วันนี้ กรุงเทพฯ 13 กรกฎาคม 2565 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เป็นประธานเปิดงานการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกในรายการ World RoboCup 2022 ซึ่งจัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือ อว. พร้อมด้วย สหพันธ์โรโบคัพ และบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดฉากการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกในรายการ World RoboCup 2022 โดยมี 45 ประเทศเข้าร่วม
[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]
โดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่เราได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัเการเเข่งขัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กระทรวงฯ มุ่งขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีเป้าหมายสร้างพื้นที่และเมืองที่ทันสมัย ตอบโจทย์กับความก้าวล้ำของโลกยุคใหม่ที่เน้นการพึ่งพาดิจิทัลและเทคโนโลยี และนำโซลูชั่นที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI คลาวด์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือแม้แต่กระทั่งหุ่นยนต์เข้ามาช่วยพัฒนาเรื่องการเดินทาง การขนส่ง ความปลอดภัย การจ้างงาน ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมหุ่นยนต์ ที่นับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยทั้งในแง่ของการเกิดขึ้นของสตาร์ทอัพที่จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มหาศาลให้กับประเทศ การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ต่อเนื่องไปถึงการสร้างแรงจูงใจเพื่อรับการลงทุนจากทั่วโลก โดยขณะนี้ประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพในด้านหุ่นยนต์ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต และจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เติบโตมากกว่าในด้านการแข่งขันหรือเพียงต้นแบบที่พัฒนากันในปัจจุบัน
“รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ ด้วยการยกเว้นการเก็บภาษี Capital Gains Tax เป็นเวลา 10 ปี แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ อุตสาหกรรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับคุณภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ซึ่งมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพ จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้สตาร์ทอัพไทย รวมถึงในด้านหุ่นยนต์ เพิ่มขีดความสามารถการระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น โดยสภาดิจิทัลฯ คาดการณ์ว่ามาตรการ Capital Gains Tax จะทำให้ไทยมีเงินลงทุนในสตาร์ทอัพภายในปี 2569 เพิ่มขึ้น 320,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานทั้งทางตรง และทางอ้อมเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 แสนตำแหน่ง รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจประเทศคิดเป็นมูลค่า 790,000 ล้านบาท สำหรับการเเข่งขัน ในครั้งนี้ มี 45 ประเทศ เข้าร่วมร่วมนำหุ่นยนต์ในหลากหลายโซลูชันข้าร่วมการแข่งขัน และอวดโฉมความอัจฉริยะพร้อมกันนี้ ยังได้มีการเผยถึงมาตรการส่งเสริมหุ่นยนต์ในประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์กับภาคการลงทุน ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเมืองอัจฉริยะ อาทิ การยกเว้นการเก็บภาษี Capital Gains Tax เป็นเวลา 10 ปี การส่งเสริมหลักสูตรทางด้านสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และเทคโนโลยี การผลักดันผู้ที่มีความสามารถและบุคลากรสมรรถนะสูงเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกในรายการ World RoboCup 2022 ประกอบด้วยการแข่งขันทั้งหมด 2 ประเภทหลัก คือ หมวด Major League 4 ประเภท ได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย การประกวดหุ่นยนต์ในบ้านเพื่อการบริการส่วนบุคคล และการจัดประกวดหุ่นยนต์และแขนกลเพื่องานอุตสาหกรรม และ หมวด Junior League (RCJ) สำหรับเยาวชนอายุ 14 – 19 ปี รวมถึงเวทีการแสดงผลงานสินค้าสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ 13 – 17 กรกฎาคมนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา Hall EH98-100