วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2024
หน้าแรกอาชญากรรมศคอ.พาผู้เสียหายแจ้งความ ปคบ.เอาผิดบริษัทฯ แสบซื้อใบอนุญาต“ขายตรง”มาบังหน้าทำแชร์ลูกโซ่ ใช้โฉนดที่ดินแทนสินค้า พบมูลค่าความเสียหายกว่า 5,000 ล้าน

Related Posts

ศคอ.พาผู้เสียหายแจ้งความ ปคบ.เอาผิดบริษัทฯ แสบซื้อใบอนุญาต“ขายตรง”มาบังหน้าทำแชร์ลูกโซ่ ใช้โฉนดที่ดินแทนสินค้า พบมูลค่าความเสียหายกว่า 5,000 ล้าน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 พ.ย.66 ที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พหลโยธิน จตุจักร กทม.
น.ส.กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ ประธาน ศูนย์ประสานงานส่งเสริมเครือข่าย-ออนไลน์ (ศคอ.) พาผู้เสียหายพร้อมตัวแทนผู้เสียหายและผู้บริโภคที่ร้องเรียน ศคอ. และองค์การต่อต้านแชร์ลูกโซ่ (อตช.) ให้ตรวจสอบบริษัทฯ ขายตรงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีพฤติการณ์เป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง
โดยเมื่อปี 2563 ผู้บริหารบริษัทขายตรงแห่งนี้เคยเป็นอดีตแม่ทีมให้แก่บริษัทขายตรงสินค้าประเภทข้าวสารรายใหญ่แห่งภาคอีสานชักชวนผู้คนลงทุนซื้อข้าวสารให้ปันผลสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และไม่จ่ายผลตอบแทน คราวนั้นเกิดเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นคดีความโด่งดัง หลังจากบริษัทขายข้าวสารนั้นล้มไป เข้าพบพนักงานสอบสวน บก.ปคบ. วันนี้ได้พาผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน บก.ปคบ.ให้ตรวจสอบบริษัทฯดังกล่าวว่าทำธุรกิจขายตรง ตามที่จดทะเบียนต่อ สคบ.หรือไม่ รวมทั้งความผิดตาม พ.ร.บ.แชร์ พ.ศ. 2534 ,ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มาตรา 14 และ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

น.ส.กฤษอนงค์ เปืดเผยว่า ต่อมากลุ่มเครือข่ายดังกล่าวแตกตัวออกมาเปิดบริษัทขายตรงใหม่ ทำนิติกรรมการเงินอำพราง โดยใช้ใบอนุญาตขายตรงออกโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบังหน้า ซื้อใบอนุญาตจดทะเบียนขายตรงจากบริษัทเก่า ( Take Over ) สร้างภาพชักชวนลงทุนในรูปแบบต่างๆ สร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ โครงการบ้าน คอนโด และที่สำคัญรับขายฝาก เน้นระดมเงิน แต่ต้องนำเงินที่ขายฝากได้มาลงทุนต่อกับทางบริษัทด้วย โดยได้ผลตอบแทนทุกๆ 10 วัน เดือนละ 12% ปีละ 144% ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเพิ่มความเข้มข้นด้วยการให้สมาชิกนำเอาคอมมิชชั่นที่ได้จากการลงทุนมาเปิดวงแชร์วงละ 15 มือ ซึ่งบริษัทเป็นท้าวแชร์ ร่วมมือกับแม่ข่ายแม่ทีม อยู่ตอนต้นมือ 1-5 มือ ( รับยอดก่อนปิดวง) ซึ่งมีมากถึง 758 วงแชร์ ( มูลค่าสูงสุด 758 x 1,000,000 x 15 มือ = 11,370,000,000 ล้านบาท )

ล่าสุดเมื่อ 10 พ.ย. 66 ได้ประกาศไม่จ่ายผลตอบแทนทั้งหมดและทำการย้ายแพลตฟอร์มเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ ใหม่ เพื่อตัดวงจรล้มวงแชร์เดิม มาตั้งวงแชร์ใหม่เปิดบริษัทใหม่แทน ซึ่งทำมาแล้วหลายรอบ นับว่าเป็นการก่ออาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้น ศคอ.คาดว่าจะมีความเสียหายเฉพาะรอบนี้ รวมกว่า 5,000 ล้านบาท

ทาง ศคอ.ได้รวบรวมหลักฐานจากผู้เสียหาย และประชาชนผู้ส่งข้อมูล ส่งต่อหน่วยงานรัฐ ตามนโยบายเป้าหมายหลัก คือ
1.ผู้เสียหายต้องได้เงินคืน
2.ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษ
3.เกิดมาตรการการป้องกันอย่างยั่งยืน คือไม่แตกตัวออกไปทำความเสียหายต่อเนื่องแบบนี้อีก
ที่สำคัญ เพื่อป้องกันประชาชนมิให้เกิดความเสียหายในยุคเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข และยังเป็นการสร้างมาตรฐานการซื้อขายออนไลน์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป

เบื้องต้นพนักงานสอบสวน บก.ปคบ.รับแจ้งไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts