วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นศรีฯ บุกถาม 'ชัชชาติ' กรณี "สวนชูวิทย์" ตกเป็นของ กทม. โดยปริยายแล้วหรือไม่

Related Posts

ศรีฯ บุกถาม ‘ชัชชาติ’ กรณี “สวนชูวิทย์” ตกเป็นของ กทม. โดยปริยายแล้วหรือไม่

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มี.ค.66 ที่ศาลาว่าการ กทม.1 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามสถานะของที่ดินสวนชูวิทย์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 10 หลังเคยมีกรณีพิพาทกันในคดีรื้อทุบบาร์เบียร์ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามกฎหมายไปแล้วหรือไม่

ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อ 22 พ.ค.2548 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ จัดแถลงข่าวครั้งแรกระหว่างการต่อสู้คดีรื้อบารณ์เบียร์ในศาล เพื่อแสดงความตั้งใจว่าไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนดังกล่าว และจะนำที่ดินคืนสาธารณะให้สังคมโดยจัดทำเป็นสวนสาธารณะ และต่อมาวันที่ 24 ธ.ค.2548 ไม่ทันถึงปีนายชูวิทย์ก็จัดแถลงข่าวเปิดตัวสวนชูวิทย์และกล่าวในวันนั้นว่า เจตนาที่จะเสียสละนำที่ดินดังกล่าวสร้างเป็นสวนสาธารณะให้กรุงเทพมหานคร ให้เป็นปอดของคน กทม. ได้ใช้ประโยชน์แทนโครงการสร้างโรงแรม เรียกว่า “สวนชูวิทย์”

ต่อมาในคดีรื้อบาร์เบียร์นั้น ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อ ม.ค.59 ว่าที่ดินพิพาทบริเวณสุขุมวิทซอย 10 นั้นศาลฎีกาเห็นว่าหลังเกิดเหตุ นายชูวิทย์กับพวก ได้ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายไปบางส่วนแล้ว และยังมีการนำที่ดินพิพาทไปทำประโยชน์เป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนทั่วไปใช้ได้ โดยไม่ได้นำที่ดินไปทำธุรกิจแสวงหาผลกำไรอีก บ่งบอกว่าจำเลยรู้สึกสำนึกผิด นับว่ามีเหตุปรานี เห็นสมควรกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสม พิพากษาแก้ว่าจากจำคุก 5 ปี ให้เหลือแค่ 2 ปี ไม่รอลงอาญา

แต่ทว่าปัจจุบันสวนดังกล่าวไม่มีแล้ว เพราะถูกนำไปพัฒนาเป็นอาคารสูงโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ อันเป็นที่สงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมกันอย่างมากว่า การอุทิศที่ดินของนายชูวิทย์ให้เป็นสวนสาธารณะ โดยมิได้นำไปจดทะเบียนนั้น จะถือได้ว่าที่ดินกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามป.พ.พ.มาตรา 1304 โดยไม่จำต้องนำไปจดทะเบียนการให้ต่อเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 525 อันมีผลโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วหรือไม่ หากมีผลสมบูรณ์แล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจำต้องนำความมาร้องถามผู้ว่าฯชัชชาติให้วินิจฉัยและดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในวันนี้ ซึ่งหากท่านผู้ว่าฯวินิจฉัยว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวมีสถานะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามกฎหมายแล้วไซร้ กทม.ก็ต้องดำเนินการเรียกคืนที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นสวนสาธารณะหรือให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามครรลองของกฎหมายต่อไป หากไม่ดำเนินการสมาคมฯจำต้องนำความไปยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป

อนึ่ง การอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณะประยชน์ แม้ไม่จดทะเบียนการให้ ก็เรียกคืนไม่ได้ มีคำพิพากษาศาลฎีกา วินิจฉัยไปในทำนองเดียวกันหลายฎีกา ดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2539
การอุทิศที่ดินเพื่อเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหาตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการยกให้ไม่ แม้การยกให้โดยปริยายก็มีผลทำให้ที่ดินที่ยกให้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2538
การอุทิศที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2539
การอุทิศที่ดินเพื่อเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหาตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการยกให้ไม่ แม้การยกให้โดยปริยายก็มีผลทำให้ที่ดินที่ยกให้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2537
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่อาจอุทิศให้โดยปริยายก็ได้ ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) ตั้งแต่ก่อนธนาคาร อ. และโจทก์ได้รับโอนที่ดินต่อกันมาแล้ว ธนาคาร อ.และโจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว การที่ธนาคารอ.ชำระภาษีสำหรับที่ดินให้แก่ทางราชการหรือการที่ธนาคารอ.หรือโจทก์อนุญาตให้บุคคลอื่นหรือทางราชการใช้ที่ดินดังกล่าว หาทำให้ทางสาธารณะและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับคืนมาเป็นที่ดินของธนาคาร อ. หรือโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2535
บ.อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นถนนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกันโดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแม้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลถนนสาธารณสมบัติของแผ่นดินยังไม่ได้ทำถนนในที่ดินพิพาท และบ.ได้ไปขอออก น.ส.3 ที่ดินพิพาทในนามของตนอีก ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทกลับเป็นของ บ.การที่ บ. โอนที่ดินพิพาทให้ป.และ ป.โอนให้โจทก์หาทำให้ ป. และโจทก์ ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าบ. ผู้โอนไม่.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts