วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
หน้าแรกอาชญากรรมตำรวจสอบสวนกลาง (CIB ) ร่วม อย. สสจ. นครปฐม และปศุสัตว์ ตัดวงจรอย่าเถื่อน ทลาย 2 เครือข่ายผลิต...

Related Posts

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB ) ร่วม อย. สสจ. นครปฐม และปศุสัตว์ ตัดวงจรอย่าเถื่อน ทลาย 2 เครือข่ายผลิต จำหน่าย และนำเข้า ยา สัตว์เถื่อน ที่ผิดกฎหมาย ส่งผลอันตรายและผลกระทบต่อสัตว์ มูลค่ากว่า 48 ล้านบาท

วันนี้ (18 มิ.ย 67) เวลา 10.30 น. ที่ ชั้น 2 กองบังคับการปราบปราม ตำรวจสอบสวนกลาง พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. และ นายกองตรี ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ร่วม แถลงข่าว ผลการปฏิบัติ กรณี ทลายเครือข่ายผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และนำเข้ายาสัตว์เถื่อน ในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร ตรวจยึดของกลางจำนวน 214,894 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 84 ล้านบาท

สืบเนื่องจาก กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย ) ให้ทำการตรวจสอบการลักลอบผลิตยาสัตว์เถื่อน สถานที่เก็บ และ จำหน่ายยาสัตว์เถื่อน ซึ่งหากนำมาใช้กับสัตว์อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ส่งผลให้มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยลงกว่าวัยอันควร เกิดภาวะช็อก หมดสติ หรือเสียชีวิต อีกทั้งแม้ยาดังกล่าวไม่มีผลโดยตรงกับมนุษย์แต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้ได้

ซึ่งเมื่อประมาณ เดือนเมษายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้กวาดล้างแหล่งผลิตและจำหน่ายยาหยอดเห็บหมัดเถื่อนตรวจยึดของกลาง กว่า 40,450 ชิ้น ตามท้องตลาด จึงเป็นที่มาของการระดมกวาดล้างเครือข่ายผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและผู้นำเข้าจากต่างประเทศในครั้งนี้จำนวน 2 เครือข่าย จากการสืบสวนพบว่ากลุ่ม เครือข่ายดังกล่าว เป็นกลุ่มเครือข่ายที่เคยถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ.ร่วมกับ อย. ดำเนินคดีมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2563 กรณีคดีนักวิ่งถูกวางยา ยาไซชาซีน ที่ใช้กลุ่มสัตว์ในน้ำดื่ม ขณะที่ไปวิ่งที่สวนสาธารณะพื้นที่ จังหวัดนนทบุรี แต่การสืบสวนยังพบ การลักลอบผลิตจำหน่ายมาอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ อย. ได้ประสานข้อมูลและเฝ้าระวังร่วมกันมาโดยตลอดโดยพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีแหล่งผลิตอยู่ในพื้น อำเภอกำแพงแสน โดยเมื่อผลิตเสร็จแล้วสินค้าจะถูกนำไปจำหน่ายในพื้นที่ และกระจายตามร้านเพ็ทช็อป และผ่านช่องทางออนไลน์ไปทั่วประเทศประเทศ

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 กรณีพบการลักลอบตั้งโรงงานผลิตผลิตยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโรงงานเถื่อน มีความผิด ผลิตยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาตระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งถ้าผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณียารับประทานสำหรับสัตว์ ผู้จำหน่ายจะมีความผิดขายยาขึ้นทะเบียนตำรับยาระหว่างโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 5000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และการโฆษณาขายยาทางออนไลน์ มีความผิดฐานโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับ อนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพจากผู้อนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา 88 ทวิ โทษ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. กล่าวว่า ผู้ผลิตและขายยาจะต้อง ขออนุญาตให้ถูกต้องเพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าอย่าผลิตมาสู่ท้องตลาด มีมาตรฐาน และรักษาโรคได้จริง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์ทุกชนิดที่ใช้ยารักษาสัตว์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts