วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
หน้าแรกอาชญากรรมตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบหมอกระเป๋าฉีดสารแปลกปลอม (สารเหลว)เหยื่อหน้าพัง ตาหวิดบอด หนีไม่รอดถูกจับคาไลฟ์สด

Related Posts

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบหมอกระเป๋าฉีดสารแปลกปลอม (สารเหลว)เหยื่อหน้าพัง ตาหวิดบอด หนีไม่รอดถูกจับคาไลฟ์สด

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย บก.ป. ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ
ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.ศราวุธ จันต๊ะวงค์ ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.นฤทธิ์ ผูกจิตร รอง ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.นพรัตน์ คำมาก รอง ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.เนติวิทย์ ธนาสิทธิ์นิติกุล รอง ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.พลวุฒิ ผาตินุวัติ รอง ผกก.2 บก.ป.

เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.ปรัชญ์ แม้นเดช สว.กก.2 บก.ป., ร.ต.อ.หญิง ภริดา วรรธนเสถียร รอง สว.ฝอ.บก.ปคบ.ปรก.กก.2 บก.ป.,ด.ต.อุดม นวลเทศ,ด.ต.ประเสริฐ กิทำ,ด.ต.วันชัย สมนาค,จ.ส.ต.เอกพันธ์ บุญทา,ส.ต.อ.ธนิสร มะโนคำ ผบ.หมู่ กก.2 บก.ป.

ร่วมกันจับกุม นางสาวธัญทิพย์ หรือจูน (สงวนนามสกุล) อายุ 41 ปี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดพล ที่ จ.118/2566 ลงวันที่ 26 กันยายน 2566 โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส, ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต และประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต”

สถานที่จับกุม บริเวณหน้าโรงแรมแห่งหนึ่ง ถนนสุดบรรทัด ต.ปากเพรียว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี วันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลาประมาณ 10.30 น.

พฤติการณ์ เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ผู้ต้องหาได้เดินทางไปทางภาคอีสาน และได้มาพบกับผู้เสียหายที่ร้านนวดแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นพร้อมกับกระเป๋าหิ้วเหมือนกระเป๋าเครื่องสำอาง จากนั้นผู้ต้องหาได้แนะนำตัวเองว่าเป็นครูสอนทำผม และเคยทำที่คลินิกความงามมากว่า 10 ปี มีความชำนาญเรื่องการออกแบบใบหน้า และสามารถฉีดฟิลเลอร์ (Filler) กับโบท็อกซ์ (Botox) ได้ในราคาไม่แพง และไม่ต้องเดินทางไปฉีดที่คลีนิค และคำโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็น “ฟิลเลอร์แท้ โบท็อกซ์แท้ 1,000,000%” จนผู้เสียหายหลงเชื่อและตกลงฉีดโดยคำแนะนำของผู้ต้องหา และผู้ต้องหายังชักชวนพนักงานในร้านนวด อีก 3 รายด้วยโดยตกลงราคากันที่รายละ 10,000 บาท แต่หากใครอยากทำจุดไหนเพิ่มก็จะบวกราคาไปอีก ซึ่งในระหว่างขั้นตอนการฉีดสาร ผู้ต้องหาไม่มีการทำความสะอาดมือและใบหน้าผู้เสียหาย ไม่สวมถุงมือ ใช้นิ้วมือในการเช็ดเลือดจากใบหน้าผู้เสียหาย โดยซับกับทิชชู จากนั้นวางทิชชูกองรวมไว้ที่พื้นในลักษณะไม่ถูกสุขลักษณะตามหลักการแพทย์ที่ถูกต้อง
ต่อมาหลังจากผู้เสียหาย ฉีดไปได้เพียง 1 วัน กลับมีอาการหนองขึ้นทั่วบริเวณใบหน้า ตาบวมปิด ปวดและมีอาการคลื่นไส้อาเจียน จึงโทรติดต่อไปยังผู้ต้องหา ผู้ต้องหาบ่ายเบี่ยงและแจ้งว่าเป็นอาการปกติหลังฉีด เดี๋ยวจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ผ่านไป 1 อาทิตย์ อาการเริ่มหนักขึ้นผู้เสียหายจึงเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลขอนแก่น แพทย์ระบุแจ้งว่า “เป็นภาวะอักเสบจากสิ่งแปลกปลอมสารเหลวทั่วใบหน้า” ต้องทำการผ่าตัดเอาสารเหลวออกทั้งหมด โดยไม่สามารถเจาะ หรือดูดออกได้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหลายแสนบาทต่อครั้ง ผู้เสียหายไม่สามารถหาเงินจำนวนมากได้จึงขอรักษาตามอาการ และใช้ชีวิตอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานสาหัส ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติจนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง พยายามติดต่อผู้ต้องหาก็ไม่สามารถติดต่อได้อีก
​ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม ได้เฝ้าแกะรอยผู้ต้องหา
โดยสืบทราบว่า นางสาวธัญทิพย์ฯ หรือครูจูน ได้เดินทางมาสอนทำผม อยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง จึงเข้าไปตรวจสอบ พบนางสาวธัญทิพย์ฯ ยืนอยู่บนเวที ทำการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพจทำผม จึงเชิญตัวลงมา และได้ขอตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งนางสาวธัญทิพย์ฯ แจ้งว่าไม่ได้พกทำบัตรประชาชนมาด้วย จึงได้ตรวจสอบเอกสารใบขับขี่รถยนต์ พบว่ามีตำหนิรูปพรรณ ชื่อหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนตรงตามหมายจับ จึงได้แสดงหมายจับ ให้ นางสาวธัญทิพย์ฯ (ผู้ต้องหา) ตรวจดู อ่าน พร้อมทั้งแจ้งข้อความในหมายจับ ทั้งนี้ นางสาวธัญทิพย์ หรือจูน ยอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับของศาลอาญาฯ ดังกล่าวจริง
เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมควบคุมตัวมาทำบันทึกการจับกุมตัวที่ กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม เสร็จแล้วนำตัวส่ง พนักงานสอบสวน สภ.พล จ.ขอนแก่น เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การภาคเสธ โดยรับว่าเคยทำมาแล้วหลายครั้งในหลายพื้นที่ โดยที่ไม่ความรู้ด้านการแพทย์มาก่อน ไม่เคยจบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แต่อย่างใด อาศัยแอบอ้างโฆษณาหลอกลวงทำหัตถการให้กับลูกค้าที่มาทำผมที่ร้าน

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนภัยผู้ที่หลงเชื่อฉีดสารเหลวต่างๆ ราคาถูกกับหมอกระเป๋า
ซึ่งไม่ใช่แพทย์จริง โดยอ้างเป็นคอลลาเจน โบท็อกซ์ หรือฟิลเลอร์ นั้น ผู้เสียหายอาจได้รับฟิลเลอร์ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ได้รับรองจาก อย. (องค์การอาหารและยา) เช่น สารโพลีอะคริลาไมด์, ซิลิโคนเหลว, พาราฟิน,
ไบโอพลาสติก และไขมันเทียมซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้ก่อปัญหาตามมามากมาย เนื่องจากสารที่ใช้ฉีดเข้าไปในผิวหนังนั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นฟิลเลอร์ปลอมสูง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ฉีดส่วนไหนก็อาจเกิดการอักเสบได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาการแพ้สารเติมเต็มนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เกิดรอยแดง บวม มีผื่นแดง คัน ไปจนถึงการติดเชื้อเนื่องจากสารเติมเต็มชนิดนั้นๆ เข้าไปอุดตันหลอดเลือด ทำให้เลยเกิดเนื้อเยื่อตายและตาบอดเนื่องจากที่ส่วนนั้นไม่มีเลือดเข้าไปเลี้ยง
จึงขอแนะนำให้กระทำการโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ สามารถประเมินและแนะนำหัตถการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ให้เลือกคลินิกที่ได้มาตรฐานมีใบอนุญาตให้เปิดอย่างถูกต้อง โดยส่วนใหญ่หมอปลอมนั้นมักจะมีสถานที่ฉีดตามที่นัดกับคนไข้ ซึ่งไม่มีสถานประกอบการเป็นหลักเป็นแหล่งจึงทำให้เมื่อเกิดผลข้างเคียงหรือเกิดการอักเสบขึ้นมา ก็ไม่สามารถติดตามตัวมาแก้ไขได้โดยง่าย รวมถึงอุปกรณ์สำหรับการฉีดฟิลเลอร์และเครื่องมือทางการแพทย์ทุกชิ้นนั้นจำเป็นจะต้องทำความสะอาดและได้รับการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและฆ่าเชื้อทุกชิ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคนไข้เอง และหากฉีดผิดวิธีจนเข้าสู่เส้นเลือด อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts