากนั้นก็มีการทยอยจ่าย ตนเองก็ต้องทนทำ เพราะมีภาระและอยากได้เงินที่ค้างคืน จนล่าสุดบริษัทฯ ไม่จ่ายเลย เมื่อมีการสอบถามไป ก็ได้รับคำตอบว่าไม่มีเงินจ่าย พวกเราจึงต้องมารวมตัวประท้วง เพราะอยากได้เงินค่าเงินค่าแรงของตนเอง พวกเราทำงานก็ต้องได้เงิน เขาก็ได้งานไปแล้ว และทราบว่าบริษัทไทยออยล์ได้จ่ายเงินค่างวดงานให้บริษัทฯ ไปหมดแล้ว แต่ทำไมบริษัทฯ ถึงไม่จ่ายเงินเรา ทั้งที่เป็นบริษัทใหญ่โต มีชื่อเสียง จึงขอวอนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ

นางสาวจิตรลัดดา หมอนทอง เป็นพนักงานของบริษัท วัน เทิร์น เท็น จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงอีกทอดหนึ่งของ บริษัทซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงของกิจการร่วมค้า UJV เผยว่า บริษัทค้างจ่ายค่าแรง เดือนที่ 2 แล้ว โดยที่ผ่านมา เลื่อนจ่ายเป็นงวดมาตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อมีการท้วงถามบริษัทแจ้วว่าไม่มีเงิน

ล่าสุดที่ค้างจ่ายคือของเดือนมิถุนายน กรกฎาคม ขณะนี้เดือนร้อนหนักมาก จึงมาเรียกร้องสิทธิของตัวเอง อยากได้เงินค่าแรง ซึ่งมีผลกระทบการใช้ชีวิต ซึ่งตนเอง ต้องมีค่าใช้จ่ายประจำเดือนทุกเดือน คือ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ และต้องเลี้ยงดูลูกๆ อีก ล่าสุดต้องเอาทองไปจำนำ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายไปก่อน ในระหว่างรอเงินที่ค้างจ่าย เราจะปักหลักประท้วงจนกว่าจะได้เงินคืน

ด้านนางสาวดารณี ธรรมนู 27 ปี เป็นพนักงานของบริษัทสามพล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้รับเหมาช่วงอีกทอดหนึ่งของ บริษัทซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ทำงานมา 2-3 ปี ได้ไม่เงินเดือนมา 2 เดือน โดยตนเองได้ค่าแรงวันละ 450 บาท ที่ต้องออกประท้วง ในครั้งนี้ คือไม่ไหวแล้ว เดือดร้อนมาก ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าห้อง เดือน 2,500 บาท ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหารการกิน และ ตอนนี้ ลูกก็ไม่สบาย ไม่มีเงินค่ารักษา และใช้จ่ายภายในบ้าน เพราะทำงานแต่ไม่ได้เงินมันช้ำใจมาก ล่าสุดต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้ ก่อนเพื่อรอ เงินเดือน ดอกเบี้ย ร้อยละ 20 บาท ซึ่งแพงเราก้อต้องยอมเพราะไม่มีเงินใช้แล้ว อยากให้นายจ้างเห็นเห็นใจ พวกพนักงานชั้นล่า ที่ต้องอยู่กันอย่างลำบาก

เช็คสิทธิและศึกษา ก่อนทำงาน
ด้านนายประสิทธิ์ ปาตังคะโร สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ให้ความรู้ เกี่ยวกับการเข้าทำงาน เพื่อป้องการรักษาสิทธิของตนเอง ป้องกันปัญหาการเอาเปรียบ จากนายจ้าง ซึ่งๆ จริงแล้ว การทำงานเราไม่สามารถจะรู้ว่าในอนาคตจะต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง แต่เมื่อเจอแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป ในกรณี ที่ทำงานแล้วไม่ได้ค่าจ้างหรือถูกเลิกจ้าง โดยที่ไม่มีความผิด กระบวนการแก้ปัญหาคือจะต้องยื่นคำร้อง ทร 7 ในท้องที่เกิดเหตุ จังหวัดนั้นๆ

เจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และดำเนินการให้นายจ้างปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติ เช่นกรณี ที่มีการวินิจฉัยแล้วให้นายจ้างต้องจ่าย แล้วนายจ้างไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง นายจ้างก็ไปฟ้องเพิกถอนกับศาลแรงงาน แต่ถ้านายจ้างรับคำสั่งแล้ว ไม่จ่ายเงิน พนักงานตรวจแรงงานก็จะดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง ลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องแพ่งต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งบังคับจ่าย ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เราไม่สามารถคาดเดาได้ในระหว่างการทำงานว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่หรือไม่เกิดขึ้น ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่เมื่อเกิดแล้วมันก็จะมีกระบวนการ

พนักงานคุ้มครองแรงงานจังหวัดจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ตัวลูกจ้างเอง ก็ต้องรักษาสิทธิของตัวเอง ด้วย เช่นในเรื่องของ สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิอื่นๆ ของตนเองตามกฎหมาย อย่างแรกที่ควรศึกษาคือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าตอนนี้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่าไหร่ ในพื้นที่นั้นๆ การจ่ายโอทีเวลาทำงาน ในวันหยุด อะไรต่างๆ คนทำงานควรศึกษาสิทธิของตนเองให้ครบถ้วนตามกฎหมายก่อน เมื่อไปทำงานที่ไหนก็ตรวจสอบได้ เมื่อไปทำงานแล้วไม่ได้รับสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดก็สามารถแจ้งสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดได้

ส่วนกรณีของพนักงานลูกจ้างที่กำลังมีปัญหาอยู่ในในขณะนี้ ลูกจ้างก็สามารถลงชื่อยื่นคำร้อง ที่สำนักงานฯเพื่อเรียกร้องตามกระบวนการของกฎหมายได้ตามสิทธิของตนเอง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts