วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
หน้าแรกอาชญากรรมตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จับผู้ต้องหาเครือข่าย บริษัทสมาร์ทพลัส หลอกลงทุน

Related Posts

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จับผู้ต้องหาเครือข่าย บริษัทสมาร์ทพลัส หลอกลงทุน

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ชัช สุกแก้วณรงค์ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.ชัยรพ จุณณวัตต์ ผบก.รฟ, พ.ต.อ.ชาญณรงค์ ขนาดนิด, พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร, พ.ต.อ.ไตรรงค์ ชัยชนะ, พ.ต.อ.จตุรวิทย์ คชน่วม รอง ผบก.รฟ., พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สิทธิใหญ่ ผกก.1 บก.รฟ., พ.ต.อ.ณัทกฤช น้อยคำปัน ผกก.2 บก.รฟ., พ.ต.ท.ศักดิ์สะท้าน เปรื่องชนะ รอง ผกก.2 บก.รฟ., พ.ต.ท.ฉัตรพงศ์ ฉัตรเสรีพัชร์ รอง ผกก.1 บก.ฟ.

เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย ว่าที่ พ.ต.ต.ไตรรงค์ หน่วยตุ้ย ส.รฟ.ธนบุรี กก.1 บก.รฟ., ร.ต.อ.ประดิษฐ์ พรมพาน, ร.ต.อ.กิจจา จินาเกตุ รอง สว.(ป.) ส.รฟ.ธนบุรี กก.1 บก.รฟ., ด.ต.ประกอบชัย เพ็ญสุวรรณ, จ.ส.ต.เสฏฐ์วุฒิ ตรีประทีปกุล, ส.ต.อ.สิริวัฑฒ์ สีมาก ผบ.หมู่ ส.รฟ.ธนบุรี กก.1 บก.รฟ.

ร่วมกันจับกุม นางสาวพิมพ์พิชชาฯ อายุ 55 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาตลิ่งชันที่ จ.413/2565 ลงวันที่ 8 กันยายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความความเสียหายแก่ประชาชนฯ ”

สถานที่จับกุม บริเวณลานจอดรถ หอพักแห่งหนึ่ง ถ.เฉลิมพงษ์ แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

พฤติการณ์ ก่อนเกิดเหตุในคดี เมื่อประมาณปลายเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม 2564 ผู้กล่าวหาได้รับข้อมูลจากญาติ คนรู้จัก ได้ให้ข้อมูลการซื้อสินค้า และร่วมลงทุนในโครงการสมาร์ทพลัส ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า การลงทุนในรูปแบบร้านสะดวกซื้อทั่วไป จึงได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกโครงการ

หลังจากที่ผู้กล่าวหาได้สมัครเป็นสมาชิกผ่านแอปพลิเคชันไลน์สมาร์ทพลัส และได้รับฟังข้อมูลจากกลุ่มคนร้ายที่แอบอ้าง เป็นผู้บริหารโครงการและผู้ร่วมโครงการหลายคนมาบรรยาย เกี่ยวกับโครงการสมาร์ทพลัส, การสมัครเป็นสมาชิก รายได้ และการสั่งซื้อสินค้า, โดยในแต่ละวันมีสมาชิกในกลุ่มไลน์สมาร์ทพลัส เข้าร่วมฟังการบรรยายวันละประมาณ 400 คน

ซึ่งโครงการสมาร์ทพลัสที่กลุ่มคนร้ายแอบอ้างขึ้นมา เป็นโครงการร้านค้าสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วๆไป มีรูปแบบการบริการ ที่ครบวงจร นอกจากจะมีสินค้าอุปโภคแล้วยังมีบริการเพิ่มเติม คือมีบริการชั้น 2 และ ชั้น 3 จะขายสินค้าอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสินค้าอุปโภค บริโภค เช่นเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ พร้อมทั้งมี ห้องน้ำ มีห้องพัก มี กาแฟ เครื่องดื่ม พร้อมสัญญาณ อินเตอร์เน็ตไว้บริการให้แก่สมาชิก

โดยแผนการตลาดของโครงการนี้ ได้จัดงบการโฆษณาไว้ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือเป็นเงิน 2,400 ล้านบาท เพื่อแบ่งให้กับสมาชิก ที่สามารถทำการชักชวนญาติ คนรู้จัก บุคคลทั่วไปมาสมัครเป็นสมาชิกและร่วมลงทุนซื้อสินค้าในโครงการฯ เพื่อจูงใจให้สมาชิกเก่าเกิดการชักชวนสมาชิกใหม่เป็นทอดๆ แทนการโฆษณาที่ต้องจ้างดารา นักแสดง ที่มีชื่อเสียงมาทำการโฆษณาสินค้า

ผู้กล่าวหาจึงได้ร่วมลงทุนผ่านการซื้อสินค้าโครงการฯ และเปิดศูนย์กระจายสินค้าประจำภาคตะวันออก และศูนย์กระจายสินค้าประจำพื้นที่แขวงศิริราช รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,188,000 บาท แต่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากการลงทุนเพียงครั้งเดียว จำนวน 600,000 บาท เหลือเงินที่ไม่ได้คืนจำนวนทั้งสิ้น 3,588,000 บาท

ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวง จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจรถไฟธนบุรี กก.1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ และพนักงานสอบสวน จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขอศาลอาญาตลิ่งชัน ออกหมายจับนางสาวพิมพ์พิชชาฯ ตามหมายจับดังกล่าว

ต่อมา เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมจึงได้ ทำการสืบสวนหาตัวเรื่อยมาจนทราบจากข้อมูลว่า พบเห็นบุคคลมีลักษณะตำหนิรูปพรรณคล้ายกันกับนางสาวพิมพ์พิชชาฯ พักอาศัยอยู่ที่หอพักแห่งหนึ่ง ถ.เฉลิมพงษ์ แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและได้รับคำสั่งให้เดินทาง ไปตรวจสอบ พบเห็น นางสาวพิมพ์พิชชาฯ เดินอยู่บริเวณลานจอดรถหอพักดังกล่าว

เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมจึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมตัวนางสาวพิมพ์พิชชาฯ เพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย

สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

จากการตรวจสอบพบว่า นางสาวพิมพ์พิชชาฯ ยังมีหมายจับอีกดังนี้

1.หมายจับศาลแขวงเชียงใหม่ ที่ จ.110/2566 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2566 ข้อกล่าวหา “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์”

2.หมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ จ.164/2565 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ข้อกล่าวหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและโดยทุจริตหรือหลอกลวงนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”

3.หมายจับศาลจังหวัดนครสวรรค์ ที่ 281/2565 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ข้อกล่าวหา “ร่วมกันกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริตหรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จฯ”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts