วันเสาร์, กันยายน 28, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนสี จิ้นผิง บนเส้นทาง BRI ปลุกความหวังโลกยุคใหม่

Related Posts

สี จิ้นผิง บนเส้นทาง BRI ปลุกความหวังโลกยุคใหม่

นโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” Belt and Road Initiative (BRI) หรือ “เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” ของจีนลงทุนลงแรงอย่างมหาศาล สี จิ้นผิง สร้างโครงการนี้ด้วยการเรียกร้องให้โลกร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ ประกอบด้วยเส้นทางหลัก 2 เส้นคือ 1.Silk Road Economic Belt คือเส้นทางขนส่งทางบกที่จะเชื่อมจีนและยุโรปเข้าด้วยกัน ด้วยโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนเข้าไปยังส่วนลึกของเอเชียกลาง เชื่อมสู่ตะวันออกกลาง ผ่านตลาดสำคัญอย่าง คาซัคสถาน อิหร่าน ข้ามไปยังตุรกีทะลุยุโรปผ่านเมืองสำคัญ เช่น แฟรงเฟิร์ต เวนิซ อัมสเตอร์ดัม และ 2.Maritime Silk Road คือเส้นทางขนส่งทางทะเล เริ่มจากเมืองท่าสำคัญของจีนอย่างเซี่ยงไฮ้ เทียนจิน ฟุโจว ลงมาทะเลจีนใต้ เชื่อมกลุ่มประเทศอาเซียน ข้ามช่องแคบมะละกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ทะลุตะวันออกกลางไปสู่แอฟริกาตะวันตก ผ่านอ่าวเปอร์เซีย-คลองสุเอซ-ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีจุดหมายทางคือทวีปยุโรป

จีนพยายามสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ในเอเชีย ด้วยการสนับสนุนเงินทุนให้กับกลุ่มประเทศพันธมิตร จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งอาเซียน หรือ Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนให้กับประเทศในเอเชียพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเข้ามารองรับ OBOR ในขณะเดียวกันจีนก็ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าประเทศ ด้วยการผลิตแรงงานชั้นดีขึ้นมารองรับ  เพื่อรักษาอัตราการเติบโตในระยะยาว มีการจัดตั้งกลุ่มการค้าใหม่ๆที่มีอิทธิพลต่อการค้าโลก อาทิ BRICS หรือ RCEP

แม้กระทั่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จีนก็ได้ให้ความช่วยเหลือกับหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้ว ดีขึ้นไปอีก การสนทนาระดับสูงระหว่างผู้นำจีนและอาเซียน ได้ขยายอิทธิพลและเสริมสร้างความสัมพันธ์ของจีนกับภูมิภาคอาเซียนแบบไม่เคยปรากฏมาก่อน เพิ่มมูลค่าการค้าอย่างมีนัยสำคัญ อาเซียนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน

สำหรับประเทศไทย แผนริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  ทำให้การค้าจีน-ไทยใกล้ชิดกันมากขึ้น โอกาสจากระเบียงการค้าทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ และการบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ทำให้รูปแบบการค้าและการขนส่งมีความหลากหลายยิ่งขึ้น สินค้าไทยเข้าสู่ครัวเรือนทั่วจีนด้วยราคาถูกขึ้น และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตจีน ทั้งข้าวหอมมะลิ เครื่องปรุงรส เครื่องสำอาง ยา หมอนยางพารา ครีมกันแดด ฯลฯ

ภูมิรัฐศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ของจีนโฟกัสชัดเจนว่า การจะกลายเป็นมหาอำนาจที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก คือการสร้างสนามการค้า มิใช่ สมรภูมิสงคราม และนั่นคือความหวังของโลกยุคใหม่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts