วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการเงินคืนเงินนักลงทุนเมื่อไหร่ เอาให้ชัด.. แผลใหญ่คริปโตฯ ไทยปี 65 สมัย รื่นวดี เลขาฯ ก.ล.ต.

Related Posts

คืนเงินนักลงทุนเมื่อไหร่ เอาให้ชัด.. แผลใหญ่คริปโตฯ ไทยปี 65 สมัย รื่นวดี เลขาฯ ก.ล.ต.

“….ความเสียหายกว่า 2 พันล้านบาท โทษปรับเพียง 2.6 ล้าน การลงโทษปรับ Zipmex Thailand เป็นจำนวนเงินที่น้อยมากจากสำนักงาน ก.ล.ต.สมัย รื่นวดี เป็นเลขาฯ ก.ล.ต.ทั้งที่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในหมู่นักลงทุนไทย มีหลายกระทงไล่ตั้งแต่ การหยุดให้บริการ การประวิงเวลาส่งข้อมูล และการนำสินทรัพย์ของนักลงทุนไปเผชิญความเสี่ยงจาก ZipUp+ ดังนั้นในแวดวงคริปโตฯ และตลาดทุนบางส่วนมองว่า เรื่องดังกล่าวน่าจะมีบทลงโทษที่รุนแรงหรือมากกว่านี้  หรือเพราะมีคนดังจาก 3 นามสกุลดัง “ยิ้มวิไล” “ลิ่มพงศ์พันธุ์” “เครืองาม” เป็นทีมที่ปรึกษา จำนวน 3 คน ล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือเกี่ยวข้องกับผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศ ประชาชนพร้อมกับสื่อฯจึงตั้งข้อสังเกต ว่า …หรือนี่คือความโปร่งใส และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างจริงใจ…”

ด้านแผนแก้ปัญหา เป็นไปด้วยความล่าช้า และพยายามมองหาโอกาสอธิบายชี้แจงเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีความชัดเจน ว่าจะคืนเงินผู้เสียหายเมื่อไหร่ อย่างไร ที่แน่ชัด  

23 ก.พ. 2566 Zipmex Thailand รายงานว่า ภายหลังศาลสูงประเทศสิงคโปร์ ได้อนุมัติขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ออกไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2566 นั้น บริษัท Zipmex Pte Ltd และ บริษัท Zipmex Australia Pty Ltd และ บริษัท Zipmex Asia Pte Ltd (รวมกันเรียกว่า “ซิปเม็กซ์”) ได้ดำเนินกระบวนการตามคำสั่งของศาลสิงคโปร์ รวมถึงการดำเนินการตามแผนการจัดการอย่างเคร่งครัด

ทำให้ในวันนี้ “ซิปเม็กซ์” ประกาศว่าบริษัททั้งสามได้ดำเนินการจัดให้เจ้าหนี้และลูกค้าซึ่งมีสินทรัพย์อยู่ใน Z Wallet ลงคะแนนเสียงในแผนการจัดการโดยเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยกระบวนการต่อไปคือการรอผลพิจารณาของผู้จัดการแผนซึ่งได้รับการแต่งตั้ง และคาดว่ากระบวนการดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์และมีผลลัพธ์ในทิศทางที่เป็นบวกภายในวันที่ 21 มีนาคม 2566

ช่วงเวลาที่ผ่านมา  Zipmex   สร้างภาระให้เจ้าหนี้ ซึ่งเคยเป็นลูกค้าทั้งหมด  ต้องกรอกแบบฟอร์มพร้อมจำนวนเงินที่เป็นหนี้ภายในวันที่ 21 ก.พ. และมี KordaMentha ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการของบริษัท ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเสร็จสิ้นการถอนเงินโดยมีเงื่อนไขว่าข้อตกลงการลงทุนจะปิดภายในวันที่ 21 มี.ค. ตามประกาศ ภายใต้ข้ออ้างว่า… ข้อตกลงการช่วยเหลือ ตอนนี้อยู่ในช่วงของการเจรจาในรายละเอียดซึ่งมีการลงนามบางอย่าง แต่ยังไม่สามารถปิดดีลได้ เพราะข้อตกลงยังไม่เสร็จสิ้น

สื่อรายงานว่า.. ความยุ่งยากเหล่านี้ ผิดกับตอนที่ให้บริการ ที่อะไรก็ดูเหมือนง่ายไปเสียทุกอย่าง ความเสียหายกว่า 2 พันล้านบาท  สวนทางไปกับการกล่าวโทษ และลงโทษปรับ Zipmex Thailand เป็นจำนวนเงินที่น้อยมากจากสำนักงาน ก.ล.ต.

วันที่ 31 ส.ค.2565 โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศ เผยแพร่ข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายในรอบ 3 เดือน โดยลงโทษปรับ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด ตามความผิดมาตรา 30 และ 31 แห่ง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นจำนวนเงิน 1,920,000 บาท จากเหตุหยุดให้บริการนักลงทุนโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) และระงับการให้บริการฝากถอนทรัพย์สินของลูกค้าใน Trade wallet และ Z-wallet

แบ่งเป็นการพิจารณาเปรียบเทียบปรับ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex)

1.ในช่วงระหว่างวันที่ 20 – 28 ก.ค.2565 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ระงับการให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ของ Zipmex ที่ได้รับความเห็นชอบ และปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานในฐานะผู้มีวิชาชีพพึงกระทำ ทำให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 16/2565 ปรับเป็นเงินจำนวน 540,000.00 บาท

2.ส่วนอีกประเด็นที่ Zipmex ถูกเปรียบเทียบปรับคือ ระหว่างวันที่ 20 ก.ค. – 25 ส.ค. 2565 Zipmex ได้ระงับการให้บริการฝากถอนทรัพย์สินของลูกค้าใน Trade wallet และ Z-wallet โดยปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานในฐานะผู้มีวิชาชีพพึงกระทำและเป็นการไม่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ก.ล.ต.จึงมีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 16/2565 ปรับเป็นเงินจำนวน 1,380,000.00 บาท รวมค่าปรับทั้งสิ้น 1,920,000 บาท

เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Zipmex

นอกจากนั้นการถูกกล่าวโทษหลังประวิงเวลาส่งข้อมูล ต่อมา วันที่ 7 ก.ย. 2565 ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษ Zipmex และ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Zipmex อีกครั้ง ต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ที่สั่งให้นำส่งข้อมูลกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (wallet) ที่ใช้เก็บทรัพย์สินของลูกค้า และรายละเอียดเกี่ยวกับรายการโอนหรือถอนสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยจากการรวบรวมและตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ได้สั่งให้ Zipmex และ นายเอกลาภ นำส่งข้อมูลเกี่ยวกับกิจการและการดำเนินงาน เช่น ข้อมูลกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (wallet) ที่ใช้เก็บทรัพย์สินของลูกค้า และรายละเอียดเกี่ยวกับรายการโอนหรือถอนสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ Zipmex และนายเอกลาภมีพฤติการณ์ไม่นำส่งข้อมูลดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด และเมื่อได้รับการแจ้งเตือนก็ได้นำส่งข้อมูลเพียงบางส่วน ไม่ครบถ้วน รวมทั้งมีพฤติการณ์ประวิงเวลาไม่นำส่งข้อมูลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ โดยที่ไม่มีเหตุอันควรหรือข้ออ้างไม่สมเหตุผล

การกระทำดังกล่าวของ Zipmex และนายเอกลาภเข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดและมีระวางโทษตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ Zipmex และนายเอกลาภ ต่อ บช.สอท. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

และอีกครั้งการปรับเพิ่มฐานความเสี่ยงจาก ZipUp+

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 สำนักงานก.ล.ต.สรุปกรณีของ Zipmex ว่า ได้บังคับใช้กฎหมายแก่นายเอกลาภ ตามมาตรา 94 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล และ Zipmex ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล โดยเปรียบเทียบปรับเป็นเงินรวม 2,615,000 บาท โดยมีเนื้อเพิ่มเติมนอกเหนือการการเปรียบเทียบปรับครั้งแรก คือ

ก.ล.ต.ได้ดำเนินการกับบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากในช่วงระหว่างวันที่ 7 เม.ย. – 19 ก.ค. 2565 Zipmex มีการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือตัดสินใจลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด โดยข้อมูลที่ Zipmex ไม่เปิดเผยให้ครบถ้วนเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินลูกค้าไปลงทุนต่อความเสี่ยงเกี่ยวกับโปรแกรม ZipUp+ รวมถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความสัมพันธ์ระหว่างกันของ Zipmex กับ Zipmex Asia Pte. Ltd. และ Zipmex Pte. Ltd. จึงได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 695,000 บาท

ตามข้อมูลดังกล่าว ตอกย้ำว่า นี่คือการควบคุมกฎโดย ก.ล.ต. ไทย Zipmex  จึงโดนโทษปรับเพียง 2.6 ล้าน เมื่อเทียบกับความเสียหายกว่า 2 พันล้าน

ทั้งที่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในหมู่นักลงทุนไทย มีหลายกระทงไล่ตั้งแต่ การหยุดให้บริการ การประวิงเวลาส่งข้อมูล และการนำสินทรัพย์ของนักลงทุนไปเผชิญความเสี่ยงจาก ZipUp+ ดังนั้นในแวดวงคริปโตฯ และตลาดทุนบางส่วนมองว่า เรื่องดังกล่าวน่าจะมีบทลงโทษที่รุนแรงหรือมากกว่านี้ 

ด้านแผนแก้ปัญหา เป็นไปด้วยความล่าช้า และพยายามมองหาโอกาสอธิบายชี้แจงเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีความชัดเจน ว่าจะคืนเงินผู้เสียหายเมื่อไหร่ อย่างไร ที่แน่ชัด  

วันที่ 28 ก.ค. 65 เว็บไซต์ของ ซิปเม็กซ์ กรุ๊ป (www.zipmex.com) ขึ้นประกาศ ว่า บริษัทฯ ได้ยื่น “Moratorium relief” ต่อศาลสิงคโปร์ สำหรับกิจการในกลุ่มของ Zipmex รวมทั้ง Zipmex ในประเทศไทย หรือ พูดง่ายๆ ว่า ซิปเมกซ์สิงคโปร์ ยื่นขอศาลสิงคโปร์ให้คุ้มครองหยุดพักชำระหนี้นั่นเอง

โดยระบุว่า 22 ก.ค.2565 ซิปเม็กซ์ กรุ๊ป ได้มอบหมายให้สำนักงานทนายความ มอร์แกน ลิวอิส สแตมฟอร์ด แอลแอลซี (Lewis Stamford LLC) ได้ยื่นคำร้อง 5 ฉบับ ตามมาตรา 64 ของรัฐบัญญัติการล้มละลาย, การปรับโครงสร้างกิจการ, และการยุบเลิกกิจการ ปี 2018 ของสิงคโปร์ เพื่อยื่นขออนุญาตหยุดพักชำระหนี้ เพื่อจะได้ห้ามและจำกัด ไม่ให้มีการเริ่มต้นหรือการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของกระบวนการทางกฎหมายในการเรียกร้องเอากับบริษัทเหล่านี้ ภายในระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจจะนานถึง 6 เดือน

สำหรับ กิจการในเครือของ Zipmex Group ที่ขอความคุ้มครองด้วยการขอหยุดพักชำระหนี้ ตามคำร้องที่ยื่นไปครั้งนี้ได้แก่ 1. Zipmex Asia Pte Ltd 2. Zipmex Pte Ltd 3. Zipmex Company Limited (จดทะเบียนในประเทศไทย) 4. PT Zipmex Exchange Indonesia (จดทะเบียนในอินโดนีเซีย) และ 5. Zipmex Australia Pty Ltd (จดทะเบียนในออสเตรเลีย) ซึ่งตามกฎหมายของสิงคโปร์ บริษัทเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้หยุดพักชำระหนี้โดยอัตโนมัติได้เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเวลา 30 วัน หรือจนกระทั่งศาลสิงคโปร์มีคำตัดสินเกี่ยวกับคำร้องที่ยื่นไป แล้วแต่เวลาไหนจะน้อยกว่ากัน

เมื่อถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ศาลสิงคโปร์หัวเสียเพราะ วีรกรรมลับหลังศาลออกจากปากทนายความ …. “ตำหนิ” Zipmex คืนเงินนักลงทุนอินโดนีเซียก่อนประเทศอื่น กลต. ไทยทราบเรื่องหรือไม่? นักลงทุนไทยต้องเสียเปรียบไปถึงไหน?

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ศาลสิงคโปร์มีการนัดไต่สวน Zipmex Asia กรณีขอเลื่อนการชำระหนี้ การไต่สวนเป็นไปอย่างปกติ จนกระทั่งศาลถามถึงว่าทำไม Zipmex Asia จึงนำเงินซึ่งควรจะเป็นเงินของส่วนกลางไปคืนให้กับผู้เสียหายชาวอินโดนีเซียก่อนผู้เสียหายชาติอื่น ทนายความตัวแทนของ Zipmex ก็ได้แต่อ้ำอึ้งตอบคำถามไม่ได้ ศาลสิงคโปร์จึงตำหนิการกระทำของ Zipmex ว่า ทั้งๆที่ขอรับการคุ้มครองจากศาลแล้ว แต่ยังแอบทำการลับหลังศาล โดยเอาทรัพย์สินกองกลางที่ลูกค้าผู้เสียหายทุกคนมีส่วนเท่ากัน ไปชดใช้ให้กับลูกค้าเพียงกลุ่มเดียว อย่างนี้เท่ากับว่าประเทศไหนมีผู้บังคับใช้กฎหมายเข้มงวดกว่า ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศอื่น

ประชาชนพร้อมกับสื่อฯจึงตั้งข้อสังเกต ว่า …หรือนี่คือความโปร่งใส และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างจริงใจ แต่ประเด็นสำคัญดังกล่าว สำนักงาน ก.ล.ต. กลับไม่รู้เรื่องตั้งแต่อย่างใด เพื่อคืนความยุติธรรมและนำทรัพย์สินมาคืนให้แก่ผู้ที่ตกเป็น “เหยื่อ” ในครั้งนี้ 

สื่อรายงานว่า ทีมที่ปรึกษา จำนวน 3 คน ล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือเกี่ยวข้องกับผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศ คือ ไชยา ยิ้มวิไล บิดา เอกลาภ ยิ้มวิไล และยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (ดร.วิษณุ เครืองาม) ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูป

ส่วนคนที่ 2 คือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ บิดา พราว ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และเคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย อาทิ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน, ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ประธานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น

ส่วนคนสุดท้าย วิชญะ เครืองาม บุตรชาย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกทั้งเป็นนักกฎหมายและนักการเมืองผู้คร่ำหวอด ดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลหลายชุดและในหลายหน่วยงาน และเป็นราชบัณฑิตสาขาวิชากฎหมายปกครอง ขณะที่ วิชญะ ผู้เป็นบุตรชาย ถือว่าเจริญตามรอยเท้าพ่อ เรียนจบนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อปริญญาโท และเอก ดีกรีด็อกเตอร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ และเป็นผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงกฎหมาย และรับตำแหน่งสำคัญทั้งในแวดวงราชการและเอกชน

ชญะ เครืองาม

ความเสียหายของนักลงทุนปี 2565 เกิดขึ้นในยุคของ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ดำรงตำแหน่งเลขาฯ ก.ล.ต. และแว่วว่าร่วมลงสมัครคัดสรรต่อ ในการดำรงตำแหน่งเลขา ก.ล.ต. ในวาระถัดไปในปี 2566 นี้ด้วย  ซึ่งนักลงทุนวาดหวังว่า ไม่ว่าคนหน้าเก่าหรือหน้าใหม่ หากสามารถพัฒนาทักษะความสามารถได้ก็จะเป็นผลดีต่อวงการตลาดทุน ตลาดคริปโตฯในอนาคตไม่น้อย โดยการสมัครเข้าคัดสรรเลขาฯ ก.ล.ต.  คนใหม่ การส่งโปรไฟล์ของผู้ท้าชิงตำแหน่งสำคัญต่อวงการลงทุนบ้านเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่ทุกคนเฝ้ารอผู้เหมาะสมทั้งด้านคุณสมบัติในกระดาษและมิติความรู้นอกตำรา  … โดยใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัคร ถูกจัดส่งเข้าไปที่สำนักงาน ก.ล.ต. วันที่ 7-27 ก.พ.66

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ดำรงตำแหน่งเลขาฯ ก.ล.ต.

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเสียหายในปี 2565 ทั้งวงการตลาดทุนและตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ ยังตอกย้ำในจิตใจนักลงทุน นำไปสู่การควานหาผู้เข้ารับตำแหน่งเลขาฯ ก.ล.ต.  คนต่อไป ที่นักลงทุนจะมั่นใจได้ว่า มีทักษะ  IQ และ EQ สูง เพื่อช่วยเหลือนักลงทุนทั้งในแง่ “การป้องปราม และการพัฒนาอย่างมีความรู้ความเข้าใจ”

ความคาดหวังกับ  เลขา ก.ล.ต. คนใหม่ที่มีหัวจิตหัวใจ เข้าใจนักลงทุน น่าจะเกิดขึ้นในไม่ช้านัก  ขณะเดียวกันนัยยะการสื่อสารที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เคยให้สัมภาษณ์ไว้ บ่งชี้ว่า ต้องการให้ผู้สมัครเลขา ก.ล.ต. คนใหม่ให้มีคุณสมบัติอย่างไร พร้อมทั้งสะท้อนปัญหาเก่าตลอดวาระ 4 ปีที่ผ่านมา เขาผู้นั้นต้องแบกรับความหวัง ในฐานะผู้คุมกฎแห่งโลกอนาคต …ส่วนประชาชนตั้งความหวังว่า   คณะกรรม ก.ล.ต. จะช่วยเสาะแสวงหาบุคคลที่ มากกว่าคุณสมบัติครบตามกระดาษ  จักต้องแสวงหาบุคคลที่มีวิสัยทัศน์-ทัศนคติของผู้นำในหลากหลายมิติ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Latest Posts