วันที่ 22 กันยายน 2567 มีพิธี “เปิดศูนย์เรียนรู้ และ ธนาคารจุลินทรีย์“ ชุมชน ณ สวนป้านุลุงไก่ เกษตรอินทรีย์ ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ได้รับเกียรติจาก นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง มอบหมาย นายกิตติ แต่งผิว เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง มาเป็นประธานเปิดงาน ฯ และ ได้รับเกียรติ จาก นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง ให้เกียรติร่วมเปิดงานและปาฐกถานำเสนอข้อมูลด้านการจัดการขยะและเสนอแนะแนวทางต่อภาคประชาชน กิจกรรมครั้งนี้ยังมี เจ้าหน้าที่จาก ทสจ. ระยอง ผู้แทนจาก กองสาธารณสุข อบจ.ระยอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบล ในอำเภอบ้านฉาง ผู้แทนนายอำเภอบ้านฉาง ปลัดอำเภอบ้านฉาง เกษตรอำเภอบ้านฉาง เข้าร่วมกิจกรรมหลายองค์กร ฯ และมีประชาชน ต.สำนักท้อน ฯ และ ทสม. ในอำเภอบ้านฉางและ นิคมพัฒนา กลุ่มประมงเรือเล็ก ฯ หาดสุชาดา รวมทั้งองค์กรภาคเอกชน หลายแห่ง เข้าร่วม กว่า 100 คน
กิจกรรมครั้งนี้เป็นการโครงการฯ(คลิกออฟ ) ซึ่งได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจาก กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) และ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 ) บริษัทมีขวัญ พาวเวอร์ จำกัด และ บริษัท พราวฟ้า พาวเวอร์ จำกัด (โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมปลวกแดง ) ห้างโรบินสันไลฟ์ไสตล์ (บ้านฉาง ) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จ.ระยอง / ทสม. อ.นิคมพัฒนาฯ / บริษัทนิพนธ์ระยองรีไซเคิล / บริษัท RD& T สื่อซูมระยอง (Zoom Rayong) ชมรมช่างภาพสื่อมวลชน จ.ระยอง สื่อ Khaoded 77 และ สื่อ Social Rayong และ กลุ่มเกษตร Yong Smart Famer บ้านฉาง และ ประชาชน ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เป็นต้น
สำหรับ ที่มาของ เปิดศูนย์เรียนรู้ และ ธนาคารจุลินทรีย์ สืบเนื่องจาก นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายปิยะปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง และองค์กรท้องถิ่นในจังหวัดระยอง มีนโยบายและแนวทางในการจัดการขยะเศษอาหารจากครัวเรือน ซึ่งมีในแต่ละวันจำนวนมากเป็นปัญหาของเมืองระยอง ซึ่งได้ดำเนินการแก้ปัญหาให้ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน ครัวเรือน และวิธีการจัดเก็บและจัดการของภาคประชาชน
ซึ่ง เป็นที่มาของ การรวมตัวของ นักวิชาการในพื้นที่ อ.บ้านฉาง นำโดย ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ จับมือกับสื่อ ซูมระยอง (Zoom Rayong) นำโดยนายจรัญ จันทร์มณี (ซึ่งเป็น ทสม.ด้านสิ่งแวดล้อม จ.ระยอง ) และได้ประสานงานภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าร่วมขับเคลื่อน ได้ความร่วมมือ จาก กลุ่มบริษัท กัลฟ์ (Gulf ) และ Gulf MTP โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมสนับสนุน ซึ่งมีการตอบรับทั้งนี้เพราะ Gulf มีนโยบายด้านกิจการความรับผิดชอบต่อสังคม ( CSR ) ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู รักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด การนำโดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัทกัลฟ์ (Gulf) (อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ) ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ด้าน ฐานชีวภาพ และ นวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms) มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (องค์กรผู้เชี่ยวชาญ ด้านนวัตกรรมจุลินทรีย์ กว่า 40 ปี) ซึ่ง เมื่อปี 2565 มาถึงปัจจุบัน ดร.กฤษณ์ ได้นำความรู้นี้มาส่งเสริมในระยอง “จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ ฯ” ที่ กลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา เทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยนำวิธีการเปลี่ยนเศษอาหาร เศษปลา ก้างปลา ผ่านกรรมวิธีชีวภาพ เป็น ฮอล์โมนปลาหมัก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ จุลินทรีย์ก้อน (EM Ball)
ในการฟื้นฟูป่าชายเลนและชุมชนเกิดผลสำเร็จอย่างน่าทึ่งอัตรการรอดกว่า 90 % เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างอาชีพรายได้แก่ชุมชนด้วย จึงนำฐานความรู้นี้มาจัดโครงการจัดการขยะภาคชุมชน จึงได้นำมาสู่ การพัฒนาโครงการร่วมกันของภาควิชากร ภาคสื่อภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อรณรงค์การแยกขยะ และจัดการขยะด้วยฐานชีวภาพ ฯ จัดตั้งโครงการ “ระยองไม่เทรวม“ เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์พัฒนาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชน และเริ่มต้นจัดตั้ง ”เปิดศูนย์เรียนรู้ และ ธนาคารจุลินทรีย์“ ขึ้นเพื่อขับเคลื่อนงานแก้ปัญหาการจัดการขยะระดับครัวเรือน ชุมชน และร่วมกับ องค์กรท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับนโยบายจังหวัด อบจ. และท้องถิ่น และ แสวงหาความร่วมมือของภาคส่วนทางสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ภาคCSR และภาคชุมชนต่างๆ ต่อไป
นอกจากนั้นหากโครงการฯดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะสามารถขับเคลื่อนภาคชุมชน ภาคส่วนในสังคม เชื่อมประสานกับภาคราชการท้องถิ่นจะมีพลังขับเคลื่อน ในการแยกขยะอินทรีย์ เปลี่ยนเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ป่าไม้ ดิน น้ำ ภาคเกษตร ปศุสัตว์ ครัวเรือน สิ่งแวดล้อม ให้กลายเป็น “เมืองจุลินทรีย์“ ที่สิ่งแวดล้อมดีและยั่งยืนต่อไป