“….”คำสั่งแต่งตั้งพนักงานประจำ (รองเลขาธิการฯ)ที่ลงนามโดย นายสุทธิศักดิ์ ข้างต้น เป็นการประเมินผลงานล่วงหน้ากว่า 7 เดือน ซึ่งตามข้อเท็จจริงจากวาระการประชุมคณะกรรมการกสทช.ที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่าประธาน กสทช. ได้เคยนำเรื่องการประเมินผลงานของรองเลขาธิการรายดังกล่าว เข้ามาสู่การพิจารณาของ กสทช. แต่อย่างใด” แหล่งข่าวในสำนักงาน กสทชเปิดเผยว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า คำสั่งแต่งตั้งนายไตรรัตน์ที่ลงนามโดยนายสุทธิศักดิ์ เกิดขึ้นหลังจากที่ นายสุทธิศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งจากนายไตรรัตน์ ให้ทำหน้าที่ “รักษาการเลขาธิการ กสทช.” ระหว่างวันที่ 5-9 ตุลาคม 2567 ตามคำสั่ง กสทช.ที่1019/2567 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เนื่องจากนายไตรรัตน์ มีภารกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศ กับประธาน กสทช. ก่อนที่ นายสุทธิศักดิ์ ในฐานะรักษาการ เลขาธิการ กสทช. จะ มีคำสั่งลงวันที่ 7 ตุลาคม 2567 แต่งตั้ง นายไตรรัตน์ เป็นรองเลขาธิการ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ยาวไปจนเกษียณอายุ (60ปี) อย่างไรก็ตามล่าสุดมีรายงานว่า นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ได้ทำหนังสือ ถึง ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคคล (อบย.) ขอยกเลิกคำสั่งสำนักงานเลขที่ 1016/2567 ที่ตนเป็นผู้ลงนามไปก่อนหน้า โดยอ้างว่าอาจไม่อยู่ในอำนาจของ รักษาการเลขาฯ ที่จะออกคำสั่งในลักษณะดังกล่าว…”
กสทช.แดนสนธยาของแทร่!
ประธาน กสทช.ทำพิลึกอุ้มเลขาคู่ขวัญนั่งรักษาการจนเกษียณคาเก้าอี้
หลังบอร์ด กสทช.หักดิบไม่โหวตให้นั่งเลขา
รองเลขาฯเพื่อนซี้ผวาคุกลนลานเพิกถอนคำสั่งตัวเองให้วุ่น
สุดพิลึก แดนสนธยา กสทช.ของแทร่!ประธานบอร์ด กสทช.ชงตั้งแท่นตั้ง “ไตรรัตน์” นั่งรองเลขาจนหมดอายุงานคาเก้าอี้ แต่หวั่นถูกบอร์ดเพ่นกบาล ต้องลนลานออกคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมกันให้วุ่น
ปรากฏการณ์ที่อาจส่อให้เห็นความไม่ชอบมาพากลในการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในสำนักงาน กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ทำเอาวงการ โทรคมนาคมและผู้ปฏิบัติงานในกสทช แปลกประหลาดใจไปตามๆ กัน
หลังจาก มี รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2567 สำนักงาน กสทช. มีคำสั่ง เลขที่ 1016/2567 เรื่องการแต่งตั้งพนักงานซึ่งปฏิบัติงานเป็นการประจำลงนามโดย นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการสายงานกิจการโทรคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่รักษาการเลขาธิการ กสทช. โดยในเนื้อหาเป็นคำสั่ง แต่งตั้งพนักงานผู้บริหารประจำสำนักงานกสทช เป็นการล่วงหน้าถึง 6 เดือน โดยให้ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ตำแหน่ง รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และแต่งตั้งให้เป็นพนักงานประจำ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สัญญาจ้างฉบับปัจจุบันของ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ในตำแหน่ง รองเลขาธิการ ด้านยุทธศาสตร์ฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 มีระยะเวลา 5 ปี สิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2568 ซึ่งปกติแล้ว การประเมินผลงานของรองเลขาธิการ ด้านยุทธศาสตร์ฯ ควรจะทำในช่วงต้นปี 2568 แต่จู่ๆ กลับปรากฏว่า สำนักงาน กสทช. กลับมุกมิบดำเนินการประเมินผลงาน ให้ลองเลขาธิการรายดังกล่าวผ่านการประเมินผลงานไปอย่างเงียบเชียบ
คำสั่งแต่งตั้ง รองเลขาธิการ กสทช. ล่วงหน้า ดังกล่าว ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเนื่องด้วย ตามระเบียบสำนักงาน ข้อ 29. วรรค 4 ระบุว่า “ให้เลขาธิการ กสทช. เป็นผู้ออกคำสั่งบรรจุ และ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งตามวรรค 1 โดยความเห็นชอบของ กสทช.” ดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ กสทช. ทั้งคณะ ด้วย
นอกจากนี้ ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 24/2564 วันที่ 17 ธันวาคม 2564 ในระเบียบวาระที่ 5.3.8 : ข้อเสนอหลักการการปรับปรุงระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2555 ได้เคยมีมติเสียงข้างมากเห็นชอบให้กำหนดตำแหน่งรองเลขาธิการ กสทช. สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร เป็นตำแหน่งพนักงานประจำ (คือเกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปีและไม่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างเป็นระยะ) โดยต้องเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน กสทช. กำหนด โดยความเห็นชอบของ กสทช. โดยกรรมการ กสทช.เสียงข้างมากมีมติว่า “สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ กสทช. สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กรในปัจจุบัน เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่ง หากมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ ให้บรรจุและแต่งตั้งเข้าเป็นพนักงานประจำต่อไป”
“คำสั่งแต่งตั้งพนักงานประจำ (รองเลขาธิการฯ) ที่ลงนามโดย นายสุทธิศักดิ์ ข้างต้น เป็นการประเมินผลงานล่วงหน้ากว่า 7 เดือน ซึ่งตามข้อเท็จจริงจากวาระการประชุมคณะกรรมการกสทช.ที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่าประธาน กสทช. ได้เคยนำเรื่องการประเมินผลงานของรองเลขาธิการรายดังกล่าว เข้ามาสู่การพิจารณาของ กสทช. แต่อย่างใด”
#สุดอึ้ง! คนชงตั้งชง ตั้งคนชง
แหล่งข่าวในสำนักงาน กสทช.เปิดเผยว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า คำสั่งแต่งตั้งนายไตรรัตน์ที่ลงนามโดยนายสุทธิศักดิ์ เกิดขึ้นหลังจากที่ นายสุทธิศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งจาก นายไตรรัตน์ ให้ทำหน้าที่ “รักษาการเลขาธิการ กสทช. “ ระหว่างวันที่ 5-9 ตุลาคม 2567 ตามคำสั่งกสทช.ที่1019/2567 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เนื่องจากนายไตรรัตน์ มีภารกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศ กับประธานกสทช.
ก่อนที่ นายสุทธิศักดิ์ ในฐานะรักษาการ เลขาธิการกสทชจะ มีคำสั่งลงวันที่ 7 ตุลาคม 2567 แต่งตั้ง นายไตรรัตน์ เป็นรองเลขาธิการ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ยาวไปจนเกษียณอายุ(60ปี)
#ยกเลิกคำสั่งตั้งของตัวเอง
อย่างไรก็ตามล่าสุดมีรายงานว่า นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ได้ทำหนังสือ ถึง ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคคล (อบย.) ขอยกเลิกคำสั่งสำนักงานเลขที่ 1016/2567 ที่ตนเป็นผู้ลงนามไปก่อนหน้า โดยอ้างว่าอาจไม่อยู่ในอำนาจของ รักษาการเลขาฯ ที่จะออกคำสั่งในลักษณะดังกล่าว
แหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช.ตั้งข้อสังเกตว่าการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองเลขาธิการ กสทช.ในครั้งนี้ อาจเพราะนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน เห็นว่า คำสั่งที่ตนออกไปก่อนหน้าในช่วงที่ทำหน้าที่รักษาการเลขาธิการ กสทช.นั้น อาจมีปัญหาข้อกฏหมาย เนื่องจากคำสั่งที่ตั้งรักษาการเลขาธิการ กสทช.ในช่วงที่นายไตรรัตน์ เดินทางไปต่างประเทศ กับ ประธาน กสทช.นั้น กำลังถูกมองว่าเป็นการตั้งเพื่อน เข้ามาทำหน้าที่ประเมิน ให้ นายไตรรัตน์ ผ่านการประเมิน และต่ออายุการทำงาน ออกไปจนเกษียณ ซึ่งนายสุทธิศักดิ์ ที่ ทำงานอยู่ใน กสทช. มากว่า 20 ปี น่าจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี เหตุใดจึงยอมลงนามคำสั่ง ดังกล่าวได้ แต่เมื่อ นายสุทธิศักดิ์ ถูกทักท้วงถึงความไม่เหมาะสม และมีประโยชน์ทับซ้อน จึงรีบยกเลิกคำสั่งของตนเอง
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตาหลังจากนี้ เมื่อ ประธาน กสทช. และ นายไตรรัตน์ เดินทางมาจากต่างประเทศในสัปดาห์นี้จะแก้เกมส์เรื่องนี้อย่างไร จะยังคงยืนยันคำสั่งแต่งตั้งของรักษาการเลขาธิการ กสทช.ก่อนหน้าในการบรรจุแต่งตั้งนายไตรรัตน์ล่วงหน้าถึง 6-7 เดือนต่อไป และจะหาทางเลี่ยงไม่ยอมนำเสนอเรื่องให้ ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. พิจารณาได้อย่างไร
ได้เห็นการทำงานของผู้บริหาร กสทช.ระดับสูงทำงาน ทำงาน บริหารงานกันเหมือนเด็กเล่นขายของ เหมือนดูละคร ดูจำอวดไปวันๆ คงคาดหวังอะไรไม่ได้กับการที่จะทำให้กสทช.เป็นหน่วยงานหลักเพื่อพัฒนาชาติไทย?