วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกภูมิภาคจันทบุรี เวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อการรู้รับปรับตัวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Related Posts

จันทบุรี เวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อการรู้รับปรับตัวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2555
เทศบาลต.ชากไทย อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ได้จัดให้มีเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อการรู้รับปรับตัวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมี นายนิเวศน์ หาญสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธาน, และนายชยุตม์ ป๊อกตัง นายกเทศมนตรี ต.ชากไทย พร้อม นายเรวัติ นิยมวงศ์ รองนายกเทศมนตรีต.ชากไทยกล่าวรายงานนำเสนอแผนปฏิบัติการ(Timeline), พ.จ.อ.ชุติพล บุญขำ ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ข้อตกลง , นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน(สำนัก3)บรรยายสร้างความเข้าใจเป้าหมายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนขบวนการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่, นายแพทย์พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ บรรยายทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาวะชุมชนเพื่อการรู้รับปรับตัว และนายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ บรรยายพิเศษ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่รู้รับปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ด้วยเทศบาลตำบลชากไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อการรู้รับปรับตัวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเทศบาลตำบลชากไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการพื้นที่ ให้มีความพร้อมในการจัดการต่อสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นโดยการพัฒนากลไกและรูปแบบการจัดการปัญหาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตําบลจำนวน 8 แห่งเข้าร่วมในพิธีลงนามในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อ พัฒนาและนำใช้ศักยภาพของเทศบาล ต.ชากไทย ให้เป็นกลไกการจัดการเครือข่าย โดยใช้ตำบลชากไทยในการทำหน้าที่ “ศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน”และศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน” , เพื่อพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ให้เป็นพื้นฐานการพัฒนาสุขภาวะของพื้นที่ให้คลอบคลุมการจัดการทั้งในสถานะการณ์ทั่วไปและสถานะการณ์วิกฤติ, เพื่อพัฒนา นวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนและแก้ปัญหาพื้นฐานของชุมชน,เพื่อสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการจัดการพื้นที่พร้อมรับทุกสถานะการณ์ที่มากระทบ และสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนพัฒนาเพื่อการรู้รับปรับตัว เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ การรู้รับปรับตัวของ อปท. เครือข่าย..

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts