วันอังคาร, กันยายน 24, 2024
หน้าแรกอาชญากรรม‘หมอจ๊วด’ ชี้ปมใบรับรองแพทย์ ‘เมียส.ว.’

Related Posts

‘หมอจ๊วด’ ชี้ปมใบรับรองแพทย์ ‘เมียส.ว.’

เลขาธิการแพทยสภา ชี้ข้อแตกต่าง ใบรับรองแพทย์ VS ใบความเห็นแพทย์ ย้ำปม “เมีย ส.ว.” ทำร้ายทหารหญิง หากมีการปลอมแปลง ผิดกฎหมายแน่นอน

จากกรณีโลกออนไลน์เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังเกิดเหตุการณ์ ส.ต.ท.หญิงกรศศิร์ บัวแย้ม ผบ.หมู่ กก.4 บก.ส.1 อ้างตัวเป็นภรรยาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กระทำทารุณกรรมต่อลูกจ้างซึ่งเป็นทหารหญิงสารพัดวิธี โดยภายหลังได้ยื่นใบรับรองแพทย์ อ้างว่าขณะเกิดเหตุควบคุมตัวไม่ได้ และรักษาตัวมาประมาณ 2 ปีแล้ว จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ส.ค. พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า “ใบความเห็นแพทย์”

  1. #ใบความเห็นแพทย์ เป็นเอกสารการออกความเห็นของแพทย์ เกี่ยวกับโรค และการรักษาพยาบาล ตลอดจนผลของโรคและการหยุดงานเป็นต้น
  2. #ใบความเห็นแพทย์ มักสับสน กับ #ใบรับรองแพทย์ ซึ่งจะใช้รับรองสุขภาพโดยเฉพาะในการสมัครเรียนสมัครงาน และรับรองว่าสุขภาพปกติ ส่วนใบความเห็นใช้ในกรณีที่ป่วย
  3. การออกความเห็นของแพทย์นั้น สามารถให้ความเห็นในผู้ป่วยที่ดูแล หรือดูแลร่วมได้ โดยความเห็นต้องสอดคล้องกับหลักฐานและเวชระเบียนในการรักษาพยาบาล

โรงพยาบาลสามารถมอบหมายให้แพทย์ซึ่งไม่ได้ทำการรักษา สามารถออกใบความเห็นแพทย์ได้เช่นเดียวกัน เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย เช่นกรณีแพทย์ผู้รักษา ไม่อยู่ ไปต่างประเทศ หรือลาออกไปแล้ว หรือกรณีมีแพทย์รักษาหลายคนแต่มอบหมายให้ท่านใดท่านหนึ่งลงความเห็น รวมถึง ความเห็นทางนิติเวช ของผู้เสียชีวิต โดยต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามเวชระเบียน และสามารถตรวจสอบได้ กับหลักฐานของสถานพยาบาล

  1. ในกรณีแพทย์ออกความเห็น ด้วยตนเอง ต้องรับผิดชอบต่อความเห็นดังกล่าว และต้องสามารถตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ทางวิชาการได้
  2. ในการตรวจสอบความเห็นของใบความเห็นแพทย์ ต้องตรวจสอบ ตั้งแต่โรงพยาบาล ถูกต้องหรือไม่ เป็นแพทย์จริงหรือไม่ แพทย์เป็นผู้ลงความเห็น และลงนามเองหรือไม่ ข้อมูลความเห็นตรงกับสำเนาที่เก็บไว้ที่โรงพยาบาลหรือไม่ และตรงกับข้อมูลในเวชระเบียนหรือไม่ มีการถูกแก้ไขหรือไม่ ซึ่งจะตรวจสอบได้กับสถานพยาบาล ที่เป็นผู้ออกใบความเห็นแพทย์
  3. หน่วยงานที่รับใบความเห็นแพทย์สามารถขอตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและสำเนาได้จากสถานพยาบาล ที่ออกเอกสาร
  4. ในกรณีที่สงสัยความสุจริตของใบรับรอง หรือ ใบความเห็นแพทย์ ผู้ได้รับผลกระทบ/ผู้เสียหาย สามารถกล่าวหา/กล่าวโทษแพทย์ ให้แพทยสภาตรวจสอบมาตรฐานการออกความเห็นทางจริยธรรมได้ ตามข้อบังคับจริยธรรมแพทยสภา
  5. การแก้ไขหรือปลอมแปลงใบความเห็นแพทย์ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย

“จะเห็นได้ว่าใบความเห็นแพทย์นั้นมีขั้นตอนการดูแล รับผิดชอบ และแนวทางปฏิบัติชัดเจนครับ”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts