วันที่ 3 ธ.ค.67 ที่ชั้น 2 อาคารประชาอารักษ์ บชก. โดย บก.ปคบ.ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก.,พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ.,พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป.,พล.ต.ต.คงกฤช เลิศสิทธิกุล ผบก.ทล., พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ภาคภูมิ ศรีลาภะมาศ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชวินโรจน์ ภีมรัชตธำรงค์ ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.อุดมศักดิ์ สุวรรณแสง รอง ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.2 บก.ปคบ.นำโดย พ.ต.ท.จำรูญ คำมา, พ.ต.ต.กรเอก บริรักษ์กุล สว.กก.2 บก.ปคบ.ร.ต.อ.มนูญ แทงทอง, ร.ต.ท.กิตติ์ธเนศ เอกศิริอภินันท์ รอง สว.กก.2 บก.ปคบ. พร้อมกำลัง บก.ปอศ., บก.ป. , บก.ทล. พร้อมกำลังร่วมกับ ตัวแทน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย นายพิสิทธิ์ ลิ่มอรุณ,นายกษิดิศ วรวณิชชา,นายไม้เรียว ฤาชัยด้วย เจ้าพนักงานตำรวจ กก.1 บก.ปอศ. ได้รับเรื่องร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายจาก นายสมเกียรติ ศิริไพบูลย์ทรัพย์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (OR) ว่าตรวจพบบริษัทแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ตั้งโรงบรรจุก๊าซหุงต้ม โดยไม่ได้เป็นบริษัทตัวแทนค้าต่างของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด อีกทั้งได้ตั้งโรงงานบรรจุก๊าซในพื้นที่ ต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา รวม 2 จุด มีการนําหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วม ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรมาใช้สําหรับสินค้าของตนเองหรือของบุคคลอื่น เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมาย ร่วม หรือเชื่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น ต่อมา เจ้าพนักงานตำรวจ กก.1 บก.ปอศ.ร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจ กก.2 บก.ปคบ. ขออนุมัติหมายค้นศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง รวม 3 หมาย เข้าตรวจค้นบริษัทและโรงบรรจุก๊าซหุงต้ม ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น และจ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 28 พ.ย.67 ที่ผ่านมาผลการตรวจค้นบริษัทและโรงบรรจุก๊าซหุงต้ม 3 จุด
- หจก. ธ. (สงวนชื่อจริง) พื้นที่เขต อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ตรวจค้นพบ
1) ถังก๊าซหุงต้มทำด้วยโลหะที่ปลอมเครื่องหมายการค้า ปตท.จำนวน 42 ถัง
2) ถังก๊าซ ที่มี ตราสัญลักษณ์ ปตท. จำนวน 630 ถัง
3) ถังก๊าซที่ปลอมเครื่องหมาย มอก. จำนวน 47 ถัง
รวมของกลาง 5 รายการ จำนวน 744 ชิ้น - โรงผลิตถังก๊าซปลอม ด้านหลัง หจก. ธ.พื้นที่เขต อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ตรวจค้นพบเครื่องจักร ที่น่าเชื่อว่าใช้ผลิตถังก๊าซ และอุปกรณ์การผลิต 38 รายการ จำนวน 8,375 ชิ้น
สอบถาม น.ส.วิภาดา (สงวนนามสกุล) แจ้งว่าตนเป็นพนักงานของ หจก.ธ (สงวนชื่อ)สถานที่บริษัทจุดค้นที่ 1 ดังกล่าวเป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท ส. แก๊ส และบริษัท ย.แก๊ส (สงวนชื่อ) แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด พื้นที่ในบริษัทดังกล่าวมีการลักลอบนำถังก๊าซเครื่องหมายการค้า ปตท.มาบรรจุและเก็บไว้ในเขตโรงบรรจุก๊าซจริง และโรงผลิตถังจุดค้นที่ 2 เป็นโรงงานเจ้าของเดียวกับ หจก.ธ (สงวนชื่อ) ซึ่งตน ไม่ทราบรายละเอียดของการผลิตใดๆ และไม่สามารถนำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำการอายัดเครื่องจักร และอุปกรณ์ผลิตถังแก๊สทั้งหมดไว้ ณ ที่เกิดเหตุ ตามบันทึกตรวจยึดอายัด - โรงบรรจุก๊าซหุงต้ม หจก. ธ. สาขานครราชสีมา พื้นที่เขต ต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ตรวจค้นพบ
1) ถังบรรจุก๊าซหุงต้ม ทำด้วยโลหะที่ปลอมเครื่องหมายการค้า ปตท.จำนวน 3 ถัง
2) ถังบรรจุก๊าซหุงต้มหมดอายุ จำนวน 311 ถัง
3) ถังบรรจุก๊าซหุงต้มไม่หมดอายุ จำนวน 550 ถัง
4) ซีลฝาถังก๊าซ และหัวบรรจุก๊าซ จำนวน 121 ชิ้น
รวมของกลาง 20 รายการ จำนวน 996 ชิ้น
สอบถามนายพัฒนา (สงวนนามสกุล)แจ้งว่าเป็นลูกจ้างของเฮีย จ. และเจ๊ ผ. สถานที่ดังกล่าวเป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท ส. แก๊ส และบริษัท ย.แก๊ส (สงวนชื่อ) แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด สถานที่ดังกล่าวมีการลักลอบนำถังก๊าซเครื่องหมายการค้า ปตท.มาบรรจุและเก็บไว้ในเขตโรงบรรจุก๊าซจริง ตามผลการตรวจค้นของกลางที่ตรวจยึดได้ทั้ง 3 จุด เป็นถังก๊าซหุงต้มที่ไม่ได้มาตรฐาน/หมดอายุ และไม่ผ่านการตรวจสภาพ รวม 1,538 ถัง และถังปลอมเครื่องหมายการค้า ปตท.รวม 45 ถัง รวมทั้งสิ้น 1,583 ถัง และเป็นอุปกรณ์และเครื่องจักรหลายรายการ มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 4.2 ล้านบาท จึงได้ตรวจยึดและอายัด ส่งพนักงานสอบสวน บก.ปอศ. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ซึ่งจากการกระทำดังกล่าว หากพบว่าบริษัท นิติบุคคล หรือบุคคลดังกล่าวกระทำความผิดจริง จะเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
1.พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 1) มาตรา 108 บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2) มาตรา 109/1 บุคคลใดนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรมาใช้สำหรับสินค้าของตนเองหรือของบุคคลอื่น เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายร่วม หรือเชื่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปีหรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 และกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 1) ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 โดยมีการเก็บถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันรายอื่น หรือผู้ค้าน้ำมันที่ตนไม่ได้เป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไว้ในเขตโรงบรรจุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มาตรา 7, 66 กฎกระทรวง สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภท โรงบรรจุ พ.ศ. 2564 ข้อ 6 2) ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 โดยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันรายอื่นโดยไม่ได้ยินยอมฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มาตรา 7,66 กฎกระทรวง สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ พ.ศ. 2564 ข้อ 19(2)
3) ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยใช้ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีการชํารุดของถัง หรือมีการทดสอบและตรวจสอบ ตามกฎกระทรวง ภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 ข้อ 24,25 (บรรจุก๊าซลงถังที่หมดอายุหรือไม่ผ่านการทดสอบ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 47 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพคุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่รูปหรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
4.พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 1) มาตรา 20 วรรค 1 ผู้ใดทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ต้องแสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจากเลขาธิการก่อนทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้น ผู้ใดฝ่าผืนตามมาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2) มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 หรือ มาตรา 21 ใช้เครื่องหมายมาตรฐาน ผู้ใดฝ่าผืนตามมาตรา 52 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค
ในวันเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. และผู้แทนจากบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (OR) ได้ร่วมกันลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ร้านค้าปลีกก๊าซหุงต้ม และประชาชนในพื้นที่ จ.ขอนแก่น รวม 3 จุด และพื้นที่ จ.นครราชสีมา รวม 4 จุด เพื่อเตือนภัยประชาชนให้ใช้ถังก๊าซหุงต้มที่ได้มาตรฐาน และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค“ก๊าซหุงต้มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน และจำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบและได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกคน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความอุ่นใจ บริษัทผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาต และผลิตตามมาตรฐานที่กำหนด ถังก๊าซหุงต้มและวาล์วต้องมีฉลากหรือรูปรอยสลัก ที่ สมอ. กำหนด (มอก.) ผ่านการตรวจสอบและเป็นถังที่ไม่หมดอายุ ไม่ชำรุดเสียหาย หรือมีการนำมาพ่นสี ดัดแปลง หรือซ่อมบำรุงโดยบริษัทที่ไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของบริษัทผู้รับอนุญาตผลิต/บรรจุก๊าซ หุงต้มปิโตเลียมเหลว บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่ลักลอบบรรจุก๊าซปิโตเลียมเหลว โดยที่รู้ว่าตนไม่ใช่ตัวแทนค้าต่าง หรือบรรจุโดยไม่ได้รับอนุญาต ผลิตถังก๊าซหุงต้มโดยไม่ผ่านมาตรฐานจาก มอก. จะมีความผิดตามกฎหมาย โทษสูงสุดถึง 2 ปี ปรับไม่เกิน 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดอันตรายเพลิงไหม้ครัวเรือน และก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้”
หากพบว่าถังก๊าซหุงต้มที่ใช้อยู่ มีซีลปิดผนึก ไม่ถูกต้อง ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีตราหรือเครื่องหมายของบริษัทผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง หรือถังมีสภาพเก่า หมดอายุ ใช้งานแล้วมีปัญหา หรือพบเห็นร้านค้าปลีก หรือโรงบรรจุก๊าซหุงต้ม ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ กรมธุรกิจพลังงาน หรือสายด่วน ปคบ. 1135