วันเสาร์, ธันวาคม 7, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการคมนาคม-โลจิสติกส์จับโป๊ะ! คมนาคม-สกพอ.แก้สัมปทานไฮสปีดเทรน

Related Posts

จับโป๊ะ! คมนาคม-สกพอ.แก้สัมปทานไฮสปีดเทรน

“…จับโป๊ะคมนาคม-สกพอ.ตั้งแท่น แก้สัมปทาน ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน อ้างวิกฤตโควิด ทำเอกชนระดมทุนได้ยาก ต้องแก้สัญญา ให้โครงการเดินหน้าต่อ โดยรัฐปรับร่นเวลาจ่ายเงิน ร่วมทุน 1.2 แสนล้านเร็วขึ้น ด้านสตง.เตือนขัดหลักการประมูล- สัญญาร่วมลงทุน แต่ “สุริยะ” ยืนกรานไม่เอื้อเอกชน เป็นโครงการต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อน  ยันโครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ลดระยะเวลาเดินทางจาก กทม.ไปอู่ตะเภาได้มาก การเดินหน้าโครงการนี้จึงเป็นประโยชน์ ยืนยันการเดินหน้าโครงการนี้รัฐบาลไม่เสียเปรียบเอกชน 100% เพราะการแก้ไขสัญญาต่างๆ มีอัยการเข้ามาช่วยดูแล..”

จับโป๊ะ! คมนาคม-สกพอ.แก้สัมปทานไฮสปีดเทรน

อ้างวิกฤติโควิดเอกชนหืดจับระดมทุน 2 แสนล้าน

แต่ตั้งแท่นแก้สัญญาถลุงเงินรัฐ เปิดทางเอกชนจับเสือมือเปล่า

เมินคำเตือน สตง.ขัดหลักการร่วมลงทุน

จับโป๊ะคมนาคม-สกพอ.ตั้งแท่น แก้สัมปทาน ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน อ้างวิกฤตโควิด ทำเอกชนระดมทุนได้ยาก ต้องแก้สัญญา ให้โครงการเดินหน้าต่อ โดยรัฐปรับร่นเวลาจ่ายเงิน ร่วมทุน 1.2 แสนล้านเร็วขึ้น ด้านสตง.เตือนขัดหลักการประมูล- สัญญาร่วมลงทุน ด้าน”สุริยะ”ยืนกรานไม่เอื้อเอกชน เป็นโครงการต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการแก้ไข สัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิ น(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 2.24 แสนล้านว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ยังไม่ได้นำเสนอ ครม. สัปดาห์นี้ คาดว่าคงจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม

ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้เจรจากับภาคเอกชน คือบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (เครือ ซีพี.) โดยเอกชนได้รับผลกระทบจากโควิด อยากให้รัฐบาลแก้ไขเยียวยา ซึ่งมีข้อเสนอมา 6 ข้อ แต่คณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาเห็นว่ามีเพียงข้อเดียวที่จะรับได้คือ เรื่องต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ส่วนข้อเรียกร้องประเด็นค่าก่อสร้างเพิ่มเติมที่เอกชนขอมานั้น รฟท.ไม่ได้ให้ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบโควิด เรามองว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงต้องแก้สัญญา โดยได้ดูครบถ้วนทุกประเด็นที่รัฐไม่เสียประโยชน์ ประกอบกับเราอยากให้โครงการนี้เดินต่อ หากมีการยกเลิกสัญญาปัญหาจะตามมา รัฐเองต้องยอมรับว่าไม่สามารถส่งพื้นที่ก่อสร้างให้กับเอกชนได้ เอกชนเองที่ต้องจ่ายในส่วนของแอร์พอร์ตลิงก์ให้ก็ไม่ได้จ่าย ทำให้ต้องเจรจากัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องการเจรจา ตนไม่ใช่ผู้ริเริ่มเจรจา แต่เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจาก รฟท. และเข้ามาที่สำนักงานนโยบายและแผนงานและขนส่งจราจร กระทรวงคมนาคม เป็นผู้กรองเรื่อง ซึ่งเห็นแล้วว่าเป็นประโยชน์ ไม่เสียเปรียบ ตนจึงได้เซ็นเรื่องไป

“โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ลดระยะเวลาเดินทางจาก กทม.ไปอู่ตะเภาได้มาก การเดินหน้าโครงการนี้จึงเป็นประโยชน์ ยืนยันการเดินหน้าโครงการนี้รัฐบาลไม่เสียเปรียบเอกชน 100% เพราะการแก้ไขสัญญาต่างๆ มีอัยการเข้ามาช่วยดูแล” นายสุริยะ กล่าว

ตกลงที่รัฐบาลและการรถไฟฯ ยอมแก้ไขสัญญานั้น เพราะวิกฤตไวรัสโควิด-19 หรือสงครามรัสเซีย-ยูเครนกันแน่ และที่เอกชนอ้างผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้กู้เงินได้ยากขึ้น จึงขอให้รัฐช่วยเหลือกระนั้นหรือ?

คำถามคือในแนวทางการแก้ไขสัญญาที่กำลังตั้งแท่นเสนอ ครม.นี้ มีส่วนไหนที่รัฐช่่่วยเหลือเรื่องเงินกู้แก่เอกชนบ้าง อาทิ รัฐจะจัดหาแหล่งเงินกู้หรือช่วยเจรจาแหล่งเงินกู้ให้เอกชนหรือไม่? ก็เปล่า…..

มีแต่การที่รัฐปรับร่นการจ่ายเงินสนับสนุนโครงการ จำนวน 119,000 ล้าน ตามมติ ครม.จากเดิมที่ต้องจ่ายเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ (ในปีที่ 6ของสัญญาเป็นระยะเวลา 10 ปี) มาเป็นการสร้างไป-จ่ายไปในปีที่2แทนการระดมทุนของเอกชน

ไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเอกชนในเรื่องของการระดมทุน หรือออกหน้าจัดหาแหล่งเงินให้เอกชนตามที่อ้าง มีแต่เอาเงินของรัฐไปลงทุนก่อสร้างแทนเอกชนเท่านั้น ทั้งที่ความรับผิดชอบในการระดมทุนก่อสร้างนั้นเป็นเรื่องของเอกชนโดยตรง

ส่วนข้ออ้างการส่งมอบพื้นที่นั้น รฟท.เองได้ดำเนินการส่งมอบไปตามสัญญาภายในกำหนดระยะเวลาแล้ว แต่เนื่องจากที่ดินบางส่วนที่ส่งมอบยังติดปัญหาลำรางสาธารณะ ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบข่ายอำนาจของรถไฟฯ และตามเงื่อนไขก็ระบุเพียงการส่งมอบพื้นที่เท่านั้น การจะเพิกถอน หรือไม่เพิกถอนลำรางสาธารณะในพื้นที่แทบไม่มีผลต่อการดำเนินโครงการใดๆ เพราะอยู่ในพื้นที่รถไฟ

เมินคำเตือน สตง.กระทบหลักการร่วมลงทุน

ก่อนหน้านี้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เผยแพร่รายงานการติดตามและตรวจสอบความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดังกล่าว โดยระบุว่ามีความล่าช้าไปจากกำหนดการไม่น้อยกว่า 2 ปี 10 เดือน ทำให้การเปิดให้บริการเดินรถล่าช้า จนส่งผลให้ประชาชน เสียโอกาสในการใช้บริการ และการรถไฟเองก็เสียโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเอกชนคู่สัญญา รวมถึงอาจมีความเสี่ยง ที่จะต้องชดเชยความเสียหายจากการดำเนินโครงการที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการอื่นๆได้แก่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออกรวมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีนด้วย

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาการประเมินโครงการ โดยการปรับการชำระเงินโดยรัฐต้องจ่ายเร็วขึ้นและแบ่งชำระข้าศึกร่วมลงทุนในโครงการ Airport rail Link ที่รถไฟยังไม่ได้รับการชำระจากคู่สัญญานั้น ในรายงาน สตง.ระบุว่า มีความเสี่ยงที่จะกระทบหลักการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเติมศักยภาพในการลงทุน และลดภาระทางการเงิน และการคลังของรัฐและวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงให้เอกชน อีกทั้งยังจะทำให้รถไฟ และรัฐบาลเสียโอกาสในการนำเงินที่จะร่วมลงทุนในโครงการไปใช้สำหรับการบริหารงานหรือดำเนินโครงการอื่นๆ ที่จำเป็นเร่งด่วนอีกด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts