“…การดำเนินการประกวดราคาเช่ารถส่วนกลาง ประเภทรถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า (อีวี) งบประมาณปี 2566 รวมทั้งสิ้น 31 คัน วงเงินรวมเกือบ 80 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทฯไม่สามารถส่งมอบรถปิคอัพไฟฟ้าได้ตามสัญญาที่ระบุใน TOR ว่าต้องส่งมอบภายในวันที่ 31 มี.ค.2566 ตามกำหนดระยะเวลาการเช่า 5 ปี ส่งผลให้ กฟน.ต้องเปลี่ยนแปลงสัญญา และจนถึงบัดนี้ กฟน.ก็ยังไม่มีรถปิดอัพไฟฟ้าใช้นั้น กฟน.ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ขบ.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรัฐด้วยกัน อย่าปล่อยให้ถูกหลอกซ้ำแล้วซ้ำอีก และหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา กฟน.ควรขึ้นบัญชีดำ ตามมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ หรือต้องรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้ามาตรวจสอบ…”
นายวีระศักดิ์ ยอดอาจ ที่ปรึกษากฎหมายและรับเรื่องราวร้องทุกข์ เปิดเผยว่า จากกรณีการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินการประกวดราคาเช่ารถส่วนกลาง ประเภทรถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า (อีวี) งบประมาณปี 2566 โดยจัดซอยขอบเขตของงาน หรือ TOR แบ่งเป็น การจัดเช่ารถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า พร้อมติดตั้งหลังคาอลูมิเนียม จำนวน 3 คัน วงเงินงบประมาณ 7,707,480 บาท รถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า แบบมาตรฐานทั่วไป จำนวน 11 คัน วงเงิน 28,003,793 บาท รถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า พร้อมติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กลาสทรงสูง จำนวน 9 คัน วงเงิน 23,239,620 บาท รถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า พร้อมติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กลาสทรงเตี้ย จำนวน 8 คัน วงเงิน 20,657,094 บาท รวมทั้งสิ้น 31 คัน วงเงินรวมเกือบ 80 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นรถส่วนกลางในภารกิจของ กฟน. โดย บริษัท ไทยอีวี จำกัด เป็นผู้ชนะการเสนอราคาในทุกรายการ แต่ที่ผ่านมาบริษัทฯไม่สามารถส่งมอบรถปิคอัพไฟฟ้าได้ตามสัญญาที่ระบุใน TOR ว่าต้องส่งมอบภายในวันที่ 31 มี.ค.2566 ตามกำหนดระยะเวลาการเช่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2566 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2571 ส่งผลให้ กฟน.ต้องเปลี่ยนแปลงสัญญา และจนถึงบัดนี้ กฟน.ก็ยังไม่มีรถปิดอัพไฟฟ้าใช้นั้น
ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวทราบว่า นายวริศ โฉมวัฒนะชัย หัวหน้างานจัดหาว่าจ้าง การไฟฟ้านครหลวง (เขตสามเสน) ได้ทวงถามไปยัง บริษัท ไทยอีวี จำกัด ถึงแผนการส่งมอบ รถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป จำนวน 4 สัญญา รวมทั้งสิ้น 31 คัน ตามสัญญาฯที่ได้อ้างถึง เพื่อให้ กฟน.ได้ดำเนินการขยายวันเช่ารถปิคอัพดีเซลชุดเดิมออกไป เพื่อไม่ให้การใช้รถตามภารกิจของหน่วยงานสะดุดในระหว่างรอรถไฟฟ้าที่จะเช่าใหม่มาส่งมอบ ซึ่งบริษัทฯแจ้งว่าจะสามารถส่งมอบรถ 10 คันแรก ได้ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ และจะส่งมอบรถชุดที่ 2 ให้กับ กฟน. จำนวน 21 คัน ได้ครบถ้วนตามสัญญา ในวันที่ 16 ต.ค.นี้
ที่ปรึกษากฎหมายฯ กล่าวอีกว่า ล่าสุดทางบริษัท ไทยอีวีฯได้ทำหนังสือชี้แจงถึง หัวหน้างานจัดหาว่าจ้างฯ และ นายณรงค์ วัฒนศิริ ประธานคณะกรรมการตรวจรับการประกวดราคาเช่ารถปิดอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า ว่าบริษัท ไทยอีวีฯ ได้รับแจ้งจากกรมการขนส่งทางบกว่า รถปิคอัพ จำนวน 31 คัน จะสามารถจดทะเบียนรถ ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-30 ก.ย.นี้ ตามหนังสือ TEV.YD087/2566 และทางบริษัทจะสามารถส่งมอบรถทั้ง 31 คัน ได้ภายในวันที่ 16 ต.ค.นี้ทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้อาจมีการลักไก่หรืออาจมีการวิ่งเต้น จึงได้ตรวจสอบและได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ว่ารถชุดดังกล่าวยังไม่สามารถจดทะเบียนได้จริง เนื่องจากขาดเอกสารรับรองแบบส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ของรถตามกฏหมายว่าด้วยรถยนต์ และหากจะอนุโลมให้จดทะเบียนในลักษณะป้ายดำโดยไม่ต้องใช้เอกสารรับรองก็ต้องไม่เกิน 3 คัน ต่อแบบต่อรุ่น ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามหนังสือที่บริษัทฯแจ้งมา
“คงต้องจับตาดูว่าบริษัทฯจะสามารถส่งมอบรถปิคอัพไฟฟ้าให้กับ กฟน.ได้ตามที่แจ้งหรือไม่ ที่ผ่านมา กฟน.ต้องเปลี่ยน แปลงวันที่เริ่มต้นและวันสิ้นสุดสัญญาโดยที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะบริษัทฯไม่สามารถส่งมอบรถได้ทัน นอกจากนี้ กฟน.ยังต้องขยายวันเช่ารถปิคอัพดีเซลชุดเดิมที่หมดสัญญาเช่าแล้วออกไป โดยเช่าต่อเป็นรายเดือนเพื่อไม่ให้ภารกิจของหน่วยงานต้องสะดุด ซึ่งเป็นการทำให้ กฟน.ต้องเสียประโยชน์ ทั้งยังถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายนี้หรือไม่ เพราะทำให้บริษัทฯอื่นต้องเสียโอกาส และสุดท้ายแล้วหากบริษัทฯไม่สามารถส่งมอบรถให้ กฟน.ได้จริงตามที่แจ้ง กฟน.จะดำเนินการอย่างไร ที่ผ่านมาก็เลื่อนส่งมอบเป็นเวลาเกือบ 7 เดือนแล้ว เรื่องนี้ตนมองว่า กฟน.ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ขบ.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรัฐด้วยกัน อย่าปล่อยให้ถูกหลอกซ้ำแล้วซ้ำอีก และหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา กฟน.ควรขึ้นบัญชีดำ ตามมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ หรือต้องรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้ามาตรวจสอบ” นายวีระศักดิ์กล่าว
@suebjarkkhao หวั่น กฟน.ถูกหลอกซ้ำซาก ส่งมอบรถปิคอัพไฟฟ้าทิพย์ “…การดำเนินการประกวดราคาเช่ารถส่วนกลาง ประเภทรถปิคอัพดับเบิ้ลแค็ป พลังไฟฟ้า (อีวี) งบประมาณปี 2566 รวมทั้งสิ้น 31 คัน วงเงินรวมเกือบ 80 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทฯไม่สามารถส่งมอบรถปิคอัพไฟฟ้าได้ตามสัญญาที่ระบุใน TOR ว่าต้องส่งมอบภายในวันที่ 31 มี.ค.2566 ตามกำหนดระยะเวลาการเช่า 5 ปี ส่งผลให้ กฟน.ต้องเปลี่ยนแปลงสัญญา และจนถึงบัดนี้ กฟน.ก็ยังไม่มีรถปิดอัพไฟฟ้าใช้นั้น กฟน.ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ขบ.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรัฐด้วยกัน อย่าปล่อยให้ถูกหลอกซ้ำแล้วซ้ำอีก และหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา กฟน.ควรขึ้นบัญชีดำ ตามมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ หรือต้องรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้ามาตรวจสอบ…”
♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao