วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการเงิน“ก.ล.ต.”อย่าตาชั่งเอียง

Related Posts

“ก.ล.ต.”อย่าตาชั่งเอียง

แยกแยะให้ออก Market Maker สายพันธุ์ดี กับ  สายพันธุ์ปั่นราคา ก.ล.ต. แน่ใจหรือว่าปราบหมด

นักลงทุนรายย่อยน่าจะชินตาไปแล้วกับหุ้นทำราคา วิ่งขึ้นภายในวัน + 30% (ซิลลิ่ง) ในตลาดหุ้น ซึ่งกำกับดูแลตรง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  นักลงทุนบางรายอาจจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า การทำราคา ควบคุมสภาพคล่อง โดย Market Maker หุ้นบางตัวราคาขยับขึ้นในวันเดียว 20-30% ทั้งขึ้น-ลง

ถามจริงๆ คุณเชื่อหรือไม่ว่า…การขยับราคาหุ้นขนาดเล็กๆ รุนแรงนั้นคือการเคลื่อนไหวโดยธรรมชาติ ก.ล.ต. ยอมรับสิ่งเหล่านี้หรือไม่?  ถ้ายอมรับไม่ได้ เหตุใดไม่หามาตรการเด็ดขาดมาใช้บังคับ ทำไมยังมีเหตการณ์ราคาหุ้นวิ่งขนาดเล็กๆ วิ่งคึกคักไม่เว้นแต่ละวัน

แตกต่างกับสินค้าบางอย่างเด่น ดัชนี หรือ เหรียญดิจิตอลจำนวนมากที่มีการซื้อขายจากทั่วโลก การซื้อขายในจำนวนมากๆ ก็ไม่เพียงพอจะสร้างความเคลื่อนไหวในตลาดได้ เพราะด้วยผู้เล่นแต่ละรายมากหน้าหลายตา ทั้งหัวขาว หัวดำ หัวทอง อย่างมากการโยนซื้อขายกันจึงทำได้แค่เพียงการสร้างวอลุ่ม สร้างกระแสเม็ดเงินให้เกิดสภาพคล่องเท่านั้น

แต่น่าตกใจที่การสร้างสภาพคล่องเหล่านั้น ถูกชี้เป็นผู้ร้าย ทั้งที่นั่นคือสินค้าดิจิตอลบนตลาดโลก  เทียบกับการทำราคา ใส่เงินแค่ 1-100 ล้าน ราคาหุ้นเล็กเหล่านั้นก็ราคาเพี้ยนกันได้แล้ว กลับยังมีให้เห็นกันบ่อยๆ

คำว่าการสร้างสภาพคล่องโดย Market Maker จึงน่าตั้งเป็นคำถาม แบบไหนทำเพื่อสร้างสภาพคล่องบนตลาดขนาดใหญ่ ปั่นราคายาก หรือแบบไหนคือการจงใจปั่นราคา  ทำปริมาณการซื้อขายปลอม หรือ วอลุ่มเทียมหรือไม่?

อย่างไรก็ตามการทำราคา ยังคงวนเวียนในตลาดหุ้น กับหุ้นของบริษัทที่สภาพคล่องต่ำ ไม่มีพื้นฐานธุรกิจรองรับ นักลงทุนรายย่อยคงเคยมีประสบการณ์ติดดอยหุ้นลักษณะนั้นกันมาบ้าง

แต่ความหิวแสงไม่เข้าใครออกใคร ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าการทำราคาในสินค้าระดับโลกอย่างเหรียญดิจิตอล นั้นเป็นไปได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ  Bitcoin (BTC) Bitcoin Cash (BCH) Ethereum (ETH) และ Ripple (XRP)  เพราะถึงแม้ Market Maker  จะมีการแลกเปลี่ยนออเดอร์กันเองในปริมาณเม็ดเงินมหาศาลเพียงไร ถ้าไม่ใช่ระดับเม็ดเงินของทุนธนาคาร ก็ไม่สามารถเปลี่ยนราคาในระยะวันสองวันได้อยู่ดี อีกทั้งนักลงทุนทั่วโลกยังเปรียบเทียบในกระดานเทรดทั่วโลก ซึ่งเป็นราคาที่เป็นกลาง ก็มีให้นักลงทุนเปรียบเทียบอยู่ดี ดังนั้นพฤติกรรม ส่อที่จะสร้างความเสียหายน่าจะเป็นการทำให้ราคาเพี้ยน.. เพื่อหลอกล่อนักลงทุนรายย่อย-มากกว่าพฤติกรรมที่ “สร้างสภาพคล่องโดยราคาไม่เสียหาย”

ที่รู้ว่า  Market Maker สายสร้างสภาพคล่องไม่ส่งผลต่อความเสียหาย  และวิธีการทำวอลุ่มเสริมสภาพคล่องที่ทั่วโลกใช้กัน เป็นเรื่องปกติ เพราะอย่างไรเสียก็เปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาในระยะยาวไม่ได้ เพียงแค่สร้างสตอรี่ทางการตลาดให้ตลาดดูมีสีสันขึ้นมาเท่านั้น กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาหนัก จนน่าแปลกใจ

ที่ผ่านมาในตลาดสินทรัพย์ดิจิตอลไทย เคยมีปรากฎการณ์ การสร้างสภาพคล่องถูกตราหน้าหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีมาตรการตัดสินลงโทษทางแพ่งกับ Bitkub และ Satang Pro กรณี “การปั่นวอลุ่มเทียม” บนแพลตฟอร์มทั้งสองแห่ง 

30 มิ.ย. 65 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบเหตุสงสัยว่า อาจมีการสร้างปริมาณเทียมในศูนย์ซื้อขาย Bitkub จึงได้ตรวจสอบ โดยพบการกระทำเข้าข่ายเป็นความผิดของบุคคล 3 ราย ได้แก่

(1) บริษัทบิทคับ

(2) นายอนุรักษ์ เชื้อชัย ร่วมกันในการส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขาย Bitkub และ

(3) นายสกลกรย์ สระกวี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัทบิทคับ สั่งการ หรือกระทำการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้บริษัทบิทคับกระทำความผิดดังกล่าว

จากรายงานข่าว กรณีนี้ Market Maker ในศูนย์ซื้อขาย Bitkub ได้ให้นายอนุรักษ์ยืมเงินเพื่อใช้ในการทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นายอนุรักษ์ได้ส่งคำสั่งจับคู่ซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี่จำนวน 4 เหรียญ ได้แก่ Bitcoin (BTC) Bitcoin Cash (BCH) Ethereum (ETH) และ Ripple (XRP) โดยเป็นการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ของตนเองในศูนย์ซื้อขาย Bitkub

การจับคู่ซื้อขายกันเองในแต่ละเหรียญดังกล่าว มีสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 84 – 99 ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมดของนายอนุรักษ์ และตั้งแต่ร้อยละ 57–99 ของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด โดยบริษัทบิทคับและนายสกลกรย์รับทราบถึงการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายของนายอนุรักษ์ แต่ไม่ได้มีการทักท้วงการส่งคำสั่งซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ของนายอนุรักษ์ดังกล่าว

นักลงทุนอยากถามเหลือเกินว่า ก.ล.ต. แยกแยะได้เต็มปากหรือไม่ว่า พฤติกรรมของ Market Maker อย่างไหนดี อย่างไหนเลว?

ภายใต้กฎหมายที่ตนเองมีอำนาจ ทั้งตลาดหุ้น และคริปโตเคอเรนซี่ ที่มีชีพจรราคาวิ่งอยู่ทุกวินาที “ไม่มีการปั่นวอลุ่มปลอม” แน่ใจหรือไม่ว่ามีการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมทุกตลาด ทุกสินค้าที่เทรดบนกระดานได้?

ทำไมเพียงแค่ทำปริมาณการซื้อขาย โดยสุดท้ายแล้วราคาก็กลับมาอยู่จุดเดียวกับตลาดทั่วโลกเพราะเป็นสินค้าที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ดูร้ายแรง แต่พฤติกรรมหุ้นวิ่งกันที 30% ในวันสองวัน หาความผิดปกติ หรือคนผิด พบ…แต่ก็น้อยมาก

ทำไม… ในตลาดหุ้นที่ ก.ล.ต ควบคุมอยู่กว่า 40 ปี ราคาบางบริษัทที่ออกข่าวทำนอง ลงทุนตั้งโรงงานขุดบิทคอย ทำเอาหุ้นขึ้น “จาก 2 บาทไป 500 บาท” ในเวลา 1 ปี ถามว่าใครตาบอดทำไมไม่มีมาตรการลงโทษที่เข้มงวด

พฤติกรรมหุ้นบางบริษัท แค่ออกสตอรี่ วอลุ่มแห่กันเข้า ทั้งที่บริษัทยังหาตัวเลขกำไรเขียวๆ ไม่เจอ มีแต่ขาดทุนน้อยลงแต่ยังมีแต่สีแดงแสบตา อ้างว่าเทิร์นอราวด์ ผลตอบแทบเทียบกับราคาหุ้น เป็น 1,000 ปีก็ยังหาทุนคืนไม่ได้สักแดงเดียว ปล่อยผ่าน ไปได้อย่างไร?

Market Maker ที่ดีนั้นคือผู้ที่   “ดูแลสภาพคล่อง” ทำให้นักลงทุนแลกเปลี่ยนสินค้าได้ทันทีไม่ใช่ตลาดร้างๆ แต่พวก Market Maker  ที่เลวนั้นคือพวกปั่นราคากับทุกสินค้าที่ตนเองรับงานมา ถามจริงๆ ว่า ปราบปรามได้หมดหรือไม่?

ข้อมูลสื่อสาธารณะ รายงานว่า  ในสหรัฐนั้น พบว่ามีการปั่นวอลุ่มขึ้นมาเหมือนกัน แต่ไม่มีการกล่าวโทษเอาผิดเกิดขึ้น โดยคริปโตเคอเรนซี่ เพราะไม่ถือว่าเป็นหลักทรัพย์ (Securities) เหมือนในไทย

ส่วน ก.ล.ต. ควบคุมตลาดหุ้น   แต่ทุกวันนี้มีหุ้นที่ไม่มีพื้นฐานบางตัว ราคาล่อแมงเม่าได้ ก.ล.ต.นอกจากอ้างว่าเรามีมาตรการ “แคชบาลานซ์ 1-3” และมีกฎหมายจัดการแล้ว แต่พฤติกรรมเหล่านั้นก็ไม่น่ายำเกรงแต่ประการใด  เพราะค่าปรับไม่มากพอ  

ข้อหาปริมาณการซื้อขายเทียม ในเวลานี้ก็ควรจะติ้องถูกแบ่งแยกให้ชัดเหมือนกันว่า แบบไหน ดี แบบไหนเลว เพื่อให้วงการสร้างสภาพคล่องไม่เสียหาย ที่สำคัญควรถูกตรวจสอบอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม  คนดีๆจะได้ไม่ถูกสาดบทละคร   จนกลายเป็นผู้ร้าย ในสายตานักลงทุนทั่วไป อย่างไม่เป็นธรรม!!!

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts