วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการส่งออก-ตลาดต่างประเทศผู้ค้าข้าวปลื้ม ยอดส่งออกข้าวโต ฟันธง 3 เดือนยอดพุ่ง 2.5 ล้านตัน

Related Posts

ผู้ค้าข้าวปลื้ม ยอดส่งออกข้าวโต ฟันธง 3 เดือนยอดพุ่ง 2.5 ล้านตัน

2 เมษายน 2567 สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเผยยอดส่งออกข้าวไทยไปตลาดโลกในช่วง 2 เดือนแรกปี 67 ยังเติบโตตามความต้องการข้าวหลายประเทศทั่วโลก โดยมีปริมาณถึง 1,747,966 ตันเพิ่มขึ้น 24.4% มูลค่ากว่า 1,126.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดไตรมาสแรกยอดส่งออกข้าวไทยได้แน่เกิน 2.5 ล้านตัน โดยความต้องการข้าวไทยยังสูงอยู่แม้บางประเทศยอดความต้องการจะลดลงบ้างก็ตาม ชี้ตลอดปี 67 ยอดส่งออกเกิน 7.5 ล้านตัน

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเผยถึงยอดการส่งออกข้าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณ 800,225 ตัน มูลค่า 18,531 ล้านบาท โดยปริมาณลดลง 15.6% และมูลค่าลดลง 11.2% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 ที่มีการส่งออกมีปริมาณ 947,742ตัน มูลค่า 20,870 ล้านบาท เนื่องจาก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 การส่งออกข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวหอมมะลิมีปริมาณลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการส่งมอบข้าวขาว ให้กับผู้ซื้อที่สำคัญทั้งอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ มาเลเชีย รวมทั้งอิรัก มีปริมาณลดลงพอสมควรจากเดือนก่อนที่ผู้ซื้อต่างเร่งนำเข้าเพื่อชดเชยอุปทานข้าวในประเทศที่ลดลง

โดยการส่งออกกลุ่มข้าวขาวมีปริมาณ 503,733 ตัน ลดลง 25.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยยังคงส่งไปยังตลาดหลัก เช่น อิน โดนีเชีย ฟิลิปปินส์ แองโกล่า มาเลเชีย อิรัก โมชัมบิก โตโก เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวนึ่ง มีปริมาณเพียง 43.574 ตัน ลดลง 33.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่งไปยังตลาดหลัก เช่น แอฟริกาใต้ เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว มีปริมาณ 114.424 ตัน ลดลง 4.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยยังคงส่งไปยังตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ฮ่องกง แคนาดา จีน สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร เป็นต้น

สมาคมฯคาดว่าในเดือนมีนาคม 2567 ปริมาณส่งออกข้าวจะอยู่ที่ระดับประมาณ 800,000 ต้น ดังนั้นในช่วงไตรมาสแรก จึงคาดว่าปริมาณส่งออกจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านตัน เนื่องจากผู้ส่งออกยังคงมีสัญญาส่งมอบข้าวที่ยังต้องส่งมอบให้ผู้ซื้อพอสมควร

ทั้งในกลุ่มของข้าวขาวซึ่งส่วนใหญ่ยังคงส่งไปยังประเทศในแถบอาเชียน เช่น อิน โดนีเชีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมทั้งตลาดหลักในภูมิภาคแอฟริกา และตะวันออกกลาง เช่นเดียวข้าวนึ่งที่มีคำสั่งชื่อมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการที่อินเดียยังคงมีภาษีส่งออกข้าวนึ่ง ซึ่งขยายเวลาออกไปไม่มีกำหนด

ขณะที่ตลาดนำเข้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญทั้งในอเมริกา และเอเชีย ยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่องเพื่อชดเชยอุปทานข้าวในประเทศที่ลดลง ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังของไทยเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลง ช่วยทำให้ราคาข้าวของไทยอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้และจูงใจให้ผู้ซื้อหันมาหาข้าวไทยมากขึ้น โดยราคาข้าวไทย ข้าวขาว 5% ของไทย ณ วันที่ 27 มีนาคม 2567 อยู่ที่ 601 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนาม และปากีสถานอยู่ที่ 582-586 และ 605-609 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ ส่วนราคาข้าวนึ่งไทยอยู่ที่ 606 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ข้าวนึ่งอินเดียและปากีสถานอยู่ที่ 55 1-555 และ 618-622 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน

อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ตัวเลขส่งออกข้าวช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ) มีปริมาณ 1,747,966 ตัน มีมูลค่า1,126.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเป็นเงินบาท 39,401 ล้านบาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 24.4% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 55.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2566 ที่ส่งออกปริมาณ 1,405,337 ตัน มูลค่า 25,408 ล้านบาท (754.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และประเมินว่ายอดส่งออกข้าวไทยที่คาดการณ์ไว้ปีนี้ 7.5 ล้านตันน่าจะเกินกว่าเป้าหมายนี้แน่นอนแต่จะเป็นอัตราไหนนั้นทางสมาคมฯอยู่ระหว่างพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts