“…เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 14 มิ.ย. ที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม. ผู้เสียหายจากการเล่นแชร์วง “มะปราง” จำนวน 20 กว่าคน นำโดย น.ส.กวาง ขนิษฐา (สงวนนามสกุล) อายุ 30 ปี…”
[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]
เดินทางเข้าพบ พนักงานสอบสวน บก.ปอศ. แจ้งความดำเนินคดีกับ น.ส.วราภรณ์(สงวนนามสกุล) และ นายบัญชา(สงวนนามสกุล) สองสามีภรรยา ท้าวแชร์ ที่ตั้งวงแชร์แล้วชักชวนเพื่อนๆ คนรู้จักสมัครเป็นลูกแชร์ เมื่อท้าวแชร์ได้เงินต้นแล้ว บรรดาลูกแชร์เปียแชร์ได้แต่กลับไม่ยอมส่งเงินกองกลางให้ โดยท้าวแชร์รายนี้มีการตั้งวงแชร์หลักหมื่นถึงหลักแสนบาทหลายวง เช่น วงโดนัท จำนวน 70,000 บาท วงครัวซอง 30,000 บาท วงนกฮูก 1 แสนบาท
ผู้เสียหายเปิดเผยว่า พวกตนรู้จัก น.ส.วราภรณ์ ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาหลายปี มีความน่าเชื่อถือในการบริหารจัดการด้านการเงินเป็นที่เชื่อถือของเพื่อนๆ เปิดเล่นแชร์ โดยรับเป็นท้าวแชร์หลายกลุ่ม ใช้ชื่อว่าแชร์”มะปราง”
มีการเล่นแชร์กันมานาน 4-5 ปี ไม่มีปัญหา เพิ่งมาเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา น.ส.วราภรณ์ และนายบัญชา ได้เปิดตั้งวงแชร์ใหม่ 3 วง สมาชิกรวมกัน 30 คน มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่า 3 แสนบาท ลูกแชร์ทุกรายได้ส่งเงินค่างวดแชร์ผ่านแอปฯ ธนาคารกสิกรไทย บัญชีชื่อวราภรณ์ และ บัญชีชื่อบัญชา โดยแชร์แต่ละมือแรกท้าวแชร์ได้เงินก้อนแรกไป
แต่เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมือรองๆ เปียได้ นางวราภรณ์กลับไม่ส่งเงินกองกลางให้ อ้างว่าหมุนเงินไม่ทัน ปฏิเสธการจ่าย ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย จนมือสุดท้ายก็ไม่มีใครได้รับเงินทั้งต้นและดอก น่าจะมีสาเหตุมาจากการใช้เงินเกินตัวทั้งเรื่องบ้านและรถยนต์ และบริหารจัดการไม่ลงตัว ก่อนประกาศยุบวงแชร์ เมื่อ 1 มี.ค. เราไม่ไหว เดี๋ยวจะทยอยคืนเงินให้แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครได้รับ
ผู้เสียหายรายหนึ่งที่ยอดเงิน 2ล้านบาทก็จ้างทนายฟ้องร้องเอง แต่ส่วนใหญ่จะทยอยไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.บางบัวทอง และ สภ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เพื่อดำเนินคดีกับ นางวราภรณ์และสามีที่เป็นเท้าแชร์ ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2543 แต่ระยะเวลาผ่านมาร่วม 3 เดือน กลับไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด วันนี้แต่ละคนเดือดเนื้อร้อนใจ จึงนัดรวมตัวกันมาแจ้งความ บก.ปอศ.คาดหวังว่าจะช่วยคดีได้เร็วขึ้น
ภายหลังพบพนักงานสอบสวน บก.ปอศ.ผู้เสียหายพากันผิดหวังไม่เป็นอย่างที่คิด ได้รับคำชี้แจงจากพนักงานสอบสวน ว่าวงเงินที่ผู้เสียหายรวบรวมมายังไม่ถึง 5 ล้านบาท ก่อนจะแนะนำผู้เสียหายให้เข้าไปแจ้งความออนไลน์ thaipoliceonline.com เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับท้าวแชร์แสบรายนี้ รวมทั้งจำนวนผู้เสียหาย และมูลค่าความเสียหาย เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนอีกที
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม…สาระสำคัญพระราชบัญญัติ การเล่นแชร์ พ.ศ.2543 ที่กำหนดเอาไว้ว่า หากจะเล่นแชร์ต้องทำตามเงื่อนไข ดังนี้
•ห้ามเป็นนายวงแชร์หรือท้าวแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง
•มีจำนวนสมาชิกในวงแชร์ทุกวงรวมกันไม่เกิน 30 คน
•มีเงินทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันไม่เกิน 300,000 บาท
•นายแชร์หรือท้าวแชร์ ห้ามโฆษณาเชิญชวนหรือโพสต์ข้อความชวนให้เล่นแชร์ โทษปรับหากฝ่าฝืน กฎหมายแชร์
นายวงแชร์ หรือลูกแชร์ฝ่าฝืน
ซึ่งการต้องโทษคือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน
100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความเสี่ยงในการเล่นแชร์ คือการที่ท้าวแชร์ไม่จ่าย หรือท้าวแชร์หนี ทำให้เงินลงทุนหาย สามารถแจ้งความได้ หากท้าวแชร์หนีไป โดย
สามารถแบ่งออก ได้ดังนี้
แชร์ล้ม เปียเงินไม่ได้ ท้าวแชร์ไม่ได้หนี แต่ท้าวแชร์ไม่ได้จ่าย ด้วยเหตุผลที่ว่าหมุนเงินไม่ได้แล้ว ลูกแชร์สามารถหาทนายความเพื่อ
ฟ้องร้องท้าวแชร์เพื่อขอเงินคืนได้เพราะเป็นคดีความอาญา โดยให้ลูกแชร์คนอื่นๆ เป็นพยานได้
เพราะในการเล่นแชร์ตอนแรกไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้เพราะว่าไว้ใจกัน ท้าวแชร์หนี ระวังติดคุก ท้าวแชร์หนีตั้งแต่เปียแชร์ได้มือแรก ถือว่าเข้าข่ายหลอก
ลวงให้มีผู้ลงทุนจำนวนมาก แล้วนำเงินหนีไปตั้งแต่สามารถแจ้งความกับเจ้าหน้าที่เป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงได้