กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้การอำนวยการสั่งการของ พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. , พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง,พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์,พ.ต.อ.ภาคภูมิ ศรีลาภะ
มาศ,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ์ นากแก้ว,พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.พงษ์พันธ์ ศิริภัทร ผกก.3 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.เทพรัตน์ ศุกระกาญจน์, พ.ต.ท.ธงฉาน ตันบุญเจริญ รอง ผกก.3 บก.ปคบ.
สั่งการให้ พ.ต.ท.ชณิตพงศ์ ศิริเวช, พ.ต.ท.วัลลภ นุชกำบัง, พ.ต.ท.สถาพร มุสิกพงศ์, พ.ต.ท.ภูมิพัฒน์ บัวรัตนกุล
สว.กก.3 บก.ปคบ.ให้เร่งดำเนินมาตรการตัดวงจรทำลายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของผู้อุปโภค มูลเหตุปรากฎชัดอย่างบ่อยครั้งในสื่อข่าว สื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับ
“หม้อไฟฟ้าเรืองแสง” , “พัดลมระเบิดใส่หน้า” กองกำกับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวการคุ้มครองผู้บริโภค ได้จัดกำลังเร่งตรวจสอบกรุงเทพและปริมณฑล แค่ภายในช่วงเดือน มกราคม – กุมพาพันธ์ 2567 ได้ทำการสืบสวนและร้องขอหมายต่อศาลทำการตรวจค้นพื้นที่ต้องสงสัยซึ่งอาจมีการจำหน่าย หรือ มีการกักเก็บสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เสี่ยงต่อการระเบิด ไฟไหม้ และไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก) โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ทำการตรวจคันไปทั้งสิ้น 16 จุดเป้าหมาย ค้นพบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจเกิดการระเบิด ไฟลุกไหม้ ได้จำนวนกว่า 3,800 ชิ้น มีทั้ง ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า พัดลมกระแสไฟสลับ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น หลอดไฟ ไดร์เป่าผม ชุดสายไฟพ่วง เครื่องฟอกอากาศ แบตเตอรี่ทุติยภูมิ เตาอบไฟฟ้า เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าโทรทัศน์ กล่องรับสัญญาณ มูลค่ารวมทั้งสิ้น กว่า 1.7 ล้านบาท พื้นที่พบการกระทำความผิดเป็น พื้นที่กรุงเทพมหานคร 8 จุด พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ 3 จุด พื้นที่
จังหวัดสมุทรสาคร 4 จุด พื้นที่จังหวัดปทุมธานี 1 จุด
ซึ่งบุคคลผู้ถูกตรวจค้น และถูกยึดสินค้าที่จำหน่ายโดยไม่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมดังกล่าว อาจถูกดำเนินคดีในข้อหา นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต จำหน่าย หรือ มีไว้เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต (ทั้งนี้แล้วแต่พฤติกรรมการกระทำความผิดที่ปรากฎ) และผู้กระทำความผิดทุกคนที่ถูกตรวจพบทั้ง 16 จุดดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ด้วยความเป็นห่วงจาก “ตำรวจสอบสวนกลาง” เพื่อความปลอดภัยของผู้อุปโภค และ ผู้ซื้อ ผู้ใช้ อุปกรณ์ซึ่งต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม จะได้รับความปลอดภัยอย่างที่สุด
ปคบ.เตือนภัย การเลือกซื้อ หรือ ใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ถูกกำหนดให้ต้องมีเครื่องหมายบังคับ มอก. ประชาชนทุกท่าน ควรสังเกตุ เครื่องหมายดังกล่าว เพื่อความปลอดต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ในการใช้งาน
อุปกรณ์ดังกล่าว โดยสามารถ หาความรู้พื้นฐานได้จาก สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือหากพบการกระทำความผิด
หรือพบสินค้าอุตสาหกรรมใดที่ถูกกำหนดให้มี แต่ไม่มีเครื่องหมายบังคับมาตรฐานอุตสาหกรรม สามารถแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด ได้ที่ กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด จนกว่าคดีจะถึงที่สุด