วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นจันทบุรี /พุทธศาสนิกชน ในจันทบุรี ร่วมทำบุญที่วัดอย่างแน่น “วันอาสาฬหบูชา”

Related Posts

จันทบุรี /พุทธศาสนิกชน ในจันทบุรี ร่วมทำบุญที่วัดอย่างแน่น “วันอาสาฬหบูชา”

วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ที่วัดช้างข้าม อ.ยายายอาม จ.จันทบุรี พุทธศาสนิกชน ในจันทบุรี ร่วมทำบุญที่วัดอย่างแน่น ใน วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โดยวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก ในวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ จนได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 บริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือมีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์


ทั้งนี้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และต่อมาพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับต่อมา

ใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

1มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลัก ปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 มี

    1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
    2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
    3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
    4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
    5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
    6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
    7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
    8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
    9. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
    10. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
    11. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ
    12. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
    13. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

    ยังมีกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือการทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียน ซึ่งทางวัดช้างข้ามก็ได้มีจัดการให้มีการเวียนเทียนกัน ตั้งแต่เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป เพืีอเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของ พุทธศาสนิกชนของไทย และ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัดทำบุญ เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชำชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิต ต่อไปในวันข้างหน้า ทั้งยังได้ความสุขกายสุขใจ ในการทำบุญในวันอาสาฬหบูชา ในครั้งนี้…

    ทิ้งคำตอบไว้

    กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
    กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

    spot_img

    Latest Posts