“…วันที่ 30 พ.ค.65 น.สพ.ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับนายเชฏฐรุจ จันทร์แปลง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี นางสาวจีรวรรณ สาระทัศนานันท์ ปศุสัตว์อำเภอเมืองจันทบุรี และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ลงพื้นที่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ของนายชัชวาล กาจธัญกรญ์…”
[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]
ตั้งอยู่ บ้านป่าผาด ม.3 ต.บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี ซึ่งเลี้ยงโค 22 ตัว และกระบือ 30 ตัว ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ มีแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 พื้นที่ประมาณ 2 งาน สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักจากมูลโค กระบือ เพื่อนำปุ๋ยไปใช้บำรุงดินในแปลงปลูกหญ้าอาหารสัตว์ โดยใช้สารเร่ง พด.1 ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น มูลโค มูลกระบือ เปลือกทุเรียน ที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลสและไขมันที่ย่อยยาก ในการผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพสูงในเวลาอันรวดเร็ว
สำหรับขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก เริ่มจากกองพื้นด้วยเปลือกทุเรียนสับ ชั้นต่อมาเป็นแกลบดิบ แกลบเผา และมูลสัตว์ ตามลำดับ จากนั้นผสมสารเร่ง พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร คนให้ละลาย ทิ้งไว้นาน 5-10 นาที นำไปราดบนกองปุ๋ยหมัก ชั้นที่หนึ่ง ย่ำให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม กองวัสดุซ้ำในแต่ละชั้นตามลำดับเหมือนเดิม รดด้วยน้ำละลายสาร พ.ด.1 ปิดชั้นบนด้วยเศษซากพืชเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น เก็บกองปุ๋ยให้หลบแดดหลบฝนได้ รดน้ำอยู่เสมอ กลับกองปุ๋ยทุก 15 วัน นาน 2-3 เดือน จากนั้นนำปุ๋ยหมักไปใช้ในอัตรา 2 ตันต่อไร่ เพื่อบำรุงดิน และเป็นแหล่งธาตุอาหารให้พืช เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดหรือด่างของดิน รวมทั้งเพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดิน เป็นการนำมูลโค กระบือ และเศษซากพืช เช่น เปลือกทุเรียน แกลบ มาใช้ประโยชน์ ทำให้พืชอาหารสัตว์เจริญเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตหญ้าเพียงพอต่อการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ ปุ๋ยหมักสามารถขายได้ในราคา 1 บาทต่อกิโลกรัม เป็นการสร้างรายได้เพิ่ม รวมทั้งลดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ ลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และลดน้ำเสียที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย