วันจันทร์, มิถุนายน 24, 2024
หน้าแรกข่าวประชาสัมพันธ์กสม. ตรวจเยี่ยมเรือนจำพิเศษมีนบุรี ชื่นชมแนวปฏิบัติในการแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาดตามหลักสิทธิมนุษยชน

Related Posts

กสม. ตรวจเยี่ยมเรือนจำพิเศษมีนบุรี ชื่นชมแนวปฏิบัติในการแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาดตามหลักสิทธิมนุษยชน

(กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2567)

กสม. ตรวจเยี่ยมเรือนจำพิเศษมีนบุรี ชื่นชมแนวปฏิบัติในการแยกคุมขัง ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาดตามหลักสิทธิมนุษยชน – ตรวจสอบกรณีร้านสะดวกซื้อเอาเปรียบพนักงาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย – แสดงความยินดีที่ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้หายสาบสูญ

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2567 โดยมีวาระสำคัญ 3 วาระ ดังนี้

  1. กสม. ตรวจเยี่ยมเรือนจำพิเศษมีนบุรี ชื่นชมแนวปฏิบัติในการแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาดตามหลักสิทธิมนุษยชน

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ดำเนินโครงการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้มีข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์ ให้เร่งปรับปรุงกฎกระทรวงที่ออกตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1 เพื่อจำแนกผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีออกจากผู้ต้องขังเด็ดขาดเพื่อให้ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างและเหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องขังเด็ดขาด ประกอบกับที่ผ่านมา กสม. ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่องถึงเรื่องการแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาดเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 กสม. โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เข้าตรวจเยี่ยมเรือนจำพิเศษมีนบุรีเพื่อติดตามผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ กสม. เรื่องการแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาด โดยมีนายนนทรัตน์ หอมศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษมีนบุรี นำเข้าตรวจเยี่ยมภายในเรือนจำ ผลการตรวจเยี่ยมพบว่า เรือนจำพิเศษมีนบุรีเป็นเรือนจำต้นแบบในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีของกรมราชทัณฑ์ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด ได้แก่ การแยกคุมขังออกจากผู้ต้องขังเด็ดขาด การใช้ชีวิตประจำวัน การแต่งกายสามารถสวมใส่เสื้อผ้าทั่วไปที่ญาติฝากให้ได้ การไว้ทรงผมไม่ต้องตัดผมสั้นตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ. 2565 สำหรับการเดินทางไปศาลให้ใส่เสื้อมีแถบสีที่แขนเสื้อและสวมใส่กางเกงวอร์มขายาวต่างจากผู้ต้องขังเด็ดขาด

นอกจากติดตามเรื่องการจำแนกผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีออกจากผู้ต้องขังเด็ดขาดข้างต้นแล้ว กสม. ยังได้ติดตามความคืบหน้าของเรือนจำพิเศษมีนบุรีในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหลากหลายทางเพศตามข้อเสนอแนะของ กสม. ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การคุมขัง การตัดผม การรับฮอร์โมนเพศ และการตรวจหาเชื้อ HIV โดยได้ข้อมูลว่า ปัจจุบันนี้กรมราชทัณฑ์ได้ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ กสม. ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องขังไปศาล โดยเห็นว่ากรมราชทัณฑ์ควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้แทนการใส่ตรวนข้อเท้าผู้ต้องขัง เพื่อให้การปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กสม. ขอชื่นชมในความตั้งใจขับเคลื่อนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีให้แตกต่างจากผู้ต้องขังเด็ดขาด เนื่องจากเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of innocence) ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ข้อ 14 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 วรรคสอง ซึ่ง กสม. เห็นว่า นโยบายนี้จะประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมได้กรมราชทัณฑ์ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเห็นถึงความจำเป็นในการจำแนกผู้ต้องขังด้วย

ทั้งนี้ ทราบว่ากรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งเรือนจำศูนย์ระหว่างการพิจารณาคดีในเขตจังหวัดต่าง ๆ แบ่งเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดลำปาง พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น นครศรีธรรมราช สงขลา ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายแยกผู้ต้องขังดังกล่าว สำหรับเรือนจำอื่น ๆ ให้แยกการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาดตามลักษณะทางกายภาพของเรือนจำตามความเหมาะสม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts