กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผบก.ปปป.รรท.ผบก.ทล., พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุปผาสุวรรณ รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.สุขสวัสดิ์ คูสิทธิผล รอง ผบก.ทล., พ.ต.อ.สุมรภูมิ ไทยเขียว รอง ผบก.ทล.,พ.ต.อ.พงศ์ปณต ชูแก้ว ผกก.6 บก.ป., พ.ต.อ.ศตวรรษ บุญมี ผกก.1 บก.ทล., พ.ต.อ.ศราวุธ จันต๊ะวงค์ ผกก.2 บก.ป. เปิดปฏิบัติการทลายเครือข่ายแก๊งปลอมป้ายทะเบียน ค้ารถข้ามชาติครบวงจร ดำเนินการปราบปรามขบวนการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผิดกฎหมาย
สืบเนื่องจาก ตามนโยบายของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผิดกฎหมายในทุกรูปแบบมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ได้โดยเร็ว เนื่องจากพบว่าในปัจจุบัน อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผิดกฎหมายมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลง ปลอมเเปลงข้อมูลรถ, การนำเข้ารถยนต์มาโดยผิดกฎหมายเพื่อนำมาอำพรางและส่งออกขายในประเทศเเละต่างประเทศ, การรับจ้างทำแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายภาษีเเละเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม โดยกลุ่มผู้กระทำความผิดเหล่านี้ มักจะกระทำการโดยหลบเลี่ยงการตรวจสอบของทางเจ้าหน้าที่ และกระทำการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มักจะส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงในส่วนของภาคประชาชน
จากนโยบายดังกล่าว จึงนำไปสู่การเปิดปฏิบัติการทลายเครือข่ายแก๊งปลอมป้ายทะเบียน-ค้ารถข้ามชาติครบวงจร โดยมีการดำเนินการปราบปรามขบวนการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผิดกฎหมายที่สำคัญดังนี้
กก.6 บก.ป. ทลายเครือข่ายลักลอบนำเข้ารถยนต์จากประเทศมาเลเซีย
ก่อนอำพรางรถโดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม นำส่งขายต่อประเทศเพื่อนบ้าน
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม ทลายเครือข่ายลักลอบนำเข้ารถยนต์จากประเทศมาเลเซีย ก่อนอำพรางรถโดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนและเอกสารเกี่ยวกับรถปลอม เพื่อนำส่งขายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี และ สุราษฏร์ธานี รวมจำนวน 12 จุด จับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 11 ราย เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ 14 หมายจับ ดังนี้
1. นางมะลิฯ (ยิน เทียน) อายุ 48 ปี (อยู่ในควบคุมของทัณฑสถานหญิง) จำนวน 2 หมายจับ คือ หมายจับศาลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ 562/2566 ฐานความผิด “เป็นอั้งยี่, ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของอันตนพีงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, ร่วมกันใช้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการ และร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอม” และหมายจับศาลอาญา ที่ 3552/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยกรการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, ร่วมกันใช้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการ และร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอม”
2. นายทองดีฯ อายุ 59 ปี (จับกุมได้ที่ จ.สมุทรสาคร) จำนวน 2 หมายจับ คือ หมายจับศาลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ 558/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม” และหมายจับศาลอาญา ที่ 3551/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
3. MR.Maung Lay อายุ 45 ปี (จับกุมได้ที่ จ.สมุทรสาคร) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาล ที่ 3554/2566 ฐาานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
4. นายอภิรักษ์ฯ อายุ 27 ปี (จับกุมได้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ 561/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
5. น.ส.นรูอัสมีราฯ อายุ 28 ปี (จับกุมได้ที่ จ.นราธิวาส) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลอาญา ที่ 3555/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
6. นายซาพูวันฯ อายุ 29 ปี (จับกุมได้ที่ จ.นราธิวาส) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลอาญา ที่ 3556/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
7. นายอามันรูเด็งฯ อายุ 53 ปี (จับกุมได้ที่ จ.นราธิวาส) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลอาญา ที่ 3558/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
8. นายมาซาเอะฯ อายุ 32 ปี (จับกุมได้ที่ จ.นราธิวาส) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลอาญา ที่ 3557/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
9. นายอิสสะมะแอฯ อายุ 48 ปี (จับกุมได้ที่ จ.นราธิวาส) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลอาญา ที่ 3559/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม”
10. นายยงยุทธฯ อายุ 65 ปี (จับกุมได้ที่ จ.นราธิวาส) จำนวน 2 หมายจับ คือ หมายจับศาลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ 560/2566 และ ศาลอาญาที่ 3276/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกไปจากยานพหนะ คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ทั่มั่นคง ท่าเรือ รับอนุญาติหรือเขตปลอดอากร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร”
11. นาย นิแมฯ อายุ 80 ปี (จับกุมได้ที่ จ.ปัตตานี) จำนวน 1 หมายจับ หมายจับศาลอาญา ที่ 3550/2566 ฐานความผิด “ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยการใดซึ่งของอันตนพึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ร่วมกันใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง”
พฤติการณ์ สืบเนื่องจาก กองกำกับการ 6 กองบังคับการปราบปราม สืบสวนทราบว่ามีขบวนการลักลอบนำรถยนต์จากประเทศมาเลเซียเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย โดยนางมะลิฯ ชาวเมียนมาร์ กับพวก จะลักลอบนำเข้ารถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศ ก่อนจะนำมาพักไว้ที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อนำไปขายต่อยังประเทศเมียนมาร์ และในประเทศไทย โดยจากการตรวจสอบพบว่ากลุ่มของนางมะลิฯ ได้มีการแบ่งหน้าที่กันทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรม กระทำการในลักษณะเป็นขบวนการ โดยเมื่อมีลูกค้าจากประเทศเมียนมาร์ หรือคนไทยต้องการสั่งซื้อรถ นางมะลิฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าขบวนการของกลุ่มเครือข่ายจ.สมุทรสาคร จะติดต่อไปยังกลุ่มเครือข่าย ให้นำเข้ารถมาจากประเทศมาเลเซียโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนภาคใต้ โดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร จากนั้นกลุ่มของนางมะลิฯ จะเดินทางไปรับรถในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ก่อนจะนำแผ่นป้ายทะเบียนปลอมมาติดแล้วขับนำรถกลับมาจอดพักไว้ที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อรอนำส่งต่อไปยังประเทศเมียนมาร์
จากการสืบสวนพบว่ากลุ่มของนางมะลิฯ ได้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวมาแล้วกว่า 50 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปี โดยในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาสามารถจับกุมนางมะลิฯ กับพวกได้รวม 3 คน ขณะกำลังขับรถยนต์ที่ไปรับมาจากพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมกันนี้ยังได้ตรวจยึดรถยนต์จำนวน 2 คัน จากนั้นจึงได้มีการติดตามยึดรถยนต์ที่นำมาพักไว้ที่ จ.สมุทรสาคร ได้อีกจำนวน 2 คัน จากการตรวจสอบรถยนต์ทั้งหมดพบว่าไม่มีการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีการนำแผ่นป้ายทะเบียนปลอม แผ่นป้ายภาษีปลอม และสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอม มาใช้อีกด้วย จากการสืบสวนขยายผลเพิ่มเติมทำให้พบว่ากลุ่มของนางมะลิฯ มีการสั่งทำแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายภาษี และเอกสารที่เกี่ยวกับรถปลอม เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงรวบรวมพยานหลักฐาน ขอศาลออกหมายจับกลุ่มผู้ทำแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายภาษี และเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม โดยในวันที่ 26 กันยายน 2566 สามารถจับกุม เครือข่ายผู้ทำแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายภาษี และเอกสารปลอม จำนวน 3 ราย คือ
1. นายเนียมฯ อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดสมุทรสาครที่ 531/ 2566 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 จับกุมได้ที่ ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
2. นายนิคมฯ อายุ 41 ปี (จับสด) จากการตรวจค้นบ้านพัก ม.11 ต.เมือง อ.เมืองเลย จ.เลย ซึ่งเป็นสถานที่ต้องสงสัยว่าเป็นที่ทำเอกสารปลอม ตรวจสอบพบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเอกสารรถปลอม ทั้งที่เป็นฟอร์มเปล่า และทำเสร็จแล้ว คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ จำนวนหลายรายการ
3. นายเขมทัตฯ อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดสมุทรสาครที่ 532/2566 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 จับกุมได้ที่ ม.3 ต.ชัยพฤกษ์ อ.เมืองเลย จ.เลย
พร้อมของกลางเป็นแท่นพิมพ์ป้ายทะเบียน 1 เครื่อง เครื่องปรินท์ จํานวน 7 เครื่อง ป้ายทะเบียนปลอม จํานวน 50 แผ่น ป้ายภาษีปลอม และ อุปกรณ์การทําป้ายภาษีปลอม สมุดคู่มือจดทะเบียนรถปลอม บัตรประชาชนปลอม รวมของกลาง 33 รายการ นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่านายเนียมฯ และนายนิคมฯ เคยมีประวัติคดีเกี่ยวกับการปลอมป้ายทะเบียนรถมาแล้วคดีอยู่ในชั้นศาล
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้ทำการสืบสวนพบเครือข่ายที่ได้ครอบครองรถยนต์ต้องสงสัย ว่าได้มา โดยผิดกฎหมาย จึงได้ทําการสืบสวนติดตามเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยสามารถยึดรถยนต์ผิดกฎหมายได้จํานวน 24 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ยี่ห้อ MERCEDES BENZ จำนวน 6 คัน, BMW จำนวน 10 คัน, MINI จำนวน 1 คัน, TOYOTA จำนวน 3 คัน, HYUNDAI จำนวน 1 คัน, MG จำนวน 1 คัน และ MITSUBISHI จำนวน 1 คัน ซึ่งรถทุกคันติดป้ายภาษีปลอม และมีบางคันพบว่ามีการขูดลบแก้ไขเลขตัวถังและเลขเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่าเจ้าของรถบางราย มีการครอบครองสิ่งของผิดกฎหมาย เช่น อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน อีกด้วย
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนขยายผลเครือข่ายดังกล่าว จนกระทั่งสามารถออกหมายจับผู้ร่วมขบวนการได้ทั้งหมด 11 ราย โดยในวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ได้สนธิกำลังร่วมกับกองบังคับการตำรวจ ทางหลวง (บก.ทล.) กองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส และปัตตานี ปฏิบัติการจับกุมกลุ่ม เครือข่ายลักลอบนำเข้ารถยนต์มาจากประเทศมาเลเซียโดยผิดกฎหมาย โดยสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ 11 ราย ตรวจยึดของกลางเป็นรถยนต์ 1 คัน โทรศัพท์มือถือ สมุดบัญชีธนาคาร และอื่นๆ รวมจำนวน 11 รายการ
จากการสอบถามผู้ต้องหาในเบื้องต้น ให้การรับสารภาพ จำนวน 2 ราย ให้การปฏิเสธ จำนวน 4 ราย และให้การภาคเสธ จำนวน 4 ราย
ทั้งนี้ จากการจับกุมเครือข่ายดังกล่าว สามารถตรวจยึดรถยนต์ผิดกฎหมายคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท
กก.2 บก.ป. ทลายแก๊งรับจ้างทำแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นป้ายภาษี
และเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม ทลายแก๊งรับจ้างทำแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นป้ายภาษี และเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายอภิเดชฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3225/2566 ลง 22 ก.ย.2566 ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ เป็นคนกลาง รับงานเพื่อสั่งผลิตสินค้า)
2. น.ส.นิสากรฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3227/2566 ลง 22 ก.ย.2566 ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ ผลิตป้ายภาษี และคู่มือจดทะเบียนรถปลอม)
3. นายอภิชาติฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3228/2566 ลง 22 ก.ย.2566 ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ รับส่งสินค้า)
4. นายดัชฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3224/2566 ลง 22 ก.ย.256ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ เปิดเพจ รับงานจากลูกค้า)
5. นายณัฐฉัตรฯ ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ (ทำหน้าที่รับทำป้ายภาษีปลอม)
พฤติการณ์ สืบเนื่องจากเมื่อช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง กก.1 บก.ทล. (อยุธยา) ได้จับกุมนายธนดล หรือแบงค์ อายุ 30 ปี ที่บริเวณถนนสุดบรรทัด 13 ต.ปากเพรียว อ.เมือง
จ.สระบุรี โดยตรวจสอบพบว่า นายธนดลฯ ใช้รถยนต์ที่มีการติดแผ่นป้ายทะเบียน และแผ่นป้ายภาษีปลอม จึงถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”
ต่อมา กก.2 บก.ป. ได้ดำเนินการสืบสวนขยายผลติดตามจับกุมกลุ่มผู้กระทำความผิดที่รับจ้างทำแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นป้ายภาษี และเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม โดยสามารถออกหมายจับผู้ต้องหาได้จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย โดยพบว่าผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย มีการร่วมกันกระทำความผิด กระทำการในลักษณะรูปแบบขบวนการ โดยมีนายดัชฯ ทำหน้าที่เปิดเฟจเฟซบุ๊ก ในลักษณะของการรับจำนำรถ จำนองรถ หรือ ขายฝากรถ ซึ่งในกรณีที่มีลูกค้าสนใจอยากทำป้ายทะเบียน หรือป้ายภาษีปลอม จะมีการติดต่อพูดคุยกันผ่านไลน์ของนายดัชฯ โดยจะคิดค่าดำเนินการประมาณ 2,500 บาท ซึ่งจะให้ลูกค้าโอนเงินผ่านบัญชีม้าที่นายดัชฯ ถือไว้ หลังจากนั้น นายดัชฯ จะส่งข้อมูลพร้อมกับค่าจ้างประมาณ 2,000 บาท ในการทำเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอมไปให้กับนายอภิเดชฯ (คนกลางซึ่งทำหน้าที่ติดต่อกับผู้รับทำเอกสารปลอม) โดยนายดัชฯ จะหักค่าดำเนินการครั้งละประมาณ 200-500 บาท ต่อมาเมื่อนายอภิเดชฯ ได้ข้อมูลสินค้าเเละค่าจ้างแล้ว นายอภิเดชฯ จะติดต่อไปยัง น.ส.นิสากรฯ ให้ผลิตทำเอกสารปลอมตามที่ได้รับงานมา โดย นายอภิเดชฯ จะได้ค่าส่วนต่างจากราคาสินค้าที่ น.ส.นิสากรฯ ผลิต ในส่วนของ น.ส.นิสากรฯ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตป้ายภาษี และคู่มือจดทะเบียนรถปลอมจะใช้วิธีการปริ้นท์ข้อความลงในแบบฟอร์มป้ายภาษีหรือคู่มือจดทะเบียนรถ คิดราคาชิ้นประมาณ 1,000 บาท หรือ 1,500 บาท โดยจะจัดส่งผ่านทางร้านพัสดุ และในส่วนของนายอภิชาติฯ จะทำหน้าที่นำแผ่นป้ายทะเบียนปลอม ไปส่งทางไปรษณีย์ให้กับลูกค้า โดยได้รับค่าจ้างครั้งละ 150 บาท
อีกทั้งยังพบข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าที่ร้านแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรี มีการผลิตแผ่นป้ายทะเบียนปลอม โดยมีวิธีผลิต 2 วิธี คือ การนำแผ่นป้ายทะเบียนจริงมาหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ และการใช้แผ่นอะลูมิเนียมมาปั๊มขึ้นรูป
ต่อมาในวันที่ 25 ตุลาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ป. จึงได้ลงพื้นที่จับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับทั้ง 5 ราย พร้อมตรวจยึด รถยนต์เก๋ง 2 คัน, แผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ 25 แผ่น, แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 47 แผ่น, อุปกรณ์ทำแผ่นป้ายทะเบียน 74 ชิ้น, สมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 12 เล่ม, โทรศัพท์มือถือ 8 เครื่อง, คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 2 เครื่อง, เครื่องพิมพ์เอกสาร 1 เครื่อง, แท็บเล็ต 1 เครื่อง, บัตรอิเล็กทรอนิกส์ 2 ใบ, เอกสารที่เกี่ยวกับการกระทำผิด 4 ฉบับ และสมุดจดชื่อลูกค้า 1 เล่ม อีกทั้งยังได้ตรวจค้นร้านแห่งหนึ่งในพื้นที่ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นร้านที่รับทำป้ายทะเบียน พร้อมตรวจยึดของกลางที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ภายหลังจากการดำเนินการจับกุมในครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะสืบสวนขยายผลหาตัวผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และกลุ่มลูกค้ามาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
กองบังคับการตำรวจทางหลวง กวดขันจับกุม ผู้กระทำความผิด
ที่เกีี่ยวข้องกับการใช้รถยนต์ผิดกฎหมาย
ในส่วนของกองบังคับการตำรวจทางหลวง (บก.ทล.) ได้มีการรับนโยบาย พล.ต.ท.จิรภพ ผบช.ก.
ที่กำชับให้ทุกสถานีตำรวจทางหลวง ตรวจตรา เข้มงวดกวดขัน และจับกุมผู้กระทำความผิดที่ใช้ป้ายทะเบียนปลอม, สวมทะเบียน, ปลอมแผ่นป้ายภาษี โดยได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รรท.ผบก.ทล. กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจทางหลวง ซึ่งในช่วงเวลาประมาณ 5 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่ห้วงวันที่ 1 มิ.ย.66 ถึง 15 ต.ค.66) สามารถจับกุมผู้กระทำความผิด ได้ทั้งหมด 151 ราย แบ่งเป็น
กก.1 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคกลาง จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 20 ราย
กก.2 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคตะวันตก จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 43 ราย
กก.3 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคตะวันออก จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 17 ราย
กก.4 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 4 ราย
กก.5 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคเหนือ จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 21 ราย
กก.6 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 15 ราย
กก.7 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้ จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 14 ราย
กก.8 บก.ทล. ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ทางพิเศษมอเตอร์เวย์ จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 17 ราย
ในจำนวนนี้ มีหลายคดีที่สามารถ นำรถกลับคืนสู่ผู้เสียหายจำนวนมาก และได้ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชนต่างๆ
ขณะที่ผลการปฏิบัติการจับกุม รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ตั้งแต่ ห้วงวันที่ 1 ม.ค.66 – 31 พ.ค.66 จับกุมได้ 551 ราย ซึ่งนับตั้งแต่ที่ พล.ต.ท.จิรภพ ผบช.ก. มอบหมาย พล.ต.ต.จรูญเกียรติ รรท.ผบก.ทล. กำกับดูแล (ห้วงวันที่ 1 มิ.ย. 66 – 25 ต.ค.66) สามารถจับกุมได้ 812 ราย สามารถจับกุมได้เพิ่มขึ้น 47 เปอร์เซ็น รวมจับกุมได้ทั้งหมดจำนวน 1,363 ราย
“ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด”