วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
หน้าแรกภูมิภาคสนธยา คุณปลื้ม แถลงผลงาน 3 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์นีโอพัทยา ก่อนอำลาตำแหน่งพ่อเมืองท่องเที่ยวไข่แดงแห่ง EEC

Related Posts

สนธยา คุณปลื้ม แถลงผลงาน 3 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์นีโอพัทยา ก่อนอำลาตำแหน่งพ่อเมืองท่องเที่ยวไข่แดงแห่ง EEC

วันที่ 24 มี.ค.64 มีรายงานว่า ที่ร้านอาหารปลาทองซีฟู้ด นาเกลือ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้จัดการแถลงข่าวผลงาน 3 ปี ยุทธศาสตร์นีโอพัทยา โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ว่าที่ผู้สมัครนายกเมืองพัทยา ในนามกลุ่มเรารักพัทยา พร้อมคณะผู้บริหารเมืองพัทยา คณะทำงานนายกเมืองพัทยา ตลอดจนประชาชนที่สนับสนุนเดินทางมาให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก

โดย นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้กล่าวว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งนายกเมืองพัทยา ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2561 ได้ขับเคลื่อนภารกิจสำคัญคือเรื่องเศษฐกิจ การท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชน ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาบริหารงานภายใต้วิสัยทัศน์ “นีโอพัทยา” เพื่อปรับเปลี่ยนพัทยาให้มีเศรษฐกิจกระจายหลายด้าน ทั้งท่องเที่ยว พักอาศัย และประกอบธุรกิจให้สามารถปกป้องตัวเองได้ดีจากวิกฤต

ในอนาคตแนวทางดังกล่าวจะยกระดับพัทยาให้เป็นเมืองน่าอยู่นานาชาติและเมืองแห่งโอกาสสำหรับทุกคน โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 มีการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ ช่วยให้พัทยาผ่านพันวิกฤติ มีการรักษาผู้ป่วยและฉีดวัคซีนเชิงรุก ดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ
พัทยาก็มีรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวก้าวสู่มิติใหม่ในฐานะ “เมืองต้นแบบ” และเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันออก

“การบริหารเมืองพัทยาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นโจทย์ท้าทายต้องอาศัยประสบการณ์และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพสูง เป้าหมายความสำเร็จตาม ยุทธศาสตร์ นี่โอพัทยา นีโอนาเกลือ
และนีโอเกาะล้าน สร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เชื่อมต่อการ
ทำงานกับผู้นำท้องถิ่นอื่นๆ จังหวัด และรัฐบาล ทั้งหมดผลักดันให้พัทยาประสบความสำเร็จ จนได้รับยกย่องว่าเป็นเมืองต้นแบบที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ นี่คือสิ่งที่ชาวพัทยาน่าภาคภูมิใจ”

ผลงานสำคัญในช่วง 3 ปี แบ่งเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย

1.ด้านการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 แม้ว่าเมืองพัทยาจะมีบทบาทจำกัดในฐานะองค์กรท้องถิ่น แต่ก็สร้างความปลอดภัย อุ่นใจ ให้ประชาชน ชุมชน และนักท่องเที่ยว เป็น Blue Zone เปิด
พื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564 มีมาตรการเชิงรุกตรวจหาผู้ติดเชื้อคัดกรองผู้ป่วยและการเขียวยารักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอน วางระบบ Hospitel ที่มีคุณภาพ 800 เตียง

การช่วยเหลือแรงงานภาคบริการที่ตกงาน จัดสรรงบประมาณซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มและบริการทั่วถึง ฉีดไฟเซอร์สำหรับเด็กเยาวชน 5,000 คน การจ่ายเงินเยียวยา 2 ครั้งๆละ 1,000 และ 2,000 บาทต่อครอบครัว โครงการ “หมอถึงบ้าน”ฉีดวัคซีนกับกลุ่มเปราะบางถึงที่บ้าน เป็นต้น

2.ด้านการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤต โดยเมืองพัทยาได้การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญชายหาดและวอล์คกิ้งสตรีท ถนนคนเดินพัทยาใต้ ชายหาดจอมเทียน การพัฒนากาะล้านสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
แลนด์มาร์คใหม่ดึงดูดการท่องเที่ยว

“เศษฐกิจเมืองพัทยากำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง เราจัดอีเวนต์ท่องเที่ยวทุกๆเดือน อาทิ พัทยา มิวสิค เฟสติวัล เทศกาลพลุเมืองพัทยา 2564 งานเทศกาลปีใหม่ 2565 เงินสะพัดนับพันล้านบาท โรงแรมสอร์ทริมชายทะลไปจนถึงบนเกาะล้านเกือบเต็มทั้งหมด เสียงตอบรับอย่างดีจากพ่อค้าแม่ค้า ร้านอาหารบริการตียงผ้าใบ วิสาหกิจชุมชนคนท้องถิ่น บอกว่าบรรยากาศพัทยากลับมาค๊กคักอีกครั้ง หลังจากได้รับผลกระทบรุนแรงมานานกว่าปี”

3.ด้านการแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองพัทยาแบบครบวงจรขับเคลื่อนการลงทุนแบบบูรณาการ ลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่รวดเร็วภายในไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะจุดวิกฤตน้ำท่วมซ้ำซาก
หรือชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำ มีทีมฟื้นฟูสู่สภาพปกติทันที เยียวยาประชาชนที่เดือดร้อน ไม่ว่า ชุมชนนาเกลือ ชุมชนซอยแตงโม บัวขาว บงกช โซนพัทยากลาง ชุมชนถนนเทพประสิทธิ์และชุมชน
ซอยวัดบุญสัมพันธ์ หาดจอมเทียน และถนนสุขุมวิท

การปรับปรุงระบบระบายน้ำสายหลักและสายรอง ก่อสร้างท่อส่งแรงดันน้ำ ขยายท่อระบายน้ำให้ใหญ่ขึ้น สร้างสถานีสูบน้ำ การขยายพื้นที่รับน้ำเพิ่มเดิม เพื่อผันน้ำออก และโครงการวางท่อ
ระบายน้ำฝั่งตะวันออกของทางรถไฟจะแล้วเสร็จปี 2566 รวมถึงการรื้อถอนอาคารผู้ฝ่าฝืนกล้ำที่สาธารณะ บังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 อย่างเด็ดขาด

  1. ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และ
    สุขภาพประชาชน เมืองพัทยามีโครงการปรับภูมิทัศน์ชายหาดเมืองพัทยาระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ร่วมมือกับภาคประชาสังคม อนุรักษ์ต้นไม่ใหญ่และต้นหูกวางตามแนวชายหาด โครงการนีโอ
    เกาะล้านส่งเสริมประชาคมมีส่วนร่วมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม

ด้านการสาธารณสุขได้ปรับปรุงโรงพยาบาลเมืองพัทยา รองรับผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ อาทิ ศูนย์จักษุ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ศูนย์โรคไต และอื่นๆ การพัฒนาศูนย์แพทย์ชุมชน และยกระดับโรงเรียนพัทยา 11 (สาธิตเมืองพัทยา) สร้างคนรุ่นใหม่และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพิ่มพื้นที่สาธารณะสำหรับออกกำลังกายและพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน เป็นต้น

5.ด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับ อีอีซีได้จัดทำแผนแม่บทดิจิทัลพัทยาระยะ 5 ปี รองรับวิถีชีวิตยุคใหม่ เน้นความเป็นสมาร์ทชิตี้ นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการเมืองพัทยาเป็นดิจิทัลออฟฟิศให้ประชาชนเข้าถึงบริการสะดวกรวดเร็ว มีช่องทาง LINE@ PATTAYA CONNECT สื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก

การพัฒนาเครือข่าย 5G การเชื่อมต่อข้อมูลจราจรและกล้องวงจรปิดตามเวลาจริง (Real time CCTV) ลดปัญหาจราจร เพิ่มความปลอดภัย นอกจากนั้น เริ่มทดลองนำรถยนต์ไฟฟ้าทดลองวิ่งที่เกาะล้าน เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสู่การเป็น Green City ปี 2565 และร่วมกับภาคเอกชน พัฒนาระบบ EV เป็นต้น

นายสนธยา กล่าวว่า ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและต้องสานต่อเพื่ออนาคต ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ “ลานโพธิ์-นาเกลือ” สู่ตลาดอาหารทะเลระดับโลกเป็นแลนด์มาร์คใหม่ ได้รับงบประมาณและเริ่มก่อสร้างอาคารจอดรถรองรับได้ 239 คัน และจะปรับปรุงตลาดขายอาหารทะเลสดและของฝาก

เปิดโอกาสให้วิสาหกิจชมชนเมืองพัทยา มาร่วมสร้างรายได้ การปรับปรุงสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ สนามเด็กเล่น สะพานและจุดชมทัศนียภาพ ปากคลองนาเกลือ และคลองนกยาง (สะพานยาว) ซึ่งเป็นป่าชายเลนผืนสุดท้ายเมืองพัทยา เมืองพัทยายังมีแผนลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมเบ็ดเสร็จในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง
และระยะยาว

และโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมือองพัทยา รถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way) จะเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งขณะนี้ได้ศึกษาเส้นทางในแต่ละเฟสและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อยู่ในขั้นเตรียมการ
ซึ่งมีผู้สนใจร่วมทุนจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายยกระดับการขนส่งเพื่อคนพัทยา นักท่องเที่ยว และประชาชนทุกระดับชั้น สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก

เชื่อมโยงการเดินทางและร่วมกับระบบขนส่งมวลชนท้องถิ่นเมืองพัทยา เช่น รถสองแถว รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถแท็กซี่และรถประจำทางด้วย รวมทั้ง โครงการนีโอเกาะล้าน ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณไปแล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ การสร้างถนนรอบเกาะล้านที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมจำนวน 15 เส้นทาง การพัฒนาระบบเตาเผาขยะและบำบัดน้ำเสีย การพัฒนาท่าเทียบเรือที่สะดวกปลอดภัย

นายสนธยา กล่าวทิ้งท้ายว่า ในเวลาเพียงสามปี และมีวิกฤตโควิดสองปี ผมมั่นใจว่าพวกเราเห็นพัทยาก้าวมาได้ดีและจะดีมากขึ้นในอนาคตเมื่อโครงการต่าง ๆเสร็จเรียบร้อย จึงขอฝากนายกเมืองพัทยาคนใหม่ ให้สานต่อวิสัยทัศน์เมืองพัทยา ยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (2566-2570) ที่ประชาชนทุกภาคส่วนมาร่วมกันจัดทำไว้ เพื่อสร้างเมืองแห่งโอกาส เศรษฐกิจสมดุล คุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนต่อไปด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts