วันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบรี นายประสิทธิ์ ปาตังคะโร สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นายภูวกร โตสิงห์ขร จัดหางานจังหวัดชลบุรี นำคณะตรวจบูรณาการหลายหน่วยงานขับเคลื่อนการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเรือประมงกลางทะเล โดยมี สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สนง.แรงงานจังหวัด สนง.จัดหางานจังหวัด สนง.ประมงจังหวัด สนง.พัฒนาสังคมฯ ชลบุรี ศรชล.จังหวัดชลบุรี เจ้าท่าชลบุรี ด่านตรวจประมงชลบุรี ตำรวจน้ำสัตหีบ ตำรวจสอบสวนกลาง หน่วยป้องกันและปราบปรามทางทะเล และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค1เข้าร่วมการตรวจ
สำหรับการดำเนินการตรวจบูรณาการหลายหน่วยงานขับเคลื่อนการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเรือประมงกลางทะเล เพื่อตรวจสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในครั้งนี้ ได้มีการตรวจสอบเรือประมงขณะทำการประมง จำนวน 4 ลำ รวมแรงงานทั้งสิ้น 62 คน ดังนี้ 1. เรือ โชคหิรัญ
มีลูกจ้างสัญชาติไทย 2 คน กัมพูชา 19 คน รวม 21 คน
2. เรือ ม.เจริญนาวิน 3
มีลูกจ้างสัญชาติไทย 2 คน เมียนมา 6 คน รวม 8 คน
3. เรือ ทองสมุทร 9
มีลูกจ้างสัญชาติไทย 2 คน เมียนมา 12 คน กัมพูชา 1 คน รวม 15 คน
4. เรือ ส.เพชรสมุทร 29
มีลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คน เมียนมา 17 คน รวม 18 คน
โดยมีการตรวจการจ้างงานและสภาพการทำงานบนเรือประมง ตรวจสอบใบอนุญาตการทำงาน ไม่พบการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่พบการใช้แรงงานบังคับและค้ามนุษย์ มีการจัดทำทะเบียนลูกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานถูกต้องครบถ้วน แรงงานได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำสวัสดิการเพียงพอ มีความสมัครใจมาทำงานบนเรือประมง โดยไม่มีการถูกบังคับข่มขู่การใช้แรงานแต่อย่างใด และแรงงานยินยอมลงเรือด้วยความสมัครใจและได้ตรวจสอบใบอนุญาตเรือประมง ตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานบนเรือประมง ซึ่ง เจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ แรงงานที่ใบอนุญาตการทำงานบนเรือประมงใกล้หมดอายุ ให้ไปต่ออายุไว้ และ คำแนะนำเรื่องการแจ้งเข้า – ออก เพื่อเปลี่ยนนายจ้าง ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนของสำนักงานประกันสังคม พบว่าดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งให้นายจ้างกำกับดูแลมิให้ลูกจ้างใช้สารเสพติดในระหว่างการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวันให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงานพร้อมทั้งแจกสื่อประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ด้านแรงงานให้นายจ้าง ลูกจ้าง ทั้งภาษาไทย ภาษากัมพูชาและภาษาเมียนมาเพื่อให้ทราบถึงสิทธิของตนเอง พร้อมนี้ได้มอบกระเป๋ายาสามัญประจำบ้านให้ใช้ในเรือประมง
จากการตรวจสอบเรือประมงถูกต้อง การใช้แรงงานถูกต้อง ไม่พบการกระทำผิดกฎหมายการใช้แรงงานบังคับและไม่พบการค้ามนุษย์ ซึ่งการร่วมบูรณาการตรวจเรือประมงทะเลดังกล่าว เป็นภารกิจหนึ่งตามนโยบายการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพื่อยกระดับการจัดลำดับสถานการณ์การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศจาก Tier 2 เป็น Tier 1 ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
แยกสัมภาษณ์ นายประสิทธิ์ ปาตังคะโร สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นายภูวกร โตสิงห์ขร จัดหางานจังหวัดชลบุรี