วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกอาชญากรรม“หยุดการอุ้มหาย” “ ครบ 30 ปี “ “อุ้มหาย” ‘ทนง โพธิ์อ่าน

Related Posts

“หยุดการอุ้มหาย” “ ครบ 30 ปี “ “อุ้มหาย” ‘ทนง โพธิ์อ่าน

“…“การทรมาน” การอุ้มหายต้องหมดไป30 ปี อุ้มหาย ‘ทนง โพธิ์อ่าน’ชวนสังคมไทยให้ความสำคัญ บังคับสูญหาย…”

[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]

“เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ได้ทำการรัฐประหาร หลังจากนั้นเพียง 3 วัน รสช. ได้ประกาศเรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศเข้าพบ รวมถึง ทนง โพธิ์อ่าน ต่อมาจึงได้ประกาศใช้คำสั่งฉบับ 54 ยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาของแรงงาน ทนง คัดค้านการประกาศดังกล่าวและได้ต่อต้านอำนาจของเผด็จการอย่างหนักแน่น ต่อมา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ทนงหายตัวไป จนบัดนี้ยังไม่มีใครทราบชะตากรรมและไม่มีใครสามารถติดต่อได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า เขาถูกทำให้หายไปจากความเคลื่อนไหวต่างๆในการคัดค้าน รสช. ในช่วงที่ผ่านมา”

ทนง โพธิ์อ่าน
ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานในฐานะประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานที่มีสมาชิกมากที่สุด และเป็นกรรมการสมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (ICFTU) ถูกอุ้มหายไปตั้งแต่ 19 มิ.ย. 2534 ก่อนที่จะเดินทางไปร่วมประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

เขามีบทบาทนำในการต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงาน และการต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดย ทนง ประกาศว่าจะจัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 12 ก.ค. 2534 เพื่อคัดค้านคำสั่ง รสช. ที่ยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ควบคุมการเคลื่อนไหวของกรรมกรภาคเอกชน ฯลฯ แต่หายตัวไปก่อน

“หลังจากนั้นเพียง 3 วัน รสช. ได้ประกาศเรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศเข้าพบ รวมถึง ทนง โพธิ์อ่าน ต่อมาจึงได้ประกาศใช้คำสั่งฉบับ 54 ยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาของแรงงาน ทนง คัดค้านการประกาศดังกล่าวและได้ต่อต้านอำนาจของเผด็จการอย่างหนักแน่น ต่อมา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ทนงหายตัวไป จนบัดนี้ยังไม่มีใครทราบชะตากรรมและไม่มีใครสามารถติดต่อได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า เขาถูกทำให้หายไปจากความเคลื่อนไหวต่างๆในการคัดค้าน รสช. ในช่วงที่ผ่านมา”

หลังจากทนงหายตัวไป รสช. จัดให้มีการเลือกตั้งในเดือน มี.ค. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ที่ก่อตั้งโดยเครือข่าย รสช. ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางความไม่พอใจของชนชั้นกลางที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนน โจมตี อดีตผู้บัญชาการทหารบกที่พูดว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” พร้อมกับเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่ง

รัฐบาลตัดสินใจปราบปรามการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงตั้งแต่วันที่ 17-21 พ.ค. 2535 จนมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 44 ราย บาดเจ็บรวม 1,728 ราย และสูญหายอีก 48 ราย แต่หลายฝ่ายคาดกันว่าตัวเลขจริง สูงกว่านั้นมาก

60 ปีแห่งการบังคับสูญหาย
ในหนังสือที่ อดิศร โพธิ์อ่าน ทายาทของคุณทนง เขียนไว้ในหนังสือครบรอบการหายตัวไป 25 ปี ประโยคสุดท้ายในหนังสือเล่มนี้เขียนว่า

“จะมีใครที่อยากทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ในแผ่นดิน เมื่อทำแล้วได้สิ่งตอบแทน ไม่ตายก็หายสาบสูญจากการกระทำของรัฐทหาร”

ข้อความนี้เป็นประเด็นสำคัญมากและสะท้อนว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ในทำนองเดียวกัน เราทราบดีว่ายังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อทำในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้คนอื่นได้ประโยชน์ที่สมควรได้รับโดยไม่สนว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเขาก็ตาม การต้านรัฐประหารในปี 2534 หรือกรณีของทนงเป็นเช่นนี้ เช่นเดียวกับอีกหลายกรณีการบังคับสูญหายที่มีมาตลอด 60 ปีที่ผ่านมา

กรณี ‘หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์’ อาจเป็นกรณีเดียวที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบังคับสูญหายในระดับครอบครัวมีการขอโทษอย่างเป็นทางการต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต เขาได้รับการให้อภัยในระดับครอบครัว แต่ทายาทยืนยันว่าเขาไม่ให้อภัยกับอำนาจรัฐในการกระทำที่เกิดขึ้น

กรณี ‘สมชาย นีละไพจิตร’ ถึงขณะยังไม่มีคำตอบใด

กรณี ‘บิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ‘ และ ‘วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์’ คือการหายตัวที่พบหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงเส้นทางการดำเนินการต่างๆ หรือกระทั่งรู้ตัวคนที่คิดว่าใช่จากเส้นทางการเดินทางไปยังประเทศหนึ่งแล้วกลับมาที่อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว

กรณี ‘อับดุลเลาะ อีซอมูซอ’ การเสียชีวิตของเขามีการยอมรับว่าเกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่การให้เหตุผลถึงการเสียชีวิตอยู่ในระดับเดียวกับการฉีดวัคซีนโควิด คือการบอกว่ามาจากการเป็นโรคประจำตัวใดสักอย่าง หรือการที่รัฐพูดถึงการเยียวยา แต่สำหรับญาติ เขาบอกว่าไม่อยากได้เงิน เขาไม่อยากให้ญาติเขาตายมากกว่า

กรณี ‘สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์’, ‘ชัยชาญ บุปผาวัลย์’ และ ‘ไกรเดช ลือเลิศ’ อาจเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงได้ยากแม้กระทั่งในสภาผู้แทนราษฎร

วันนี้…ถ้าเราไม่ยุติปัญหาเหล่านี้ ในอนาคตเราอาจจะต้องมีการรำลึกแบบนี้ครบทั้ง 365 วันก็ได้ ขณะนี้เราเห็นเยาวชน คนหนุ่มสาว ออกมาเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงด้วยความหวังว่าอยากให้ประเทศดีขึ้น แต่เราไม่รู้เลยว่าในอีกกี่ปีนับจากนี้ เราจะต้องรำลึกถึงเขาในฐานะผู้สูญหายหรือถูกกระทำด้วยหรือไม่?

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts