“…กุ้งที่เพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำที่สะอาดจากทะเลอันดามันและบ่อดินที่มีแร่ธาตุและเกลือทะเลที่อุดมสมบูรณ์ อาจแสดงถึงการเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ได้ ลักษณะของสินค้า ความมีชื่อเสียงหรือประวัติของความเป็นมาของสินค้า เป็นสินค้าดั้งเดิมของท้องถิ่นที่มีการผลิตมาเป็นเวลายาวนานจนมีชื่อเสียงและเป็นสินค้าประจำชุมชน มีความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กับแหล่งภูมิศาสตร์ของพื้นที่ แสดงถึงภูมิปัญญาของชุมชนในพื้นที่ที่ทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในพื้นที่อื่น..”
“นภินทร” ดันกระบวนการผลิต “กุ้งแช่แข็ง” จังหวัดระนอง ให้เป็นกุ้งกุลาดำ GI จ.ระนอง เพิ่มยอดขายในต่างแดน
“นภินทร” หารือประเด็นเรื่องการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งสดแช่แข็ง ไปจำหน่ายต่างประเทศ กับ บริษัท โกลด์เด้นซีฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขยายช่องทางการค้า ลดอุปสรรคทางการค้า และเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตกุ้งสดต้มและแช่แข็งส่งออก พร้อมผลักดันกุ้งกุลาดำเขตพื้นที่ (ระนอง พังงา กระบี่) ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)..”
เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 14.00 น. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ ก่อนมีการประชุม ครม.สัญจร ณ จังหวัดระนอง ที่ บริษัท โกลด์เด้นซีฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล โดยมีการเยี่ยมชมและรับฟังข้อเสนอของบริษัท เพื่อขยายช่องทางการค้า ลดอุปสรรคทางการค้า และเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตกุ้งสดแช่แข็งส่งออกไปยังประเทศปลายทาง (ซาอุดิอาระเบีย และสเปน) ที่อยู่ภายใต้กรอบค้าเสรี FTA ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเป้าหมายปลายทาง พร้อมผลักดันกุ้งสดและผลิตภัณฑ์กุ้งสดแช่แข็งในเขตพื้นที่ (ระนอง พังงา กระบี่) สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
นายนภินทร เปิดเผยภายหลังหารือประเด็นเรื่องการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งสดแช่แข็ง ไปจำหน่ายต่างประเทศ กับ ผู้บริหารบริษัท โกลด์เด้นซีฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จังหวัดระนองว่า ได้พิจารณาการแนวทางการขยายช่องทางการตลาดต่างประเทศ ไว้ จํานวน 2 ประเด็น ได้แก่
1. การขึ้นทะเบียนกุ้งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด (ระนอง พังงา กระบี่) เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยบริษัทต้องการสร้างเอกลักษณ์ด้วยการขึ้นทะเบียน GI ให้กุ้งกุลาดำในพื้นที่ระนองและจังหวัดใกล้เคียง (พังงา กระบี่) เนื่องด้วยกุ้งสดของในพื้นที่ดังกล่าวมีเอกลักษณ์ในเรื่องความสวยของสีและรสชาติหวาน ซึ่งเป็นคุณภาพที่กลุ่มผู้บริโภคในสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการ
2. การขยายช่องทางการตลาดต่างประเทศภายใต้กรอบการค้าเสรี FTA โดยบริษัทมีความต้องการขยายช่องทางการตลาดในตะวันออกกลางโดยเน้นการทำ FTA ไทย-GCC และ ไทย-EU เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดยุโรป
นายนภินทร กล่าวว่า “ตนได้มอบหมายกรมทรัพย์สินทางปัญญาศึกษาหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดในการขึ้นทะเบียนกุ้งสดและผลิตภัณฑ์กุ้งสดแช่แข็ง (กุ้งที่เพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำที่สะอาดจากทะเลอันดามันและบ่อดินที่มีแร่ธาตุและเกลือทะเลที่อุดมสมบูรณ์ อาจแสดงถึงการเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ได้) โดยวันนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้าร่วมรับข้อเสนอและได้ส่งแบบฟอร์มให้กับบริษัท เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ ว่าสินค้าดังกล่าวที่บริษัทมีความประสงค์มีความเป็นไปได้ว่าสามารถเข้าข่ายเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย ได้หรือไม่ เช่น ลักษณะของสินค้าเป็นอย่างไร ความมีชื่อเสียงหรือประวัติของความเป็นมาของสินค้าเป็นอย่างไรต้องเป็นสินค้าดั้งเดิมของท้องถิ่นที่มีการผลิตมาเป็นเวลายาวนานจนมีชื่อเสียงและเป็นสินค้าประจำชุมชน เพราะสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสินค้าของชุมชน สิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นของชุมชนต้องมีความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กับแหล่งภูมิศาสตร์ของพื้นที่ผลิตอย่างไร กล่าวคือ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ต้องแสดงถึงภูมิปัญญาของชุมชนในพื้นที่การผลิตสินค้ามีผลอย่างไรต่อสินค้าที่ทาให้สินค้ามีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในพื้นที่อื่น ขอบเขตแหล่งวัตถุดิบและขอบเขตพื้นที่การผลิตเป็นอย่างไร ฯลฯ เป็นต้น”