“…ผ่านมาได้พยายามขอให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบการทุจริตการก่อสร้างและการดำเนินการต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด แต่ถูกเพิกเฉยไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลหรือชี้แจงใด ๆ แล้วยังมีคำสั่งในทางลับมิให้บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้อมูลหรือเอกสารหรือความเห็นใด ๆ รวมทั้งคาดโทษหากมีการฝ่าฝืนคำสั่งลับดังกล่าว และสำหรับกรณีไม้ปูพื้นที่ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญาฯ ที่ปรากฎว่าเป็น “ไม้พะยอม” ไม่ใช่ “ไม้ตะเคียนทอง” ตามที่สัญญากำหนด การตรวจรับงานอันเป็นเท็จไม่ว่าในขั้นตอนใดก็ตาม ผู้กระทำย่อมมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีความผิดทางอาญา..”
(12 เม.ย.65) ที่อาคารรัฐสภา เมื่อเวลา 9.00 น. นายวัชระ เพชรทอง อดี ตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านงานสารบรรณถึง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดในการทุจริตการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ฯจากกรณีเมื่อวันที่ 8 เม.ย.65 นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ นายสาธิต ประเสริฐศักดิ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ฯ ได้ร่วมกันแถลงชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชน โต้แย้งการยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร กรณีนายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเผยถึงการที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนำวัคซีนป้องกัน COVID-19 ไปให้กับบุคคลภายนอก และกรณีไม้ที่ทำการปูพื้นอาคารรัฐสภาไม่ตรงตามข้อกำหนดในสัญญาก่อสร้างอาคารรัฐสภาฯ โดยเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ชี้แจงกรณีไม้ปูพื้นว่า “การตรวจรับไม่แล้วเสร็จ” นั้น
นายวัชระ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนายชวนว่า ขณะนี้ความจริงได้ถูกเปิดเผยออกมาว่า ไม้ที่ใช้ในการปูพื้นอาคารรัฐสภาฯ ผ่านมาได้พยายามขอให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบการทุจริตการก่อสร้างและการดำเนินการต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด แต่ถูกเพิกเฉยไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลหรือชี้แจงใด ๆ แล้วยังมีคำสั่งในทางลับมิให้บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้อมูลหรือเอกสารหรือความเห็นใด ๆ รวมทั้งคาดโทษหากมีการฝ่าฝืนคำสั่งลับดังกล่าว และสำหรับกรณีไม้ปูพื้นที่ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญาฯ เป็นผลจากการติดตามตรวจสอบการทุจริตการก่อสร้างอาคารรัฐสภาฯ ของตนและนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ มาเป็นเวลาหลายปี มิใช่กรณีที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งใจจะแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องเอง ที่ผ่านมาได้พยายามขอให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบการทุจริตการก่อสร้างและการดำเนินการต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด แต่ถูกเพิกเฉยไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลหรือชี้แจงใด ๆ แล้วยังมีคำสั่งในทางลับมิให้บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้อมูลหรือเอกสารหรือความเห็นใด ๆ รวมทั้งคาดโทษหากมีการฝ่าฝืนคำสั่งลับดังกล่าว และสำหรับกรณีไม้ปูพื้นที่ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญาฯ ตนได้พยายามโต้แย้งเป็นหนังสือ แถลงข่าวถึงความไม่ชอบถึงการดำเนินการดังกล่าวเป็นเวลานาน จนมีกรรมการตรวจจ้างบางส่วน ไม่อยากมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย จึงต้องมีหนังสือไปถึงกรมป่าไม้ให้ตรวจสอบ ปรากฎว่าเป็น “ไม้พะยอม” ไม่ใช่ “ไม้ตะเคียนทอง” ตามที่สัญญากำหนด ทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ว่าจ้าง) ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงที่ได้ไม้คุณภาพต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งการกระทำของผู้รับจ้างดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ว่าจ้าง) มีเหตุในการบอกเลิกสัญญาฯ ได้ แต่ผู้รับจ้างยืนยันว่าได้ใช้ไม้ชนิดที่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญาฯ โดยมีที่ปรึกษาบริหารโครงการและผู้ควบคุมงานก่อสร้างให้ความเห็นสนับสนุนและยืนยันในข้อเท็จจริงดังกล่าว
จนคณะกรรมการตรวจการจ้างฯ หลงเชื่อว่าชนิดของไม้ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญาฯจึงตรวจรับงานและจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้าง ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่อถึงการกระทำความผิดทางอาญาสำเร็จแล้ว ขณะที่ในเอกสารแถลงข่าวของนางพรพิศ บอกว่า “การตรวจรับไม่แล้วเสร็จ” ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ตรงกับกรรมการตรวจการจ้างทั้ง 3 คนดังกล่าวที่ทำหนังสือราชการเป็นหลักฐานและลงลายมือชื่อยืนยันว่า “มีการตรวจรับแล้ว” และ “มีการจ่ายให้กับผู้รับจ้างแล้ว”
ด้วยหลัก “ความจริงย่อมมีเพียงหนึ่งเดียว” หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่กรรมการตรวจการจ้างทั้ง 3 คน คำแถลงของเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่บอกว่า “การตรวจรับไม่แล้วเสร็จ” จึงเป็นความเท็จ อันถือเป็นการกระทำความผิดทางวินัย จริยธรรม และมีการกระทำอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน และเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่นางพรพิศจะไม่รู้เรื่อง เพราะเป็นผู้อนุมัติการจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้างในกรณีดังกล่าวเองตามระเบียบพัสดุ และผู้มีอำนาจตามกฎหมายต้องให้ความคุ้มครองกับกรรมการตรวจการจ้างทั้ง 3 คน เป็นการด่วน เนื่องจากเป็นพยานสำคัญที่สามารถให้ข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ แต่หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่นางพรพิศยืนยันว่า “การตรวจรับไม่แล้วเสร็จ” ก็ต้องดำเนินการกับกรรมการตรวจการจ้างทั้ง 3 คน ทั้งทางวินัยและคดีอาญา ในการทำเอกสารเท็จและรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทางราชการและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ผู้รับจ้าง)
นายวัชระ กล่าวว่า สัญญาการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ฯ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาแล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและผู้เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติตามสัญญาและเอกสารประกอบทั้งหมดอย่างเคร่งครัด จะไปใช้อำนาจหรือดุลพินิจใด ๆ ที่ขัดหรือไม่เป็นไปตามสัญญาฯ และเอกสารประกอบที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาไม่ได้
งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างมาจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศ มิใช่เงินส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่สามารถจะใช้ได้ตามอำเภอใจว่า จะจ่ายเงินให้กับใคร เพิ่มเงินค่าจ้างให้กับใคร โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการและสัญญาได้ หากมีการกระทำเช่นนั้น ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้ว่าจ้าง ย่อมเป็นผู้เสียหายที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด ทั้งทางอาญา แพ่ง ละเมิดกับผู้ที่กระทำความผิดในการทุจริตการก่อสร้างอาคารรัฐสภาโดยไม่ละเว้น ไม่ว่าจะมีความใกล้ชิดหรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกันประการใด การละเว้นไม่ดำเนินการตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดทางอาญาที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะได้รับต่อไป รวมทั้งในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการก่อสร้าง ต้องนำไม้ที่ถูกต้องตามชนิดที่กำหนดในสัญญาฯ มาเปลี่ยนให้ครบถ้วน เป็นหน้าที่ตามกฎหมายและสัญญาฯ ทั้งนี้ การตรวจรับงานอันเป็นเท็จไม่ว่าในขั้นตอนใดก็ตาม ผู้กระทำย่อมมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีความผิดทางอาญา จึงขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิด และระงับยับยั้งความเสียหายต่อทางราชการ และภาษีอากรของประชาชนมิให้เกิดขึ้นมากเกินไปกว่านี้