วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
หน้าแรกการเมือง“ชัชวาล” ผวา! ศาลประทับฟ้องคดีจงใจแจ้งความเท็จ

Related Posts

“ชัชวาล” ผวา! ศาลประทับฟ้องคดีจงใจแจ้งความเท็จ

“ชัชวาล” ผวา! ศาลประทับฟ้องคดีจงใจแจ้งความเท็จ-ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ กรณีไม่ส่งเอกสารโครงการก่อสร้างสภาฯ แห่งใหม่ให้ศาล

(3 มี.ค.65) นายวัชระ เพชรทอง  อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อเวลา 9.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี​ 403 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลนัดฟังคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ อท.23/2563 ระหว่างนายวัชระ เพชร​ทอง โจทก์ นายชัชวาล อภิบาลศรี จำเลย ในข้อหาหรือฐานความผิด เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน, ขัดขืนหมายศาลให้ส่งเอกสารในการพิจารณา​คดี ตามประมวลกฎหมายอาญาม.137, 157 และ170 โดยศาลสั่งมีมูลประทับฟ้อง นัดสอบคำให้การวันที่​ิ 5 เม.ย. 65​ และเพื่อพิจารณาคดีมีคำสั่งรวมการพิจารณาคดี อท.22/2563 ที่นายวัชระ ฟ้องนายสรศักดิ์ เพียรเวช อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำเลยซึ่งศาลสั่งประทับฟ้องแล้วเช่นกัน ซึ่งคดีนี้มี ดร.เกษม ศุภสิทธิ์ เป็นหัวหน้าทีมทนายความต่อสู้คดีกับทีมอัยการกองแก้ต่าง สำนักงานอัยการสูงสุด

(ซ้าย)นายชัชวาล อภิบาลศรีอดีตประธานคณะกรรมาธิการติดตามเร่งรัดการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ (ขวา) นายวัชระ เพชรทอง  อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์


สำหรับคดีนี้ นายชัชวาล อภิบาลศรี อดีตประธานคณะกรรมาธิการติดตามเร่งรัดการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ถูกนายวัชระตรวจสอบและชี้ข้อพิรุธของโครงการ เป็นเหตุให้ นายชัชวาล ไม่พอใจจึงไปฟ้องคดีที่ศาลอาญากับนายวัชระ ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเรียกค่าเสียหายจำนวนเงิน 100 ล้านบาท

ต่อมา นายวัชระ ได้ฟ้อง นายชัชวาล ในความผิดจงใจแจ้งความเท็จว่าไม่มีการจดบันทึกการประชุมของคณะกรรมการเร่งรัดและติดตามโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เพื่อจะได้ไม่ต้องส่งแถบเสียง ชวเลข หรือรายงานการประชุมดังกล่าวต่อศาล ตามที่โจทก์ร้องขอเพื่อให้เป็นหลักฐานในการต่อสู้คดีดังกล่าว ซึ่งในการแจ้งข้อความเท็จนี้เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชน หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งหากศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ม.137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วน ม. 157 บัญญัติว่า

“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1-10 ปีหรือปรับตั้งแต่ 2,000 -20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts