วันจันทร์, กันยายน 30, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจจันทบุรี ประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หากมีอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ หากเกิดเหตุแก้สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วทันการลดผลกระทบประชาชน

Related Posts

จันทบุรี ประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หากมีอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ หากเกิดเหตุแก้สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วทันการลดผลกระทบประชาชน

วันที่ 18 ก.ค.65 ที่ห้องประชุม 2 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรีนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 โดยมีนายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนทหาร ตำรวจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมประชุม ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในคราวแถลงผลการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/2565 และการรับมือฤดูฝน ปี 2565 โดยให้ปฏิบัติการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ทั้ง 13 มาตรการอย่างเคร่งครัด ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศการเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2565 ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายนเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ราบลุ่มหรือบริเวณเชิงเขา และชายฝั่งทะเล ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทางราชการขึ้นได้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และดินถล่มของจังหวัดจันทบุรี ปี 2565 ซึ่งจะเน้นพื้นที่เขตเศรษฐกิจ หรือเขตตัวเมือง จุดเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเกิดปัญหาอุทกภัย จุดรับน้ำ จุดระบายน้ำ ทั้งนี้จังหวัดจันทบุรีได้จัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์อุทกภัย การจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย โดยให้ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำรายละเอียดในประเด็นสำคัญ อาทิ ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินถล่มในระดับหมู่บ้าน/ชุชน รายการเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย การกำหนดจุด/พื้นที่ปลอดภัยประจำหมู่บ้าน/ชุมชน แผนรับรองอพยพประชาชน และสถานที่จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวรวมถึงให้มีการซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอุกทกภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการติดตั้งเครื่องสูบน้ำพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยไว้ล่วงหน้า การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ การตรวจสองความมั่นคงแข็งแรงของสถานที่ใช้เก็บกักน้ำ/กั้นน้ำ การแจ้งเตือนภัย ด้านแผนเผชิญเหตุ จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอำนวยการหลักในการระดมสรรพกำลัง ตลอดจนการประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts