วันศุกร์, กรกฎาคม 18, 2025
หน้าแรกการเมือง300 ล้านสูญเปล่า! ระบบบัญชีรถไฟล่ม ใช้ไม่ได้จริง – ปมเส้นสายลึกลับ เอกชนโยนกลับคนรถไฟห่วยเอง

Related Posts

300 ล้านสูญเปล่า! ระบบบัญชีรถไฟล่ม ใช้ไม่ได้จริง – ปมเส้นสายลึกลับ เอกชนโยนกลับคนรถไฟห่วยเอง

การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ตั้งความหวังพาระบบการเงิน-บัญชีเข้าสู่ยุคดิจิทัล จ่าย 301 ล้านบาทจ้างบริษัทเอกชนไอทีพัฒนา “FMIS” ระบบบริหารการเงินรูปแบบใหม่ ใช้เวลากว่า 4 ปี แต่สุดท้ายระบบกลับใช้งานจริงไม่ได้ ปั่นป่วนทั้งการเบิกงบ-จัดซื้อจัดจ้าง ขณะบริษัทผู้พัฒนาโยนความผิดกลับ ชี้เจ้าหน้าที่รถไฟไม่มีความสามารถใช้ระบบเอง! สังคมตั้งคำถาม งานนี้ใครได้อะไร? และ “ถุงขนม” หนักหลายสิบกิโลตกอยู่ระหว่างทางจริงหรือไม่

รู้เลย!ทำไมรถไฟไทยถึงพัฒนาไม่ไปไหน จ้างเอกชนพัฒนาระบบการเงินบัญชีร่วม 4 ปี สูญกว่า 300 ล้าน กลับใช้งานไม่ได้

คนรถไฟสุดเซ็ง จ้างวริษัทเอกชนพัฒนาระบบบัญชีการเงินตั้ง 4 ปี สูญไปกว่า 300 ล้าน สุดท้ายเหลวยังใช้งานไม่ได้ เอกชนโยนกลองทำครบถ้วนตามสัญญา ชี้คนรถไฟห่วยแตกเอง!

คนรถไฟสุดเซ็ง จ้างเอกชนห้องแถวพัฒนาระบบการเงินและบัญชีร่วม 4 ปี หมดเงินไป 301 ล้านบาท สุดท้ายส่อเหลวยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้จริง ทำระบบจัดซื้อจัดจ้างภายในรถไฟปั่นป่วน โดยแหล่งข่าวในการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แฉเรื่องสุดฉาวในการรถไฟฯว่า อ้าง การรถไฟฯได้จ้างเอกชนดำเนินโครงการพัฒนาระบบการเงินและบัญชี Financial Management Information System : FMIS วงเงินกว่า 300 ล้าน บาท หวังเข้าสู่ยุคไฮเทคตามหน่วยงานอื่น โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ 25 กันยายน 2563-24กันยายน 2567

โดยระบบดังกล่าว การรถไฟได้ติดตั้งใช้งานกับระบบการเงินและบัญชีของหลายหน่วยงานภายในรถไฟ อาทิ ระบบงบประมาณ ระบบงานด้านรายจ่ายและเงินยืมทดลอง ระบบรายได้สำหรับสถานีนำร่อง 12 แห่ง ระบบคลังพัสดุ ระบบบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ ระบบบัญชีทรัพย์สินถาวร และระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ ภายในการรถไฟ

อย่างไรก็ตาม ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสัญญาจ้าง บริษัทเอกชนผู้พัฒนาระบบได้จัดประชุมร่วมกับคณะกรรมการกำกับดูแล PMO เพื่อแจ้งถึงกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างและจัดประชุมเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ที่จะเป็นผู้ใช้งาน รวมถึงกำหนดการใช้งานจริง แต่เมื่อเริ่มใช้งานจริง กลับปรากฏว่าได้เกิดปัญหาขึ้นหลายกรณี

เมื่อถึงกำหนดการใช้จริงกลับปรากฏว่า ระบบมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้จริง เป็นเหตุทำให้งบประมาณตกเบิกได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า จึงทำให้การรถไฟฯ ยังคงไม่ดำเนินการตรวจรับงาน และเบิกจ่ายให้ผู้ประกอบการ และเปิดใช้งานจริง และได้เรียกผู้รับจ้างพัฒนาระบบเข้าประชุมชี้แจงแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

โดยบริษัทอ้างว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการตามสัญญาครบถ้วนแล้ว แต่การรถไฟยังไม่ได้มีการตรวจรับงาน ทำให้บริษัทเงินไม่สามารถจะแบกรับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากผู้ปฏิบัติงานรถไฟเองยังไม่เข้าใจระบบ เพราะประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับการสั่งการต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้บันทึกข้อมูล บริษัทเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือสนับสนุนการใช้งานเท่านั้น พร้อมกับแจ้งว่าปัญหาที่เกิด เกิดจากการรถไฟฯเองไม่ได้ดำเนินการเช่าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินการติดตั้งให้กับสถานีต่างๆทั่วประเทศ รวมทั้งยังไม่มีการต่ออายุสิทธิ์ Oracle สำหรับการใช้งานระบบ FMIS ที่หมดอายุ จึงทำให้ไม่สามารถ Run งานได้เต็มประสิทธิภาพ

ล่าสุดทางบริษัทเอกชนผู้พัฒนาระบบยังมีหนังสือแจ้งไปยังรถไฟจะดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนการดูแลระบบ FMIS ไปจนถึง 30 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาเท่านั้น จนกว่าการรถไฟฯจะได้ข้อยุติเรื่องการขยายเวลาและงดเว้นค่าปรับ รวมทั้งดำเนินการตรวจรับงานตามกำหนด เพื่อนำระบบดังกล่าวส่งออกใช้งานจริง หลังจากนั้นจนถึงขณะนี้ผ่านมากว่า 6 เดือนเข้าไปแล้ว ระบบFMIS ของรถไฟยังคงมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้จริงทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเกิดความสับสน ต้องใช้ระบบเดิมควบคู่และมีปัญหาในการจัดซื้อจ้างจ้าง การบริหารระบบคลังพัสดุ บัญญชีการเงิน และรายรับรายจ่ายโดยที่ยังไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ เจ้าหน้าที่ทุกๆฝ่ายบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่อยากได้เอกชนรายนี้มาทำงานแต่ทัดทานเส้นสายผู้ใหญ่ระดับสูงในรถไฟไม่ไหว

เป็นที่กล่าวขานว่าโครงการนี้มีการตั้งงบประมาณสูงเวอร์ เมื่อเทียบกับผลงานที่ออกมา เพราะระดับราคาค่างวดการจ้างทำระบบบัญชีสูง 301 ล้านบาท ซึ่งในอดีตการรถไฟฯเคยจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการบัญชีระดับบิ๊กโฟว์ เช่น PWC, EY, Deloitte KPMG มาทำ แต่คราวนี้กลับไปจ้างบริษัทไอทีห้องแถวมาทำที่มีคนทำงานเพียงไม่กี่คนแถมยังมาใช้คนในรถไฟทำงานให้อีกต่างหาก สรุปงานใครกันแน่ชักเริ่มน่าสงสัย เหตุเพราะบริษัทบิ๊กโฟว์เค้าไม่สามารถทำถุงขนมตกในหน่วยงานได้ เพราะเค้ามีระบบ compliance ในบริษัทเค้าจึงเป็นเหตุไม่ได้รับงาน

นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า มีการลักไก่แอบให้บริษัทเอกชนไอทีใช้สถานที่การรถไฟ มีออฟฟิศส่วนตัวห้องทำงานใช้น้ำใช้ไฟของหลวงโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆให้กับหน่วยงาน ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขสัญญาว่าสามารถใช้สถานที่ของการรถไฟได้ฟรีๆ มิทราบว่าเหตุใดการรถไฟฯถึงหลับหูหลับตาปล่อยปะละเลยเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายนี้ได้ถึงเพียงนี้ ตามลำพังแค่เสียบปลั๊กชารจ์มือถือส่วนตัวใช้ไฟหลวงก็ผิดแล้ว นี้ถึงขนาดมีออฟฟิศส่วนตัวตั้งอยู่ในหน่วยงานหากไม่เส้นใหญ่จริงๆ คงทำกันเช่นนี้ไม่ได้ ว่ากันว่างานนี้มีถุงขนมหนักหลายสิบกิโลตกอยู่ระหว่างทางในการรถไฟฯหรือไม่ คงต้องฝากไปยังหน่วยงานตรวจสอบ ทั้งป.ป.ช.และสตง.เข้ามาตรวจสอบถึงความไม่ชอบมาพากลของโครงการนี้และบริษัทเอกชนขาใหญ่ไอทีห้องแถวรายดังกล่าวด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts