วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกภูมิภาคแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน ด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย สสส.ร่วมเสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็ก เชื่อพัฒนาความรู้ต้องคู่ดูแลจิตใจ งานจึงจะมีประสิทธิภาพ

Related Posts

แถลงข่าวเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน ด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย สสส.ร่วมเสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็ก เชื่อพัฒนาความรู้ต้องคู่ดูแลจิตใจ งานจึงจะมีประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 กองบริหารการสาธารณสุข ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก (FACE Foundation – Fight Against Child Exploitation) จัดทำโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุข และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนารูปแบบของการให้ความรู้การฝึกทักษะ ผ่านรูปแบบบทความและสื่อชนิดต่างๆ รวมถึงการอบรมระยะสั้น การตอบคําถาม และจัดระบบนัดหมายเพื่อพบกับที่ปรึกษาส่วนตัว ผ่านระบบออนไลน์ โดยกำหนดกิจกรรม
การแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ให้กับบุคลากรศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายทางสังคมต่างๆ
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ การปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายและละเลยทอดทิ้ง ในระยะเวลา 10 – 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลายฉบับ อาทิเช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการสืบพยานเด็ก พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยมุ่งเน้นการกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ดูแลเด็กในทุกระดับ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้รับการดูแลตามมาตรฐานขั้นต่ำที่เหมาะสมกับวัย โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่มีโอกาสพบเจอกลุ่มเด็กที่เข้ารับความช่วยเหลือจากการถูกทำร้ายและละเลยทอดทิ้ง ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานคุ้มครองเด็ก ดังนั้น โครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย จึงเป็นช่องทางเพื่อให้บุคลากรผู้รับผิดชอบงานศูนย์พึ่งได้ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายทางสังคม ได้มีองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งมีความเข้าใจ ในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็กและสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานทางด้านอารมณ์จิตใจในการปฏิบัติงาน ปัญหาความเครียด ความกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การทำงานด้านการคุ้มครองเด็กมีความซับซ้อนและส่งผลกระทบทั้งทางกายและจิตต่อผู้ปฏิบัติงาน สสส. เห็นว่าการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กควรเน้น 1.การเฝ้าระวัง 2.ป้องกัน 3.การช่วยเหลือ 4.การฟื้นฟูเยียวยาเด็ก แต่สิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ ทรัพยากรบุคคลคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข คือกำลังใจสำคัญ ในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรง สสส.จึงสนับสนุน 1.การพัฒนาศักยภาพ 2.องค์ความรู้ 3.ตลอดจนสร้างกำลังใจ ให้ผู้ปฏิบัติงาน โดย สสส. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก พร้อมสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และเครือข่าย รวมถึงการทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถคัดกรอง ส่งต่อและร่วมมือในการดูแลเยียวยาปัญหาทางกายและทางจิตใจผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงในเบื้องต้นได้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
“สสส. ให้ความสำคัญกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ว่าควรได้รับการดูแลสนับสนุนทางด้านอารมณ์จิตใจ รวมถึงการจัดการความเครียด ความกังวล และปัญหาสุขภาพจิต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว จึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทั้งความรู้ ทักษะ และรูปแบบการทำงานกับเครือข่าย เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนา เสริมสร้างความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่ทัศนคติ ความรู้รวมถึงทักษะในการทำงานเชิงลึกกับเด็กและเยาวชนร่วมด้วย” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts