ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี PCT ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริต โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. ได้ออกลาดตระเวนออนไลน์จนเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนจะสร้างภาพว่าเป็นผู้ชายรูปร่างหล่อหน้าตาดี อ้างว่าเป็นลูกครึ่งไทย-มาเลเซีย เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อแล้วจึงได้เข้าไปคุยและทำการสมัครทำกิจกรรม หลอกลวงแนะนำ แอพ ICTF คลาวด์คอมพิวเตอร์พลังการขุด เครื่องขุดเหรียญสกุลเงินดิจิตอลสามารถเปลี่ยนมาเป็นสกุลเงินบาทได้ผลตอบแทนสูง
วันที่ 5 เมษายน 2566 เวลาประมาณ 10.00 น. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หน. PCT ชุดปฏิบัติการที่ 5, พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.ฯ, พ.ต.อ.สมบูรณ์ สุขศรีดาวเดือน ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ปกรณ์ ทองช่วง และ พ.ต.ท.วิโรฒ จนุบุษย์ รอง ผกก.สส.3ฯ
ได้สั่งการให้ พ.ต.ต.สัญญลักษ์ สังขะภักดี สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 3/1ได้ร่วมกันจับกุมตัว นายกษิดิศ นนทธิ อายุ 30 ปี ที่อยู่ 8 ม.13 ต.พิชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ จ.435/2565 ลง 21 กันยายน 2565
โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน’’
สถานที่จับกุม หน้าโรงแรมไพรวาซี่ เรสซิเด้นท์ ต.เขาสามยอด อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
พฤติการณ์ ของคดี ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ผู้เสียหายได้พบโฆษณาทางเฟซบุ๊ก เป็นแอปชื่อว่า ICTF คลาวด์คอมพิวติ้งพลังการขุด เครื่องขุดเหรียญสกุลเงินดิจิตอลสามารถเปลี่ยนมาเป็นสกุลบาทได้ ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กสาธารณะ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และเห็นได้ โดยถ้าสนใจจะลงทุน ให้ติดต่อไปทาง Line ID : daneil_177 โดยเดเนี่ยว จะสร้างภาพว่าเป็นผู้ชายรูปร่างหล่อหน้าตาดี อ้างว่าเป็นลูกครึ่งไทย-มาเลเซีย เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อแล้วจึงได้เข้าไปคุยและทำการสมัครทำกิจกรรม ตามที่คนร้ายสอนให้ทำ โดยผู้เสียหายได้ตัดสินใจลงทุน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 และได้โอนเงินจากบัญชีธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชีของผู้เสียหาย ไปยังบัญชีของผู้ต้องหา ที่ร่วมกันนำบัญชีมาหลอกผู้เสียหาย มีทั้งหมด 6 บัญชี
โดยผู้เสียหายโอนเงินไปจำนวน 15 ครั้ง เป็นเงินทั้งหมด 11,342,529 บาท กลอุบายของมิจฉาชีพของคดีนี้คือหลอกลวงแนะนำ แอพ ICTF คลาวด์คอมพิวเตอร์พลังการขุด เครื่องขุดเหรียญสกุลเงินดิจิตอลสามารถเปลี่ยนมาเป็นสกุลเงินบาทได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วหลอกโอนเงินไปยังบัญชีผู้ต้องหา ซึ่งถ้าไม่โอนเงินก็จะมีฝ่ายบริหารซี่งเป็น Call Center โทรมาข่มขู่ ซึ่งเป็นการทำงานแบบกระบวนการ วิธีการสมัคร เมื่อผู้เสียหายเข้าไปในแอป ICTF จะมีการแนะนำกิจกรรมเติมเงิน ICTF เมื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสมัครลงทะเบียนยืนยันตัวตนเสร็จก็หาเช่าเครื่องขุดได้จากนั้นให้สร้างรหัสที่มีภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่หนึ่งตัวพิมพ์เล็กหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขให้ถึงแปดตัวให้ผู้เสียหายจำรหัสที่สร้างไว้ให้ดี เพราะเวลาเข้าระบบแล้วเช่าเครื่องขุดจะต้องใช้ นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสุราษฎร์ธานี จว.สุราษฎร์ธานี เพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. กล่าวว่า “วิธีการที่ผู้ต้องหารายนี้ใช้หลอกลวงนั้นมีความน่ากลัว เพราะมีการสร้างภาพรูปร่างหน้าตาดี ลูกครึ่งสร้างความน่าเชื่อถือหลอกเหยื่อให้ตายใจก่อนซึ่งด้วยวิธีการนี้ทำให้จำนวนเงินที่ผู้เสียหายตัดสินใจนำมาลงทุนนั้นจะมีจำนวนที่สูงกว่าการถูกหลอกลวงทั่วๆ ไป จึงขอเตือนไปยังพี่น้องประชาชนว่า การร่วมลงทุนในโลกออนไลน์นั้นมีความเสี่ยง สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการระดมปราบปรามผู้กระทำผิดทางออนไลน์อยู่ตลอด ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ฉะนั้นผู้ที่ยังทำหรือคิดจะทำขอเตือนว่า มันไม่คุ้มได้คุ้มเสีย เมื่อได้ลงมือก่อเหตุแล้วและมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความแล้วยังไงก็ต้องถูกจับกุม เพียงแต่จะช้าหรือเร็วแค่นั้นเอง”