วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่พนง.การท่าเรือฯ แจ้งความ ปปป.เอาผิดผู้บริหารและอดีต รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่มิชอบเพิ่มอีก 130 คน

Related Posts

พนง.การท่าเรือฯ แจ้งความ ปปป.เอาผิดผู้บริหารและอดีต รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่มิชอบเพิ่มอีก 130 คน

มื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 เมษายน 2566 ที่ศูนย์รับแจ้งความตำรวจสอบสวนกลาง ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม.นายกฤษฎา อินทามระทนายความ พาพนักงานและอดีตพนักงานกว่า 100 คนไปที่ บก.ปปป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีอาญากับผู้บริหารและอดีตผู้บริหารตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามมาตรา 157 เพิ่มเติม ก่อนหน้านี้

เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ได้พาพนักงานมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารรวม 8 คนไว้แล้วจากกรณีเมื่อปี 60 การท่าเรือได้ส่งผู้บริหารมากล่าวหาผู้บริสุทธิ์ 560 คนว่าทุจริตเบิกค่าล่วงเวลาทำให้การท่าเรือเสียหายกว่า 3,300 ล้านบาทซึ่งไม่เป็นความจริงแต่การ กระทำดังกล่าวอาจทำให้ผู้บริสุทธิ์จำนวนมากต้องติดคุก โดยหลังจากแจ้งความแล้วทนายกฤษฎาได้สืบสวนขยายผลจึงพบว่าจะต้องดำเนินคดีเอาผิดกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกประมาณ 130 คนเพื่อให้ได้รับโทษทางอาญาให้ถึงที่สุดต่อไป

ทนายกฤษฎา กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากเมื่อปี 57 ผู้บริหารการท่าเรือได้เข้าร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเรื่องการฟ้อง คดีค่าล่วงเวลาของขบวนการค้าความทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้านบาทขอให้ ดีเอสไอ เข้าไปตรวจสอบการ ทุจริต ต่อมาต้นปี 57 ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษหลังจากนั้นสรุปสำนวนส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา แต่ ป.ป.ช.ส่งสำนวนกลับไปให้ ดีเอสไอดำเนินคดี

ต่อมาเดือนมิถุนายน 2560 ดีเอสไอ แจ้งให้การท่าเรือแห่ง ประเทศไทยเข้ามาเป็นผู้กล่าวหา การท่าเรือจึงแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานและอดีตพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องรวม 560 คนทุจริตบิกค่าล่วงเวลาเสียหายประมาณ 3,300 ล้านบาท ดีเอสไอใช้เวลาสรุปสำนวน ประมาณ 6 ปีจึงมีคำสั่งฟ้องผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพียง 34 คนเท่านั้นจาก 560 คนและมีมูลค่ความเสียหายไม่เกิน 3 ล้านบาทและได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 34 คนส่งให้พนักงานอัยการคดีพิเศษแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ดังนั้นคดีพิเศษนี้จึงเป็นที่ยุติแล้วว่าพนักงานกว่า 500 คนเป็นผู้บริสุทธิ์แต่กลับถูกผู้บริหารการท่าเรือแจ้งความดำเนินคคีอาญาร้ายแรง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2586 มีพนักงาน 66 คนที่ถูกกระทำและอาจติดคุกในคดีพิเศษได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารและอดีตผู้บริหารการท่าเรือ รวม 8 คน ข้อหามาตรา 157ที่ บก.ปปป.แล้ว แต่จากการสืบสวนขยายผลของทนายกฤษฎา อินทามระ พบว่ามีผู้กระทำความผิดเพิ่มเติมอีกจำนวนมากโดยมีหลักฐานว่า ผู้บริหารสั่งการให้กองกฎหมายมีหนังสือลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ถึงดีเอสไอ ขอให้ดำเนินคดีกับพนักงานอีกจำนวน 1.019 ราย ในวันนี้จึงต้องมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้นประมาณ 130 คน มีอดีต ผู้บริหารระดับสูง 2 คนคือ เรือตรีทรงธรรม จันทประสิทธิ์ และ เรือโทกดิ์ พรหมประยูร ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย พฤติการณ์การกระทำความผิดคือ ประมาณปี 57 เรือตรีทรงธรรม ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ดำเนินคดีอาญากับนายชัยวัฒน์ ทองสุทธิ์ ที่มีหลักฐานเดินทางออกนอกประเทศเมื่อกลับมาก็ขอเบิกค่าล่วงเวลาไปโดยทุจริต

แต่เรือตรีทรงธรรมลงโทษเพียงแค่ไล่ออกเท่านั้นส่วนเรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทยพฤติการณ์แห่งการประทำความผิดคือ ประมาณปี 62 เรือโทกมลศักดิ์ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ดำเนินคดีอาญากับพนักงานรวม 7 คน ที่มีหลักฐานเดินทางออกนอกประเทศเมื่อกลับมาก็ขอเบิกค่าล่วงเวลาไปโดยทุจริต แต่เรือโทกมลศักดิ์ก็ลงโทษพนักงานทั้ง 7 คนเพียงแค่ไล่ออกเช่นกัน

เบื้องต้นพนักงานสอบสวนสอบปากคำพนักงานการท่าเรือฯ ผู้แจ้งความเพิ่มเติมเพื่อนำรวมกับสำนวนเดิน ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts